history history
 
   
iconพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ..... [   กรกฏาคม  2555 ]

 

 

      ยางพารา พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการแรงงาน บุคลากรภาครัฐ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ประมาณ 1 ล้านครอบครัว จำนวนไม่น้อยกว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศ  โดยปี 2554 ก่อให้เกิดรายได้แก่ประเทศจากการส่งออกยางดิบ 383,319 ล้านบาท ใช้ในประเทศ 14 % แต่มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง 252,985 ล้านบาท ยางผสมสารเคมี 57,571 ล้านบาท ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 42,639 ล้านบาท รวมแล้วส่งออกปีละกว่า 678,942 ล้านบาท  ไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา โดยปี 2554 ไทยผลิตยาง  3.569 ล้านตัน โดยผลิตยางแท่ง 1.455 ล้านตัน(40.7 %)  ยางแผ่นรมควัน 892,249 ตัน(25 %) น้ำยางข้น 713,804 ตัน(เฉพาะเนื้อยางแห้ง)  (20 %) และยางผสม 428,276 ตัน(12 %)  และส่งออก  2.95 ล้านตัน  โดยส่งออกยางแท่ง 1.3 ล้านตัน(44 %) ยางแผ่นรมควัน 747,284  ตัน(25 %)  น้ำยางข้น 519,628 ตัน(เฉพาะเนื้อยางแห้ง)(17.6 %) และยางผสม 339,942 ตัน(11.5 %) ใช้ในประเทศ 486,745 ตัน โดยใช้ในการผลิตยางยานพาหนะมากที่สุด(60 %) รองลงมาคือยางยืดและถุงมือยาง(14 %)  ไทยพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก  การส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในรูปวัตถุดิบแปรรูปขั้นต้น เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น โดยส่งออกไปยังประเทศจีนเป็นอันดับ 1  1.27 ล้านตัน(43 %) รองมาคือมาเลเซีย 344,589 ตัน(12 %)  ญี่ปุ่น 333,669 ตัน(11 %) มาเลเซีย 344,589 ตัน(11 %) และสหรัฐอเมริกา 205,410 ตัน(7 %)

The Swiss knockoff website provide male and female wearers uk high end replica cartier watches online.

Best-selling uk fake watches for men and women can be found from the online store. All the collections are available.

 

      ปัจจุบันการบริหารงานยางพาราของภาครัฐดำเนินการโดยหน่วยงานหลักจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เช่น สถาบันวิจัยยาง มีหน้าที่ในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาด้านการผลิต เศรษฐกิจและการตลาด อุตสาหกรรมแปรรูปยางและผลิตภัณฑ์ยาง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นผลงานวิจัยให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง    สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มีหน้าที่ให้การสงเคราะห์ปลูกแทนสวนยางเก่าด้วยยางพันธุ์ดีในพื้นที่ปลูกยางเก่าและการปลูกยางในพื้นที่ใหม่ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นผลงานวิจัยสู่เกษตรกรชาวสวนยาง รวมทั้งการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง(cess) องค์การสวนยาง มีหน้าที่พัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป และการจำหน่ายยางพารา รวมทั้งสร้างเครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านยางครบวงจร นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน อาทิเช่น กระทรวงพาณิชย์  กระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

      จากข้อมูลดังกล่าว บ่งชี้ว่าว่าการพัฒนางานยางพาราของประเทศไทย ดำเนินงานโดยหลายหน่วยงาน มีขอบข่ายที่ซ้ำซ้อนกัน และการดำเนินงานส่วนใหญ่ขาดการประสานงาน ดังนั้นการปฏิรูประบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพารา ตลอดถึงการวิจัยพัฒนา การรักษาเสถียรภาพราคายาง การดำเนินธุรกิจและการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมและยั่งยืนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางให้มีความมั่นคงในอาชีพจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย  ภาครัฐจึงเห็นควรให้จัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย เพื่อรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพาราของประเทศไทยทั้งระบบอย่างครบวงจร มีเอกภาพสามารถดำเนินการไปได้อย่างเป็นอิสระ คล่องตัว และใช้ยางพาราและผลิตผลจากยางพาราให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งขณะนี้เป็นเรื่องน่ายินดีที่การจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยมีความคืบหน้าอย่างมาก โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร(สมัยสามัญนิติบัญญัติ)  เมื่อวันที่ 14  มิถุนายน 2555 ได้พิจารณาและลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ….

 

      อย่างไรก็ตามสมาคมยางพาราไทยมีความเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ….. ดังนี้ 1. ควรก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางทั้งระบบอย่างยั่งยืน 2.ควรมีการบูรณาการและเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่หน่วยงานต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ  และหน่วยงานสนับสนุนทั้งหมด 3. ควรส่งเสริมการสร้างมาตรฐานคุณภาพยางและผลิตภัณฑ์ยาง มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ การวิจัยพัฒนายางและผลิตภัณฑ์ยาง สัญญาการซื้อขายยางที่เป็นธรรม และการสร้างเสถียรภาพราคายาง และ 4. ตามที่ร่างพระราชบัญญัติการแห่งประเทศไทย พ.ศ….. กำหนดให้การยางแห่งประเทศไทย มีอำนาจจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา สมาคมฯ เห็นว่าทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการแข่งขันในกิจการซึ่งภาคเอกชนทำได้ดีอยู่แล้ว

 

      โดยสรุป พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ….จะเป็นก้าวสำคัญในปฏิรูปการบริหารจัดการยางพาราไทยครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ  ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนายางพาราไทยอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และเป็นการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกได้ 


 

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด