history history
 
   
iconงานเลี้ยงประจำปี 2561 [   พฤษภาคม  2561 ]

 

สมาคมยางพาราไทย ได้กำหนดจัดงานเลี้ยงประจำปี 2561  เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561  ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ และจัดการแข่งขันกอล์ฟในวันเดียวกัน ณ สนามบางกอก กอล์ฟคลับ จังหวัดปทุมธานี โอกาสนี้สมาคมฯ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคเรื่องสัญญาการค้าครั้งที่ 21 ของสภาธุรกิจยางอาเซียน ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2561  ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ การจัดงานเลี้ยงประจำปีครั้งนี้มีแขกผู้สนใจ นักธุรกิจ ผู้เกี่ยวข้องในวงการยางภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมงานกว่า 1,000 ท่าน และได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการเข้าร่วมงานและกล่าวสุนทรพจน์ โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

For more detailed information about new 2022 luxury copy breitling watches, you can browse this website.

The uk top quality replica watches at affordable prices are all available!

ยางพารานับว่าเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญยิ่งของประเทศไทยและของโลก นับตั้งแต่ปี 2534 ประเทศไทยได้เลื่อนฐานะเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางอันดับหนึ่งของโลก ในปี 2560 ประเทศไทยผลิตยางทั้งสิ้น 4.42 ล้านตัน ส่งออก 4.09 ล้านตัน นำรายได้เข้าประเทศกว่า 280,000 ล้านบาท โดยปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ท้าทายอย่างมากในอุตสาหกรรมยาง ราคายางลดลงอย่างรุนแรงแตะระดับต่ำสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 ที่กิโลกรัมละ 44.49 บาท ในทิศทางเดียวกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่สวนทางกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนและกระจายตัวมากขึ้น และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทย จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง เช่น ส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อดูดซับปริมาณยางออกจากตลาด สนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยางพารา แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ฯลฯ

ส่วนการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำภายใต้กรอบความร่วมมือสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) ได้แก่ ไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย ITRC ในคราวประชุมเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ไทยได้ร่วมหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อสร้างเสถียรภาพราคาและพัฒนาอาชีพการทำสวนยางตลอดจนอุตสาหกรรมยางให้มีความมั่นคงและยั่งยืน โดยมีประเด็นสำคัญคือการติดตามมาตรการชะลอการส่งออก (AETS ) ของประเทศผู้ผลิตในไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย รวมทั้งได้จัดประชุมเอกอัครราชทูต 4 ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนาม เพื่อหารือถึงมาตรการจัดการผลิตยางพาราดังนี้ 1.ไทยกำลังจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างการยางแห่งประเทศไทยกับสมาพันธ์ชาวสวนยางทั่วประเทศเพื่อรวบรวมยางแผ่นรมควัน (RSS) ยางแท่ง (Block Rubber) ยางคอมปาวด์ (Compound Rubber) และน้ำยางข้น (Concentrated latex) และจัดจำหน่าย 2.มาตรการบริหารจัดการการผลิต โดยไทยมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสมด้วยการโค่นยางเพื่อไปปลูกพืชอื่น 3.มาตรการการปลูกยางพาราร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่น รณรงค์ให้หน่วยงานภาครัฐ เพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ สระน้ำ ยางปูพื้น ถนนยางพารา 4. มาตรการหยุดกรีด โดยให้พื้นที่ปลูกยางในหน่วยงานภาครัฐหยุดกรีดยาง 3 ล้านไร่ เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่พฤษภาคมถึงกรกฎาคม และหยุดกรีดยางทุกไร่ โดยให้กรีดแบบวันเว้นวัน และ5. มาตรการควบคุมการผลิต-ราคายางพารา ที่ปัจจุบันยางพาราของประเทศไทยเป็นสินค้าควบคุม โดยกระทรวงพาณิชย์จะเข้ามาดูกลไกราคายางพารา

ความร่วมมือที่เข้มแข็งและการประสานงานอย่างใกล้ชิดของประเทศต่างๆ จะนำมาซึ่งการบรรลุเป้าหมายหลักคือราคาที่ยุติธรรมและมีเสถียรภาพเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดกับทุกฝ่าย

การจัดงานเลี้ยงประจำปี 2561 ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือร่วมใจอย่างดีเยี่ยมจากคณะกรรมการบริหารสมาชิกและทีมเจ้าหน้าที่สมาคม  ในนามสมาคมยางพาราไทย กระผมขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง และคาดหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ยางให้แน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด