E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  สิงหาคม 2556 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 ตลาดยาง สิงหาคม 2556


ศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2556


Dow Jones 15,658.40 (+99.60)

S&P 500 1,709.67 (+18.02)

Nikkei 225 14,466.16 (+336.16)

China CSI 2,247.26 (+23.25)

 

STI 3,254.13 (+18.03)

HSI 22,190.97 (+222.07)

KLCI 1,782.51 (-25.10)

SET 1,420.94 (-55.77)

JSX 4,640.78 (-18.09)


 

EUR        1.3276

JPY         98.94

 

Oil (WTI) Sep 13               106.94 (+2.24)

Brent (ICE) Sep 13            108.95 (+1.78)

 

ราคา ยางกระเตื้องขึ้นในปลายสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มกลับมามีความมั่นใจ หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เงินเยนอ่อนค่า ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบสูงขึ้น ดัชนี PMI ของจีนมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น สต็อกยางดิบญี่ปุ่นลดลง เป็นปัจจัยช่วยหนุนราคายางในตลาดล่วงหน้าและตลาดท้องถิ่น

 

ศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2556


Dow Jones 15,425.50 (-232.90)

S&P 500 1,691.42 (-18.25)

Nikkei 225 13,615.19 (-850.97)

China CSI 2,286.01 (+38.75)

STI 3,229.91 (-24.22)

HSI 21,807.56 (-383.41)

KLCI 1,779.32 (-3.19)

SET 1,432.25 (+11.31)

JSX 4,640.78 (closed)


 

 

EUR        1.3342

JPY         96.21

 

Oil (WTI) Sep 13               105.97 (-0.97)

Brent (ICE) Sep 13            108.22 (-0.73)

 

ราคา ยางปิดบวก เนื่องจากมีความต้องการซื้อในตลาดท้องถิ่น แต่การซื้อขายในตลาดสิงคโปร์เบาบาง เนื่องจากประเทศผู้ผลิตอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียหยุดฉลองวันอีด สภาวะตลาดยางดีขึ้น เนื่องจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนสูงขึ้น 9.7 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 5 เดือน

 

ศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556


Dow Jones 15,081.50 (-344.0)

S&P 500 1,655.83 (-35.59)

Nikkei 225 13,650.11 (+34.92)

China CSI 2,304.14 (+18.13)

STI 3,197.53 (-32.38)

HSI 22,517.81 (+710.25)

KLCI 1,788.24 (+8.92)

SET 1,445.76 (+13.51)

JSX 4,568.65 (-72.13)


 

EUR        1.3329

JPY         97.53

 

Oil (WTI) Sep 13               107.46 (+1.49)

Brent (ICE) Sep 13            110.40 (+3.53)

 

เศรษฐกิจยุโรปมีการฟื้นตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ สถานการณ์เศรษฐกิจในจีนปรับตัวดีขึ้น ความต้องการซื้อในตลาดท้องถิ่นสูงขึ้น

ราคา ยางล่วงหน้าในตลาดเซี่ยงไฮ้และโตเกียวปิดบวก เนื่องจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเชิงบวกของจีน เงินเยนอ่อนค่าต่อดอลลาร์ ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบสูงขึ้น อุปสงค์ยางล้อในประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้น การนำเข้ายางธรรมชาติของอินเดียเพิ่มขึ้น 39.2 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกรกฎาคม เป็น 29,311 ตัน จีนนำเข้าเพิ่มขึ้น 13.7 เปอร์เซ็นต์เป็น 1.32 ล้านตันในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ สต็อกยางจีนลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ จากระดับสูงสุดในเดือนเมษายน อุปสงค์ยางธรรมชาติของโลกเพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานจากประเทศผู้ผลิตอยู่ในระดับคงที่

 

ศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2556


Dow Jones 15,010.50 (-71.0)

S&P 500 1,663.50 (+7.67)

Nikkei 225 13,660.55 (+10.44)

China CSI 2,286.93 (-17.21)

 

STI 3,088.85 (-108.68)

HSI 21,863.51 (-654.3)

KLCI 1,721.07 (-67.17)

SET 1,338.13 (-107.63)

JSX 4,169.83 (-398.82)


 

 

EUR        1.3380

JPY         98.69

 

Oil (WTI) Oct 13                106.42 (-0.87)

Brent (ICE) Oct 13            111.04 (+0.64)

 

ราคายางทรงตัวและปิดบวกเล็กน้อย เนื่องจากมีการซื้อขายอย่างคึกคักในตลาดท้องถิ่น ด้วยสภาวะเศรษฐกิจจีนดีขึ้น

ราคา ยางล่วงหน้าในตลาดโตเกียวและเซี่ยงไฮ้ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์และปิดบวก ในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนรอฟังผลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ สต็อกยางท่าเรือชิงเต่า (ทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์) ลดลงเหลือ 298,300 ตัน ยอดขายยานยนต์ในสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์ในเดือนสิงหาคม

ปัจจัย พื้นฐานตลาดยางมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง กอปรกับนักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเฉพาะในสหภาพยุโรปและจีน จึงคาดว่าราคายางในตลาดท้องถิ่นจะกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง

 

การผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออก

สต็อกยาง ณ ท่าเรือชิงเต่าลด ลงเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์มาอยู่ที่ระดับเกือบ 3 แสนตัน เนื่องจากผู้ผลิตยางล้อในจีนหันไปใช้วัตถุดิบที่ถูกกว่า แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าระดับปกติที่ 250,000 ตัน แสดงให้เห็นถึงสัญญาณตลอดฟื้นตัว เนื่องจากมีการนำเข้ามากขึ้น แต่ก็สามารถอนุมานได้ว่า ผู้ผลิตยางล้อในจีนยังคงมีความลังเลในการที่จะซื้อยางจากต่างประเทศ

ในเดือนกรกฎาคม จีนนำเข้ายางธรรมชาติ 150,000 ตัน เพิ่มขึ้น 15.4 เปอร์เซ็นต์ mom โดยรวมแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม จีนนำเข้ายางธรรมชาติ 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 13.7 เปอร์เซ็นต์ yoy โดยอัตราการเติบโตชะลอตัว มูลค่าการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 380 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ mom โดยรวมแล้ว ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 3.667 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 7.6 เปอร์เซ็นต์ yoy

ในอินเดีย ผลผลิตยางธรรมชาติในเดือนกรกฎาคมลดลง 32.4 เปอร์เซ็นต์เป็น 46,000 ตัน จาก 68,000 ตัน yoy เป็น ตัวเลขผลผลิตรายเดือนที่ตกต่ำสุดในรอบ 4 ปี การใช้ยางในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6 เปอร์เซ็นต์ เป็น 82,500 ตัน จาก 82,000 ตัน yoy การนำเข้าในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 39 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 29,311 ตัน ในขณะที่การส่งออกลดลงอย่างมาก จาก 1,882 ตัน yoy เป็น 40 ตัน โดยรวมแล้ว ตัวเลขผลผลิตในช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคมอยู่ที่ 196,000 ตัน จาก 240,700 ตัน yoy ในขณะที่การใช้ยางลดลงเพียง 2 เปอร์เซ็นต์เป็น 330,480 ตัน

 

ยางล้อ

ในปี 2555 บริจสโตนเป็นผู้ผลิตยางล้ออันดับ 1 ของโลกติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี โดยมียอดขาย 28.6 พันล้านดอลลาร์ สูงกว่ามิเชอลินอยู่ 2 พันล้านดอลลาร์ และกูดเยียร์อยู่ 9.5 พันล้านดอลลาร์ คอนทิเน็นทัลครองอันดับ 4 ด้วยยอดขาย 10.9 พันล้านดอลลาร์ ซูมิโตโมแซงหน้าพิเรลลีเล็กน้อย โดยยอดขายซูมิโตโมในหน่วยเงินเยนเติบโต 4.8 เปอร์เซ็นต์จากปี 2554 ในขณะที่ยอดขายพิเรลลีในหน่วยเงินยูโรเพิ่มขึ้น 7.7 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ซูมิโตโมอยู่ในอันดับ 5 ฮันกุกของเกาหลีใต้มาเป็นอันดับ 7 ด้วยยอดขายเพิ่มขึ้น 8.3 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 6.26 พันล้านดอลลาร์ โดยรวมแล้ว มูลค่ารวมโดยประมาณของยอดขายยางล้อทั่วโลกในปี 2555 ลดลงเล็กน้อยจากปี 2554 เป็น 187.5 พันล้านดอลลาร์ โดยบริจสโตนมีส่วนแบ่งตลาด 15.2 เปอร์เซ็นต์ มิเชอลิน 14 เปอร์เซ็นต์ และกูดเยียร์ 10 เปอร์เซ็นต์ ยอดขายยางล้อของผู้ผลิตยางล้อ 10 อันดับของโลก คิดเป็น 65 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายยางล้อทั่วโลก

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 บริจสโตนรายงาน ว่ารายได้ดำเนินการเพิ่มขึ้น 42.3 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.99 พันล้านดอลลาร์ และรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 55.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.23 พันล้านดอลลาร์ ยอดขายเพิ่มขึ้น 14.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 17.9 พันล้านดอลลาร์ โดยได้รับอานิสงส์จากราคาวัตถุดิบต่ำ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในปีนี้ บริจสโตนคาดว่ารายได้ดำเนินการและรายได้สุทธิจะเติบโต 40 เปอร์เซ็นต์ และยอดขายจะเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์

กูดเยียร์รายงานว่า ในไตรมาส 2/2556 รายได้สุทธิอยู่ที่ 188 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 92 ล้านดอลลาร์ yoy รายได้ดำเนินการเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 428 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบต่ำ ในขณะที่ยอดขายลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 4.89 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยรวมแล้ว ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ยอดขายลดลง 8.8 เปอร์เซ็นต์เป็น 9.75 พันล้านดอลลาร์ รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า จาก 88 ล้านดอลลาร์ yoy มาเป็น 221 ล้านดอลลาร์ และรายได้ดำเนินการเพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์ เป็น 730 ล้านดอลลาร์

Yokohama Rubber รายงานว่า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ยอดขายสุทธิเพิ่มขึ้นเพียง 0.3 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 269.7 พันล้านเยน รายได้ดำเนินการลดลง 4.2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 19.1 พันล้านเยน รายได้สุทธิลดลง 5.3 เปอร์เซ็นต์ เป็น 13 พันล้านเยน ในส่วนของยางล้อ ยอดขายลดลง 0.6 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 209.8 เยน รายได้ดำเนินการลดลง 17.9 เปอร์เซ็นต์ เป็น 13.9 พันล้านเยน เนื่องจากนโยบายจูงใจของรัฐบาลสำหรับยานพาหนะประหยัดน้ำมันสิ้นสุดลง นอกจากนี้ อุปสงค์ยางล้อในยุโรปและจีนลดลง ในขณะที่ยอดขายในอเมริกาเหนือตกต่ำ

Cooper รายงานว่า ยอดขายในไตรมาสที่ 2/2556 อยู่ที่ 884 ล้านดอลลาร์ ลดลง 16.5 เปอร์เซ็นต์ yoy กำไร ดำเนินการลดลง 27.4 เปอร์เซ็นต์ เป็น 69 ล้านดอลลาร์ รายได้สุทธิลดลงกว่า 31 เปอร์เซ็นต์ เป็น 35.5 ล้านดอลลาร์ การส่งออกยางล้อรถยนต์ส่วนบุคคลในไตรมาสที่ 2/2556 ลดลง 11.3 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้น 3.2 เปอร์เซ็นต์ โดยรวมแล้ว ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน กำไรดำเนินการแตะระดับที่ 165.8 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 143.1 ล้านดอลลาร์ yoy

Toyo Tire & Rubber ประกาศ ว่าจะเริ่มดำเนินการเพิ่มกำลังการผลิตในอเมริกาเหนือ เพื่อตอบสนองความต้องการยางล้อที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดอเมริกาเหนือ ด้วยงบลงทุนประมาณ 20 พันล้านเยน โดยเพิ่มขนาดโรงงาน 1.5 เท่า กำลังการผลิตจะอยู่ที่ 2.5 ล้านหน่วยต่อปีในระยะเริ่มต้น

 

ยานยนต์

ในรัสเซีย ยอดขายรถยนต์ลดลง 8 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกรกฎาคม ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยรวมแล้ว ในช่วงเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ยอดขายรถยนต์และรถบรรทุกขนาดเล็กลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ yoy รัส เซียประกาศลดการคาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจาก 3.6 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 2.4 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากอุปสงค์ผู้บริโภคและการลงทุนลดลงอย่างมาก

ในสหรัฐฯ ยอดขายยานพาหนะใหม่ในเดือนสิงหาคมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 1.5 ล้านคัน คาดว่ายอดขายในปีนี้จะอยู่ที่ 15.4 ล้าน คัน เพิ่มเป็น 15.7 ล้านคันในปี 2557 และ 15.9 ล้านคันในปี 2558 และ 2559 ปัจจุบัน การจ้างงานอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่มคนหนุ่มสาว ทำให้ไม่มีอำนาจซื้อรถ และไม่สนใจที่จะเป็นเจ้าของรถ  

ในอินเดีย ยอดขายรถยนต์ลดลง 7.4 เปอร์เซ็นต์ เป็น 131,163 คัน ในเดือนกรกฎาคม เป็นการลดติดต่อกันเป็นเวลา 9 เดือน (ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตยานยนต์อินเดีย)

ในยุโรป ยอดขายยานยนต์ในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นในเยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสเปน ยอดขายยานยนต์ในยุโรปตะวันตกอาจจะลดลงเหลือ 11.4 ล้านคันในปีนี้

..............................................

หมายเหตุ

yoy = year on year เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

mom = month on month เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com