บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางธรรมชาติประจำเดือนมีนาคม 2557
ตลาดยาง
ศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2557
ดัขนี Nikkei
225 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กอปรกับเงินเยนอ่อนค่าต่อดอลลาร์
เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงราคายางล่วงหน้าตลาดโตเกียวและอื่นๆ
รวมทั้งราคาท้องถิ่นในเอเชีย ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างรัสเซียและยูเครน
และข้อมูลดัชนี PMI ของจีนก็ดูน่าเป็นห่วง
ในส่วนของภาคการผลิต
ผลผลิตยางธรรมชาติในไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซียลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากความแห้งแล้ง
ศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2557
ราคายางล่วงหน้าและราคาท้องถิ่นในเอเชียปรับตัวลดลง
หลังจากจีนรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ โดยเฉพาะตัวเลขการค้าขาดดุล 2.298
หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ กอปรกับตัวเลขทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 2556 ที่ชะลอตัวกว่าที่คาดไว้
ส่งผลให้อุปทานลดลงอย่างต่อเนื่อง
ความแห้งแล้งในประเทศผู้ผลิตหลัก
ส่งผลให้อุปทานลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยหนุนให้นักลงทุนซื้อหุ้นคืน (short
covering) ทำให้ราคายาวล่วงหน้าและท้องถิ่น
ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ถึงแม้ว่าเงินเยนแข็งค่าต่อดอลลาร์
ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบลดลง และราคาหุ้นของตลาดโลกลดลงก็ตาม
ศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557
ราคายางปรับตัวลดลง
เนื่องจากไม่มีข่าวดีที่ส่งผลบวกต่อตลาด ทำให้ตลาดยิ่งซบเซาลงอย่างหนัก
สต็อกยางชิงเต่ายังคงอยู่ในระดับสูง คาดว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีน
จะสร้างความกดดันต่อราคายางที่ตกต่ำอยู่แล้ว ในขณะที่ผู้ซื้อยางล้อไม่มีความต้องการซื้อ
อีกทั้งยังหาหนทางต่อรองราคา
การผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออก
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท ประเทศเวียดนาม
รายงานว่า ในช่วงเดือนแรกของปี 2557 เวียดนามสร้างรายได้ 215 ล้านดอลลาร์
จากการส่งออกยาง 104,000 ตัน โดยมูลค่าลดลง 43 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณลดลง 25
เปอร์เซ็นต์ yoy จีนซึ่งเป็นตลาดนำเข้าหลัก ซื้อยาง 41,657
ตัน จากเวียดนาม มีมูลค่า 82.3 ล้านดอลลาร์ โดยมูลค่าลดลง 54.83 เปอร์เซ็นต์
ปริมาณลดลง 40.2 เปอร์เซ็นต์ yoy
คณะกรรมการยางอินเดียรายงานว่า
ในเดือนกุมภาพันธ์ อินเดียนำเข้ายางธรรมชาติเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของปีก่อน
ด้วยปริมาณ 18,141 ตัน เนื่องจากราคายางในตลาดต่างประเทศลดลงอย่างมาก
ทำให้ผู้ผลิตยางล้อในอินเดียซื้อยางจำนวนมาก
ในขณะที่การผลิตยางธรรมชาติในอินเดียในเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงเหลือ 60,000 ตัน จาก
62,000 ตัน yoy
ในปัจจุบัน อินเดียเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับที่
5 ของโลก รองจากเวียดนามและจีน เนื่องจากในปี 2556
ผลผลิตยางธรรมชาติขิงอินเดียลดลง 7.6 เปอร์เซ็นต์ เป็น 8.49 แสนตัน
ในขณะที่ผลผลิตยางของเวียดนามเติบโต 20 เปอร์เซ็นต์ แตะระดับ 1 ล้านตัน และจีนก็เพิ่มผลผลิตมากขึ้นแบบก้าวกระโดด
ผลผลิตยางของมาเลเซียลดลงด้วยเช่นกัน และตามหลังอินเดียอยู่อันดับที่ 6
โดยในปี 2556 อินเดีย มาเลเซีย และศรีลังกา ประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำเป็นอย่างมาก
ในเดือนมกราคม
มาเลเซียส่งออกยางธรรมชาติเพิ่มขึ้น 3.2 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 70,423 ตัน การใช้ยางในประเทศลดลง 6.2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 35,338 ตัน
โดยใช้ในอุตสาหกรรมถุงมือยาง 25,492 ตัน (72.1 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วยล้อรถและท่อ
7.1 เปอร์เซ็นต์ และสายรัดยาง 6.6 เปอร์เซ็นต์ สต็อกยางในเดือนมกราคมอยู่ที่
221,856 ตัน เพิ่มขึ้น 17.5 เปอร์เซ็นต์ yoy
ยางล้อ
ในปี 2556 สหรัฐฯ
นำเข้ายางล้อรถยนต์และรถบรรทุกขนาดเล็กจากประเทศจีน เพิ่มขึ้น 55.8 เปอร์เซ็นต์
และ 75.8 เปอร์เซ็นต์ yoy ตามลำดับ
การนำเข้ายางล้อรถยนต์จากจีนทุบสถิติ 46 ล้านหน่วย คิดเป็น 1 ใน 3
ของการนำเข้ายางล้อรถยนต์ทั้งหมดของสหรัฐฯ การนำเข้ายางล้อรถยนต์จากอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น
16.7 เปอร์เซ็นต์ จากไต้หวันเพิ่มขึ้น 22.7 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกัน
การนำเข้าจากเกาหลีใต้ลดลง 16.4 เปอร์เซ็นต์ จากญี่ปุ่นลดลง 8.7 เปอร์เซ็นต์
และโดยเฉพาะจากบราซิลลดลง 37.1 เปอร์เซ็นต์
แคนาดายังคงเป็นผู้ส่งออกยางล้อรถบรรทุกขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ให้กับสหรัฐฯ ที่ 9.51
ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2555
สมาคมอุตสาหกรรมยางจีนรายงานว่า
ในปี 2556 สมาชิกสมาคมฯ ในภาคยางล้อทั้ง 48 บริษัท ผลิตยางล้อ 390.6 ล้านหน่วย
เพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์ yoy ยอดขายลดลง 0.9
เปอร์เซ็นต์ เป็น 2.11 แสนล้านหยวน แสดงให้เห็นว่า ปริมาณเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าลดลง
โดย 10 อันดับผู้ผลิตยางล้อ ได้แก่
·
China Strategic Holdings
·
China Jia Tong
·
Triangle Group
·
Zhengxin Tyre
·
Shandong Linglong
·
Xingyuan Tyre
·
Double Coin Holdings
·
Aeolus Tires
·
Jinyu Group
·
Shandong Shing
โดยมีเพียง 3
บริษัทเท่านั้นที่ยอดขายเติบโต แต่เติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ยานยนต์
ในเดือนกุมภาพันธ์ ยอดขายรถยนต์ในยุโรปเพิ่มขึ้น 7.6 เปอร์เซ็นต์
โดยเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัว
สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ยุโรป รายงานว่า การลงทะเบียนซื้อรถใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 894,730
คัน ความต้องการรถยนต์ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 6.3 เปอร์เซ็นต์ yoy
เป็น 1.86 ล้านคัน คณะกรรมาธิการยุโรปพยากรณ์ว่า
เศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนจะเติบโต 1.2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2557
สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีน รายงานว่า
ยอดขายรถยนต์ในจีนเพิ่มเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ yoy ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็น 1.31 ล้านคัน
เทียบกับที่นักวิเคราะห์ของบลูมเบิร์กคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าที่ 1.27 ล้านคัน
ทั้งนี้เนื่องจาก ยอดขายรถยนต์ญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อเนื่อง
หลังจากชาวจีนหยุดประท้วงญี่ปุ่นในปี 2555 ยอดขายยานพาหนะทั้งหมด (รวมทั้งรถบัสและรถบรรทุก)
ไต่ระดับเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.6 ล้านคันในเดือนกุมภาพันธ์
เนื่องจากอากาศหนาวและหิมะตกหนัก
ยอดขายยานพาหนะ (รถยนต์และรถบรรทุก) ในเดือนกุมภาพันธ์ในสหรัฐฯ
ลดลงจากปีที่แล้วที่ 1,193,872 คัน ยอดขายคิดเป็นปีปรับตามฤดูกาล (SAAR) ประจำเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 15.34 ล้านคัน เป็นเดือนที่สามแล้ว
ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯ ซบเซากว่าที่คาดไว้
คาดว่ายอดขายในเดือนมีนาคมจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิจะสูงขึ้น
และผู้บริโภคน่าจะเริ่มซื้อรถกันมากขึ้น
สมาคมผู้ค้ายานยนต์ญี่ปุ่น
รายงานว่า ยอดขายยานพาหนะใหม่ (รถยนต์ รถบรรทุก และรถบัส) ในญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 15
เปอร์เซ็นต์ yoy ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็น 336,176 คัน
โดยเติบโตติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคแห่ซื้อรถ
ก่อนที่จะมีการปรับภาษีสูงขึ้นในเดือนเมษายน
|