history history
 
   
iconเหลียวหลังแลหน้า [   มีนาคม  2561 ]

 

คณะกรรมการบริหารสมาคมยางพาราไทย ได้บริหารกิจการของสมาคมฯ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ มีแนวทางการบริหารงานสำคัญดังนี้ 1) บริหารสมาคมด้วยความโปร่งใส โดยยึดหลักธรรมาภิบาล 2) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ 3) ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับประเทศผู้ผลิตยางทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย 4) เป็นสื่อกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ยาง รวมทั้งหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านธุรกิจยาง เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ยางได้รับประโยชน์ร่วมกัน 5) สร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกและสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างสมาชิกและสมาคมฯ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยางไทยอย่างยั่งยืน 6) ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกอย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สมาชิก และ7)ส่งเสริมสมาคมยางพาราไทยให้มีภาพลักษณ์ที่ดีให้เป็นที่ยอมรับ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของยางพาราไทยในตลาดโลก

คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ มีความรู้สึกยินดี เต็มใจและถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกให้เข้ามาบริหารองค์กรยางภาคเอกชนซึ่งมีความสำคัญในระดับชาติ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารงานสมาคมฯ และการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความพร้อมในการเป็นตัวแทนสมาคมฯ และการบริการสมาชิกอย่างมีคุณภาพและรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่สมาชิก คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจในการบริหารสมาคมฯ ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสมาชิกทุกท่าน ส่งผลให้กิจกรรมส่วนใหญ่ของสมาคมฯ สำเร็จลุล่วงด้วยดีตามเป้าหมาย

ตลอดระยะเวลาการบริหารงาน คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้เป็นตัวแทนสมาคมฯ ในการเสนอความคิดเห็น และแนวทางต่างๆ รวมถึงผลักดันนโยบายสำคัญแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการยางพาราไทยคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ยางพารา และคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานควบคุมค่าความเข้มกลิ่นจากโรงงานยางพารา ในส่วนความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน สมาคมฯ ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกลุ่มพืชเศรษฐกิจหลักของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คณะกรรมการคลัสเตอร์ยางและไม้ยางพาราของ          สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการ Trade Environment ของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ภารกิจสำคัญด้านมาตรฐานสินค้าคือการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการวิชาการพิจารณามาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และคณะกรรมการวิชาการรายสาขาเรื่องยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ภารกิจสำคัญอีกประการด้านการวิจัยและพัฒนาคือเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเครือข่ายวิจัยภูมิภาคภาคใต้ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย และสถาบันการศึกษาต่างๆ
With Swiss reliable movements, replica omega watches for men uk are worth having!

If you want to buy waterproof watches, you'd better think about uk high quality replica watches.

ภารกิจสำคัญอื่นๆ  คือการเข้าร่วมสัมมนา ประชุมวิชาการและร่วมเป็นวิทยากรบรรยายด้านอุตสาหกรรมยางพาราไทย ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้ข้อเสนอแนะและผลักดันนโยบายต่าง ๆ ตลอดจนนำความรู้ทางวิชาการ ข้อมูลข่าวสารด้านยางพาราที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบันเผยแพร่แก่สมาชิก  อย่างรวดเร็ว บทบาทสำคัญในระดับนานาชาติคือ การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ(IRCo)  คณะกรรมการสภาความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศ(ITRC)  และสมาชิกสภาธุรกิจยางอาเซียน(ARBC) รวมทั้งการรับตำแหน่งประธาน และเลขานุการบริหารสมาคมยางนานาชาติ(IRA)  ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยนายสุเมธ สินเจริญกุล รองประธานบริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  ให้เกียรติรับตำแหน่งประธานสมาคมยางนานาชาติ และนายศุภเดช อ่องสกุล รองเลขาธิการสมาคมยางพาราไทย รับตำแหน่งเลขานุการบริหารสมาคมยางนานาชาติ 

กิจกรรมดังกล่าวข้างต้นถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่มีส่วนช่วยในการพัฒนายางของประเทศให้ก้าวหน้าตามแนวทางที่ได้วางไว้ โอกาสนี้ในนามคณะกรรมการบริหารสมาคมยางพาราไทย ใคร่ขอขอบคุณสมาชิกสมาคมฯ และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเป็นอย่างสูง สำหรับการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสมาคมฯ  จนประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด