ตลาดยาง พฤศจิกายน 2556
ศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2556
Dow Jones 15615.50 +45.22
S&P 500 1761.64 +1.87
Nikkei 225 14201.57 +1133.38
China CSI 2384.96 +16.40
STI 3201.57 -4.04
HSI 23249.79 +551.45
KLCI 1810.41 -7.16
SET 1429.08 -25.80
JSX 4432.59 -148.26
EUR 1.3487
JPY 98.67
CNY 6.0992
Oil (WTI)
Dec 13 94.61 -3.24
Brent (ICE)
Dec 13 105.91 -1.02
ราคายางลดลงเล็กน้อย เนื่องจากจีนหยุดซื้อยาง หนี้เสียของธนาคารจีนหลายแห่งในไตรมาสสามเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ
8 ปี สร้างความกังวลเกี่ยวกับหนี้ก้อนโตในช่วงที่เศรษฐกิจของจีนกำลังชะลอตัว
และอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
และสต็อกน้ำมันดิบสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลงสู่ระดับต่ำกว่า
95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2556
Dow Jones 15761.80 +146.3
S&P 500 1770.61 +8.97
Nikkei 225 14086.80 -114.77
China CSI 2307.95 -77.01
STI 3177.25 -24.32
HSI 22744.39 -505.40
KLCI 1804.48 -5.93
SET 1405.03 -24.05
JSX 4476.72 +44.13
EUR 1.3367
JPY 99.05
CNY 6.0908
Oil (WTI) Dec 13 94.60 -0.01
Brent (ICE) Dec 13 105.12 -0.79
ราคายางเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
หลังจากสภาวะตลาดซบเซาในช่วงต้นสัปดาห์ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น (เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลยูโรต่ำกว่า)
สร้างความกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ
นักลงทุนมีความกังวลต่อความซบเซาของเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันดิบ
ส่งผลกระทบต่อราคายางในตลาดล่วงหน้าและตลาดท้องถิ่นทั่วเอเชีย
ถึงแม้ว่าเงินเยนแข็งค่าดอลลาร์ ทำให้ราคายางมีการแกว่งในกรอบแคบๆ ตลอดสัปดาห์
ศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2556
Dow Jones 15961.70 +199.9
S&P 500 1798.18 +27.57
Nikkei 225 15165.92 +1079.12
China CSI 2350.73 +42.78
STI 3201.27 +24.02
HSI 23032.15 +287.76
KLCI 1789.87 -14.61
SET 1420.66 +15.63
JSX 4335.45 -141.27
EUR 1.3495
JPY 100.16
CNY 6.0921
Oil (WTI) Dec 13 93.84 -0.76
Brent (ICE) Jan 14 108.50 +3.47
ราคายางปิดทั้งบวกและลบในช่วงสัปดาห์
เนื่องจากการซ้อตึงตัว อุปทานจากตลาดจีนอ่อนตัว
และสต็อกยางรายสัปดาห์ในเซี่ยงไฮ้สูงขึ้น 9,410 ตัน
และมีข่าวลือว่ารัฐบาลจีนอาจจะซื้อยางเข้าสต็อกเพิ่มอีก 110,000 ตัน
กูดเยียร์ซื้อยางจากอินโดนีเซีย
ศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2556
Dow Jones 16064.80 +103.10
S&P 500 1804.76 +6.58
Nikkei 225 15381.70 +215.78
China CSI 2397.96 +47.23
STI 3172.85 -28.42
HSI 23696.30 +664.15
KLCI 1794.52 +4.65
SET 1359.07 -61.59
JSX 4317.96 -17.49
EUR 1.3558
JPY 101.27
CNY 6.0936
Oil (WTI) Jan 14 94.84 +0.35
Brent (ICE) Jan 14 111.05 +2.55
ราคายางปิดทั้งบวกและลบ โดยราคายางแผ่นรมควันชั้น
3 ลดลง ในขณะที่ราคายางแท่ง TSR20 ทรงตัว เนื่องจาก บริจสโตนซื้อยางจากอินโดนีเซีย
และมีข่าวลือว่ารัฐบาลจีนอาจจะซื้อยางเพิ่ม หลังจากที่ได้ซื้อเข้าสต็อก 54,000
ตันในเดือนก่อน ในส่วนของอุปทาน เนื่องจากมีฝนตกหนักในประเทศผู้ผลิต
ทำให้ราคายางยังคงทรงตัว สต็อกยางท่าเรือชิงเต่าลดลง 4,900 ตัน
ในขณะที่สต็อกยางเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้น 8,418 ตัน
ศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2556
Dow Jones 16086.41 +21.61
S&P 500 1805.81 +1.05
Nikkei 225 15661.87 +280.17
China CSI 2438.94 +40.98
STI 3176.35 +3.50
HSI 23881.29 +184.99
KLCI 1812.72 +18.20
SET 1371.13 +12.06
JSX 4256.44 -61.52
EUR 1.3591
JPY 102.44
CNY 6.0940
Oil (WTI) Jan 14 92.72 -2.12
Brent (ICE) Jan 14 109.69 -1.36
ราคายางสูงขึ้น
เนื่องจากตลาดโตเกียวและจีนฟื้นตัว อุปสงค์ยางเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
และเงินเยนอ่อนค่าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง
มีการคาดการณ์ว่าอุปทานยางจากประเทศไทยจะลดลง เนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมือง
ทำให้มีการซื้อยางเพื่อเก็งกำไร มีรายงานว่า มีฝนตกหนักในภาคใต้ของไทย
ซึ่งอาจจะทำให้การกรีดยางลดลง และผลผลิตลดลงด้วยเช่นกัน
การผลิต การใช้
การนำเข้า และการส่งออก
Economic
Intelligence Unit รายงานว่าส่วนเกินยางธรรมชาติของโลกจะเพิ่มขึ้นต่อไปจนถึงปี 2558
โดยส่วนเกินยางธรรมชาติของโลกในปีนี้จะแตะระดับที่ 134,000 ตัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น
200,000 ตันในปีหน้า และเป็น 257,000 ตันในปี 2558 คาดว่าอุปสงค์ยางจะเพิ่มขึ้นเพียง
4 เปอร์เซ็นต์ในปี 2557 และ 2558 (หลังจากที่การเติบโตอุปสงค์ในปีนี้ลดลงเหลือ 1.6
เปอร์เซ็นต์) เป็น 11.6 ล้านตันในปี 2557 และ 12.1 ล้านตันในปี 2558
ผลผลิตยางอาจจะเพิ่มขึ้น 4.6 เปอร์เซ็นต์ เป็น 11.8 ล้านตันในปี 2557
และจะเพิ่มขึ้น 4.4 เปอร์เซ็นต์ เป็น 12.4 ล้านตันในปี 2558 การใช้ยางของจีนจะเติบโต
2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2557 และประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ในปี 2558
ความต้องการยางของอินเดียหดตัวประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ และจะขยายตัว 8.5
เปอร์เซ็นต์ในปี 2557 ผลผลิตยางของไทยจะเติบโต 6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2557 และ 5
เปอร์เซ็นต์ในปี 2558
ในเดือนตุลาคม
อินเดียส่งออกยางธรรมชาติลดลง 59 เปอร์เซ็นต์ เป็น 480 ตัน
เนื่องจากการผลิตในประเทศลดลง 7.3 เปอร์เซ็นต์ เป็น 83,000 ตัน โดยรวมแล้ว
ตั้งแต่เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เมษายน) จนถึงเดือนตุลาคม การผลิตลดลง 54
เปอร์เซ็นต์ เป็น 3,975 ตัน การบริโภคลดลง 3.57 เปอร์เซ็นต์ เป็น 80,500
ตันในเดือนตุลาคม การนำเข้าเพิ่มขึ้น 81.3 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 33,486
ตัน เนื่องจากผู้ผลิตยางล้อเพิ่มการซื้อจากต่างประเทศด้วยราคาที่ต่ำกว่า
บริษัทยางล้อในอินเดียเก็บสต็อกยางปริมาณมากในช่วงราคาตกต่ำ ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้น
และได้เปรียบคู่แข่งในต่างประเทศ
ยางล้อ
กูดเยียร์
ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ รายงานว่ารายได้ในไตรมาสที่ 3/2556 เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ถึงแม้ยอดขายลดลง แต่ต้นทุนการผลิตก็ลดลงด้วยเช่นกัน โดยรายได้สุทธิในไตรมาส
3/2556 เพิ่มขึ้น 51 เปอร์เซ็นต์ เป็น 166 ล้านดอลลารื ยอดขายลดลง 5 เปอร์เซ็นต์
เป็น 5 พันล้านดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการผลิตลดลงถึง 8.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น
3.95 พันล้านดอลลาร์
Continental
เริ่มดำเนินการผลิต
ณ โรงงานยางล้อแห่งใหม่ในเมือง Kaluga ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงมอสโก
ด้วยงบลงทุน 240 ล้านยูโร เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 4 ล้านหน่วยต่อปีในระยะแรก
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตรถยนต์และผู้ขับขี่ทั่วไป
ซูมิโตโม
รับเบอร์ อินดัสตรีส์ รายงานว่ารายได้ดำเนินการในไตรมาสที่ 3
เพิ่มขึ้น 13.4 เปอร์เซ็นต์ เป็น 131.3 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ยอดขายเติบโต 12
เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.88 พันล้านดอลลาร์ รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด 27
เปอร์เซ็นต์ เป็น 93.7 ล้านดอลลาร์ ในส่วนของภาคยางล้อ รายได้ดำเนินการเพิ่มขึ้น
16.7 เปอร์เซ็นต์ และยอดขายเพิ่มขึ้น 12.4 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ซูมิโตโมไม่ได้
เปิดเผยเหตุผลที่ทำให้รายได้และยอดขายเพิ่มขึ้น
ยานยนต์
ในเดือนตุลาคม
ตลาดรถยนต์ในสหภาพยุโรปเติบโต 4.7 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1,004,935 คัน
อิตาลีเป็นเพียงตลาดเดียวที่หดตัว (-5.6 เปอร์เซ็นต์) โดยรวมแล้ว
ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม การลงทะเบียนซื้อรถยนต์ใหม่ในสหภาพยุโรปอยู่ที่
10,006,807 คัน ลดลง 3.1 เปอร์เซ็นต์ yoy มีเพียงตลาดสเปนและสหราชอาณาจักรที่เติบโต
โดยตลาดสเปนเติบโต 1.1 เปอร์เซ็นต์ yoy และสหราชอาณาจักรเติบโต 10.2 เปอร์เซ็นต์ yoy
ยอดขายรถยนต์ในอินเดียลดลงติดต่อกันเป็นเวลา
2 ปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูง เงินเดือนพนักงานปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย เศรษฐกิจชะลอตัว
ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อ โดยในเดือนตุลาคม ยอดขายรถยนต์ในอินเดียลดลง 3.9
เปอร์เซ็นต์ เป็น 163,199 คัน ยอดขายรถบรรทุกและรถโดยสารลดลง 19.8 เปอร์เซ็นต์
เป็น 53,533 คัน
สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีนรายงานว่า
ในเดือนตุลาคม ยอดขายยานพาหนะทั้งหมดในประเทศจีนเพิ่มขึ้น 24 เปอร์เซ็นต์ เป็น
1.61 ล้านคัน
เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี
และความต้องการรถยนต์ญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัว โดยรวมแล้ว ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม
2556 ยอดขายยานพาหนะทั้งหมดในจีนอยู่ที่ 17.8 ล้านคัน โดย 14.5 ล้านคันเป็นรถยนต์
Edmunds.com
คาดการณ์ว่ายอดขายยานพาหนะใหม่ในสหรัฐฯ
จะเพิ่มขึ้น 4.7 เปอร์เซ็นต์ yoy ในเดือนพฤศจิกายน 2556 เนื่องจากปัจจัยบวกทางด้านตลาดที่อยู่อาศัยและพลังงาน
กอปรกับอัต
|