ตลาดยาง มกราคม 2556
ศุกร์ที่ 4 มกราคม 2556 ตลาดหุ้นโดยส่วนใหญ่ในเอเชียยังคง
อยู่ในแดนบวก แต่ปิดลบในวันศุกร์ที่ 4 ม.ค. 2556 หลังจากสภาคองเกรสสหรัฐฯ
อนุมัติงบประมาณเยียวยาหน้าผาทางการคลัง
ภาคการผลิตของสหรัฐฯและจีนมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกติดต่อกัน 4 วัน หลังจากรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ
เป็นไปตามความคาดหมาย และภาคบริการของสหรัฐฯ เติบโตแบบก้าวกระโดด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
หลังการเติบโตการจ้างงานในเดือนธันวาคมเป็นไปตามความคาดหมายของนัก
เศรษฐศาสตร์ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกภาคการผลิตเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ราคา
ยางพาราในตลาดล่วงหน้าและตลาดท้องถิ่นในเอเชียอยู่ในแดนบวกตลอดสัปดาห์
นอกจากนี้ อุปทานยางธรรมชาติยังคงตึงตัว
เนื่องจากภาคใต้ของไทยและภาคเหนือของมาเลเซียมีฝนตกหนักตลอดสัปดาห์
ทำให้ราคายางธรรมชาติในตลาดล่วงหน้าและตลาดท้องถิ่นสูงขึ้น คาดว่า
ราคายางธรรมชาติจะได้รับแรงหนุนจากปัจจัยพื้นฐานทางตลาดในขณะนี้และในช่วง
ไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากจะเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบในเดือนกุมภาพันธ์
ปัญหาทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ยุโรป และจีนได้รับการแก้ไข
ยอดขายยานยนต์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา
คาดว่าราคายางธรรมชาติจะไต่ระดับถึง 4 ดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปีนี้ ศุกร์ที่ 11 มกราคม 2556 หุ้น
ญี่ปุ่นอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากเงินเยนอ่อนค่าต่อเนื่อง
ในขณะที่หุ้นจีนปิดลบเล็กน้อย
หลังจากมีรายงานว่าเงินเฟ้อสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
หุ้นยุโรปผันผวนในกรอบแคบๆ
เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยุโรปไม่มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น หุ้นสหรัฐฯ
อยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากความกังวลในเรื่องหน้าผาทางการคลังลดน้อยลง
และหุ้นวัตถุดิบอุตสาหกรรมและสุขภาพปิดบวกในไตรมาสที่ 4/2555
เงินยูโรอยู่ที่ 1.3343 ดอลลาร์ เงินดอลลาร์อยู่ที่ 89.17 เยน
ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า ณ ตลาดนิวยอร์กลดลงเป็น 93.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคา
ยางล่วงหน้า ณ ตลาดโตเกียวปิดบวก
เนื่องจากเงินเยนอ่อนค่าต่อดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งส่งผลต่อราคายางในตลาดล่วงหน้าและตลาดท้องถิ่นในเอเชีย
รายงานสภาวะเงินเฟ้อในจีนในเดือนธันวาคม 2555
ฉุดราคายางธรรมชาติในตลาดท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่ ยกเว้นในประเทศไทย
ราคายางธรรมชาติในตลาดท้องถิ่นทรงตัวในระดับสูงตลอดสัปดาห์
โดยเฉพาะในประเทศไทย เนื่องจากอุปสงค์-อุปทานอยู่ในสภาวะสมดุล
และผู้ผลิตยางธรรมชาติมีความมั่นใจว่าราคายางจะไต่ระดับสูงขึ้นอีกในไตรมาส
ที่ 1/2556 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
และอุปทานยางธรรมชาติกำลังจะลดลงเนื่องจากฤดูยางผลัดใบกำลังจะมาถึง ศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556 ตลาด
หุ้นเอเชียปิดบวก หลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศจีนรายงานว่า GDP
ของจีนเติบโต 7.9 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาส 4/2555 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2554
ซึ่งสูงกว่าที่ดาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 7.8 เปอร์เซ็นต์
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ
เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ
ถึงแม้ว่าตลาดได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่ในช่วงขาขึ้นตลอดสัปดาห์
เนื่องจากพรรครีพับลิกันรวมเสียง ส.ส. ในพรรคผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้
เงินดอลลาร์อยู่ที่ 90.05 เยน เงินยูโรอยู่ที่ 0.7509 ดอลลาร์
ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบ ณ ตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ 95.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นัก
ลงทุนในตลาดซื้อขายล่วงหน้ายางพาราในเอเชียหยุดการถือยาว
หลังจากรัฐมนตรีนโยบายการคลังและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเตือนว่าเงินเยนจะอ่อน
ค่าอย่างหนัก และจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าอย่างมาก นอกจากนี้
ธนาคารโลกพยากรณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตเพียง 2.4 เปอร์เซ็นต์ในปี 2556
เงินเยนต่อดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ฉุดราคายางล่วงหน้าในตลาด
โตเกียว ก่อนที่ข้อมูลการเติบโต GDP
ของจีนที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้จะช่วยทำให้ราคายางขยับตัวขึ้น
ราคายางในตลาดท้องถิ่นทั่วเอเชียปรับตัวตามปัจจัยพื้นฐานทางตลาด
โดยเฉพาะอุปทานยางต่ำในไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ไม่สามารถช่วยปรับสภาวะตลาดซบเซาได้เลย ทำให้ราคายางในตลาดส่วนใหญ่ลดลง
ศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556 ตลาด
หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปิดลบ หลังจากแอปเปิ้ล อิงค์ เปิดเผยยอดขายไอโฟน
และรายได้รายไตรมาสต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก
เพราะได้แรงหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีที่ปรับตัวขึ้น
เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน หุ้นสหรัฐปิดบวก เนื่องจากสภาล่างฯ
สหรัฐลงมติขยายเพดานหนี้ชั่วคราว
ทำให้ข้อมูลเศรษฐกิจปรับตัวดีกว่าที่คาดไว้ เงินดอลลาร์อยู่ที่ 90.90 เยน
เงินยูโรแข็งค่าอยู่ที่ 0.7427 ดอลลาร์ ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบ ณ
ตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ 95.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคายางธรรมชาติใน
ตลาดท้องถิ่นทรงตัวตลอดสัปดาห์ในตลาดเอเชีย
ตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
เนื่องจากผู้ผลิตยางล้อและผู้นำเข้าจีนกว้านซื้อยาง
เพื่อเก็บเข้าสต็อกก่อนวันหยุดเทศกาลตรุษจีน
และก่อนที่ฤดูยางผลัดใบจะมาถึงในเดือนหน้า การผลิต การใช้ การนำเข้า การส่งออก สมาคม
ยางพาราไทยคาดว่า การส่งออกยางของไทยจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2556
โดยอัตราการเติบโตจะอยู่ที่ 3-5 เปอร์เซ็นต์
เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้น เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
รวมทั้งอุปสงค์ในตลาดใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย และบราซิล
คาดว่าการส่งออกทั้งหมดในปี 2555 อยู่ที่เกือบ 3 ล้านตัน มากกว่าปี 2554
ที่ 2.95 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกในปี 2555 อยู่ที่ 3.4
แสนล้านบาท ลดลงกว่าปี 2554 ที่ 4.4 แสนล้านบาทเนื่องจากราคายางเฉลี่ยปี
2555 ปรับตัวลดลง จากเศรษฐกิจชะลอตัวในจีนและยุโรป องค์การศึกษา
เรื่องยางระหว่างประเทศ (IRSG)
รายงานว่าส่วนเกินยางธรรมชาติของโลกจะลดลงในปีนี้และปีหน้า
จากที่ได้คาดการณ์ไว้ในปี 2555 เนื่องจากอุปสงค์ในสหรัฐฯ และจีนเพิ่มขึ้น
ผลผลิตจะสูงกว่าการใช้อยู่ที่ 179,000 ตันในปีนี้ และ 153,000 ตันในปี 2557
อุปสงค์ยางในจีนอาจจะเพิ่มขึ้น 7.2 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ เทียบกับ 4.5
เปอร์เซ็นต์ในปีก่อน การใช้ยางในสหรัฐฯจะขยายตัว 4.5
เปอร์เซ็นต์หลังจากหดตัว 6.3 เปอร์เซ็นต์ในปีก่อน
การใช้ยางธรรมชาติของโลกกำลังฟื้นตัว เนื่องจากอุปสงค์คงค้างสะสมจากปีก่อน
โดยจะเพิ่มขึ้นเป็น 11.6 ล้านตันในปีนี้ และเป็น 12.3 ล้านตันในปี 2557
ในขณะที่การผลิตของโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 11.8 ล้านตันในปีนี้ และเป็น 12.5
ล้านตันในปี 2557 โดยในปีก่อน อุปสงค์ยางของโลกอยู่ที่ 10.9 ล้านตัน
ในขณะที่ผลผลิตอยู่ที่ 11.4 ล้านตัน คาดว่าสต็อกยางของโลก ณ ปลายปี 2555
เพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2548
เนื่องมาจากการจำกัดการส่งออกของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สมาคม
ประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติคาดการณ์ว่าเวียดนามจะนำหน้ามาเลเซียในฐานะประเทศ
ผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับสามของโลก สมาคมยางพาราเวียดนามรายงานว่า ในปี
2555 เวียดนามส่งออกยางธรรมชาติ 1.01 ล้านตัน มีมูลค่า 2.85 พันล้านดอลลาร์
เพิ่มขึ้น 23.8 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาณ และลดลง 12.6 เปอร์เซ็นต์โดยมูลค่า
เมื่อเทียบกับปี 2554 จากตัวเลขปลายปี 2555
เวียดนามมีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 910,500 เฮกตาร์
สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 800,000 เฮกตาร์ในปี 2558 ในปี 2555
กัมพูชาส่งออกน้ำยางข้น 54,530 ตัน เพิ่มขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์จาก 46,730
ตันในปีก่อน อย่างไรก็ตาม รายได้จากการส่งออกลดลง 21 เปอร์เซ็นต์
เนื่องจากราคายางในตลาดโลกตกต่ำ ในปัจจุบัน
กัมพูชามีเนื้อที่เพาะปลูกยางพาราจำนวน 257,670 เฮกตาร์
แต่ส่วนใหญ่ยังให้ผลผลิตไม่ได้ กระทรวงเกษตรกัมพูชาพยากรณ์ว่า
กัมพูชาจะสามารถผลิตน้ำยางธรรมชาติ 3 แสนตันในปี 2563 ผลผลิตยาง
ธรรมชาติของอินโดนีเซียจะเติบโต 7 เปอร์เซ็นต์ เป็น 3.2 ล้านตันในปีนี้
ในปี 2555 อินโดนีเซียผลิตยางธรรมชาติ 3 ล้านตันและส่งออก 2.8 ล้านตัน
การส่งออกลดลงเนื่องจากมีความต้องการใช้ยางภายในประเทศมากขึ้นในอุตสาหกรรม
ยางล้อ ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาการส่งออกในช่วงราคายางในตลาดโลกตกต่ำ ใน
อินเดีย การนำเข้ายางมีแนวโน้มลดลงในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์
เนื่องจากราคายางในประเทศลดลงอย่างมากในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ในเดือนธันวาคม 2555 อินเดียนำเข้ายางธรรมชาติลดลง 35.6
เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับธันวาคม 2554 เป็น 13,611 ตัน – Rubber Board of
India ณ ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ สต็อกยางธรรมชาติเพิ่มขึ้น 1,770 ตัน
เป็น 97,697 ตัน ณ วันที่ 4 มกราคม 2556
ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553
จีนจะเพิ่มสต็อกยางจำนวนมากก่อนวันหยุดเทศกาลตรุษจีน สมาคมค้ายาง
ญี่ปุ่นรายงานว่า สต็อกยางดิบ ณ ท่าเรือญี่ปุ่นลดลง 202 ตัน
ในช่วงต้นเดือนมกราคมจนถึงวันที่ 10 มกราคม 2556
จากระดับสูงสุดในรอบสี่เดือนเมื่อสิ้นปี 2555
สต็อกยางดิบญี่ปุ่นทำสถิติสูงสุดที่ 7,387 ตัน ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2555 ยางล้อ อุป
สงค์ยางล้อยานพาหนะเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน
เนื่องจากมีสมดุลยภาพระหว่างอุปสงค์และอุปทานในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว
การส่งออกยางล้อรถบรรทุกในปีนี้จะเพิ่มขึ้นราวๆ 2 เปอร์เซ็นต์เป็น 16.3
ล้านหน่วย ในปี 2555 คาดว่ารายได้จากอุตสาหกรรมยางล้อของจีนอยู่ที่
7.93 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 20.7
เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนรายได้ดังกล่าวเติบโตในอัตราคิดเป็นปีที่ 24.1
เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์จีนมีการปรับตัวในทิศทางบวก
กอปรกับมีการซื้อรถยนต์มากขึ้นในจีน เนื่องจากตลาดยานยนต์ในอินเดีย
ชะลอตัวอย่างรุนแรง อุตสาหกรรมยางล้อประสบปัญหาสต็อกเพิ่มขึ้นถึง 40
เปอร์เซ็นต์จากระดับปกติ เนื่องจากอุปสงค์จากผู้ผลิตรถยนต์ตกต่ำ
และไม่มีการกระตุ้นที่มากพอจากตลาดส่งออก เนื่องจากตลาดโลกอยู่ช่วงขาลง
ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา มีการนำเข้ายางล้อราคาถูกจากจีนจำนวนมาก
ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ หุ้นมิเชอลีนและคอนติเนนทัลลดลงสูง
สุดในรอบสามเดือนกว่า
หลังจากมิเชอลินกล่าวว่าอุปสงค์ลดลงอย่างหนักทั่วยุโรปในเดือนก่อน
ยอดขายยางล้อใช้แล้วสำหรับพาหนะใหม่ลดลง 16 เปอร์เซ็นต์ในยุโรปและ 2
เปอร์เซ็นต์ในอเมริกาเหนือในเดือนก่อน ยอดขายยางล้อทดแทนร่วง 7
เปอร์เซ็นต์ในยุโรปและ 8 เปอร์เซ็นต์ในอเมริกาเหนือ
สมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งยุโรปรายงานว่า ยอดขายรถยนต์ในเดือนธันวาคมลดลง 16
เปอร์เซ็นต์ในยุโรป ซึ่งเป็นการลดที่ชันที่สุดในรอบสองปีกว่า Continental
Tire รายงานว่าการก่อสร้างโรงงานยางล้อที่เมืองซัมเตอร์ เซาท์ แคโรไลน่า
สหรัฐฯ ดำเนินการเร็วกว่ากำหนด คาดว่าการผลิตยางล้อจะเริ่มต้นในปลายปี 2556
หรือต้นปี 2557 จะมีกำลังการผลิตยางล้อรถบรรทุกเบาและรถโดยสาร 8
ล้านหน่วยในปี 2564 ยานยนต์ ยอดขายยาน
ยนต์ในจีน ซึ่งประกอบด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและรถบัส อาจจะเพิ่มขึ้น 5
เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ และจะไต่ระดับถึง 20 ล้านหน่วย
เนื่องจากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวและรายได้ประชากรสูงขึ้น
ยอดขายยานยนต์ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 4-5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2555 เป็น 19 ล้านหน่วย
จีนควรจะเป็นมหาอำนาจทางด้านยานยนต์
ด้วยการลงทุนเด้านการวิจัยและสนับสนุนการใช้ตราสินค้าจีน
ผู้ผลิตยานยนต์จีนใช้เงินเพียง 2
เปอร์เซ็นต์ของรายได้เพื่อการวิจัยและพัฒนา
รัฐบาลจีนควรสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการวิจัยและการใช้ตราสินค้าท้องถิ่น
อย่างเป็นทางการ ในสหรัฐฯ คาดว่ายอดขายรถยนต์ใหม่จะไต่ระดับถึง 15
ล้านคันในปีนี้ เนื่องมาจากการเติบโตในภาคส่วนรถบรรทุกปิ๊กอัพขนาดใหญ่
และเศรษฐกิจดีขึ้น คาดว่าการซื้อรถยนต์และรถบรรทุกจะเพิ่มขึ้น 6.6
เปอร์เซ็นต์ในปีนี้เป็น 15.3 ล้านคัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 15.8 ล้านคันในปี
2557 และ 16.2 ล้านคันในปี 2555 ตามลำดับ
ภาคยานยนต์จะเป็นภาคส่วนสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
รถโมเดลใหม่ในตลาดสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้น
50 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน ยอดขายยานยนต์ในรัสเซียจะเพิ่มขึ้น 5
เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในระดับต่ำ
แต่ก็ยังถือว่าสูงขึ้นกว่าเดิมท่ามกลางสภาวะวิกฤตหนี้ยุโรปดังในปัจจุบัน
โดยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.9 ล้านคัน เทียบกับ 2.76 ล้านคันในปีก่อน
รถยนต์ต่างประเทศที่ผลิตในรัสเซียจะเป็นตัวผลักดันการเติบโตในปีนี้
ข้อมูลจากสมาคมธุรกิจยุโรปแสดงให้เห็นว่า ยอดขายรถยนต์ในรัสเซียเพิ่มขึ้น
10.6 เปอร์เซ็นต์ในปีก่อน เป็น 2.935 ล้านคัน และในปีนี้
คาดว่ายอดขายรถยนต์จะไต่ระดับถึง 2.95 ล้านหน่วย ในปี 2555
ผลผลิตยานยนต์ในบราซิลลดลง 14 เปอร์เซ็นต์ในเดือนธันวาคมจากเดือนพฤศจิกายน
เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ระงับการผลิตรถยนต์ในช่วงลดภาษีของรัฐบาล โดยรวมแล้ว
ผลผลิตในปี 2555 หดตัว 1.9 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2554 เป็น 3.34 ล้านคัน
ยอดขายรถยนต์ในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 15.3 เปอร์เซ็นต์จากเดือนพฤศจิกายน
เนื่องจากผู้บริโภครีบใช้ประโยชน์จากนโยบายลดภาษีของรัฐบาล
ก่อนที่นโยบายดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในปีนี้ ยอดขายยานยนต์ในยุโรปร่วง
ส่วนการฟื้นตัวในสหรัฐฯ นั้นยังไม่แน่นอน บราซิลและตลาดเกิดใหม่อื่นๆ
จึงเป็นศูนย์กลางการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน
|