E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  มกราคม 2557 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 ตลาดยาง มกราคม 2557


ศุกร์ที่ 3 มกราคม 2557

Dow Jones 16469.99       -8.42

S&P 500 1831.37               -10.03

Nikkei 225 16291.31         +112.37

China CSI 300 2290.78     -12.70

STI 3131.47                          -18.29

HSI 22817.28                       -425.96

KLCI 1834.74                       -26.32

SET 1224.62                         -74.09

JSX 4257.66                         +44.68

==============

EUR        1.3588

JPY         104.86

CNY        6.0517

==============

Oil (WTI) Feb 14 93.96                    -6.36

Brent (ICE) Feb 14 106.89              -5.29

 


ราคายางลดลงในช่วงสัปดาห์ เนื่องจากความกังวลว่าอุปทานมีมากเกินความต้องการ สต็อกยางชิงเต่าเพิ่มขึ้น 8,000 ตัน ทำให้การซื้อยางชะลอตัวลง ราคาน้ำมันลดลง 5-6 ดอลลาร์ เนื่องจากลิเบียเริ่มกลับมาผลิตน้ำมัน ตลาดล่วงหน้าญี่ปุ่นปิดช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ ยอดขายยานพาหนะของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมลดลงเหลือ 11.9 ล้านคัน เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้

 

ศุกร์ที่ 10 มกราคม 2557

Dow Jones 16437.05       -32.94

S&P 500 1842.37               +11.0

Nikkei 225 15912.06         -379.25

China CSI 300 2204.85     -85.93

STI 3143.87                          +12.40

HSI 22846.25                       +28.97

KLCI 1826.61                       -8.13

SET 1255.45                         +30.83

JSX 4254.97                         -2.67

==============

EUR        1.3670

JPY         104.18

CNY        6.0521

==============

Oil (WTI) Feb 14 92.72                    -1.24

Brent (ICE) Feb 14 107.25              +0.36

 


ราคายางลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีความกังวลว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัว และความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์จะอ่อนตัวในปีนี้ ราคายางตกต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี เนื่องจากอุปทานมีมากเกินความต้องการ ทำให้ราคายางได้รับผลกระทบอย่างมาก ราคายางแท่ง TSR20 ในตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556

ราคายางล่วงหน้าตลาดโตเกียวและเซี่ยงไฮ้ปรับตัวลดลง เนื่องจากอารมณ์ตลาดซบเซา และความกังวลนักลงทุนเกี่ยวกับวิกฤตสภาพคล่องในจีน เงิยเยนยังคงอ่อนค่าที่ 104 เยนต่อดอลลาร์ ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ระดับสูงกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในด้านอุปทาน ฤดูยางผลัดใบน่าจะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ ยอดขายยานยนต์ในตลาดใหญ่ที่สุดอย่างจีน แตะระดับ 21.98 ล้านคันในปี 2556 เพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซ็นต์ yoy

 

ศุกร์ที่ 17 มกราคม 2557

Dow Jones 16458.56       +21.51

S&P 500 1838.70               -3.67

Nikkei 225 15734.46         -177.60

China CSI 300 2178.49     -26.36

STI 3147.33                          +3.46

HSI 23133.35                       +287.10

KLCI 1813.01                       -13.60

SET 1295.41                         +39.96

JSX 4412.23                         +157.26

==============

EUR        1.3541

JPY         104.32

CNY        6.0498

==============

Oil (WTI) Feb 14 94.37                    +1.65

Brent (ICE) Feb 14 106.48              -0.77

 

ราคายางร่วงติดต่อกัน 5 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าอุปทานยางจะสูงกว่าความต้องการในปีนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศผู้ซื้อขนาดใหญ่สุดอย่างจีน ส่งสัญญาณเสี่ยงชะลอตัว สต็อกยางเพิ่มขึ้น 10,657 ตันที่เซี่ยงไฮ้ และ 13,000 ตันที่ชิงเต่า ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง

 

ศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557

Dow Jones 15879.11       -579.45

S&P 500 1790.29               -48.41

Nikkei 225 15391.56         -342.90

China CSI 300 2245.68     +67.19

STI 3075.99                          -71.34

HSI 22450.06                       -683.29

KLCI 1802.57                       -10.44

SET 1314.63                         +19.22

JSX 4437.34                         +25.11

==============

EUR        1.3678

JPY         102.31

CNY        6.0484

==============

Oil (WTI) Mar 14 96.64                    +2.05

Brent (ICE) Mar 14 107.88             +1.40

 

ราคายางลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี เนื่องจากอุปสงค์อ่อนตัวอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลง หลังจากที่ธนาคาร HSBC รายงานตัวเลขดัชนี PMI ในเดือนมกราคม ตลาดเกิดใหม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศปรับลดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้มีการเทขายในตลาดหุ้นทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อตลาดโภคภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ราคาน้ำมันยังอยู่ในแดนบวก อุปทานน้ำมันลดลง เนื่องจากอากาศหนาวมากในอเมริกาเหนือ

=================================

การผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออก

=================================

 

กรมศุลกากรจีนรายงานว่า ในเดือนธันวาคม จีนนำเข้ายางธรรมชาติ 350,000 ตัน เพิ่มขึ้น 29.6% จาก 270,000 ตัน yoy โดยรวมแล้ว ตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนธันวาคม จีนนำเข้ายางจำนวนทั้งสิ้น 2,470,000 ตัน เพิ่มขึ้น 13.5% yoy

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดการณ์ว่า ผลผลิตยางของไทยในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 4.3 เปอร์เซ็นต์เป็น 4.03 ล้านคัน พื้นที่เพาะปลูกจะเพิ่มขึ้นเป็น 15.8 ล้านไร่ จาก 11.6 ล้านไรในปี 2552 อุปสงค์ยางของโลกจะขยายตัวเป็น 3.1 เปอร์เซ็นต์เป็น 11.6 ล้านตันในปีนี้ ลดลง 4.1 เปอร์เซ็นต์ จากที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าในเดือนกันยายน 2556 ยางส่วนเกินในปีนี้จะไต่ระดับถึง 366,000 ตัน

สมาคมยางญี่ปุ่นรายงานว่า สต็อกยางดิบ ณ ท่าเรือญี่ปุ่น วันที่ 10 มกราคม 2557 เพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลา 10 วัน แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ที่ 13,164 ตัน นับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2556 ที่ระดับ 13,209 ตัน

อุสาหกรรมยางในสหรัฐฯ ส่งสัญญาณการฟื้นตัวดุลการค้ายางในช่วงครึ่งแรกปี 2556 การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในช่วงดังกล่าวลดลง 1.5 เปอร์เซ็นต์ การนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางลดลง 2.2 เปอร์เซ็นต์ โดยรวมแล้ว อัตราการนำเข้ายังคงมากกว่าการส่งออกถึง 2 เท่า ที่ 10.8 พันล้านดอลลาร์ และ 5.31 พันล้านดอลลาร์ตามลำดับ ในส่วนของภาคยางล้อและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การส่งออกลดลง 2.9 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การนำเข้าลดลง 3.2 เปอร์เซ็นต์ การขาดดุลในภาคยางล้อรถยนต์เพิ่มขึ้น 5.3 เปอร์เซ็นต์ แต่ยางล้อรถบัสและรถบรรทุกขาดดุลลดลง 12.1 เปอร์เซ็นต์

=======

ยางล้อ

=======

ยางล้อรถบัสและรถบรรทุกที่ผลิต ณ โรงงานมิเชอลิน เมืองเชนไน ประเทศอินเดีย จะเริ่มออกสู่ตลาดอินเดียในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดย 4 ใน 6 สายการผลิตเริ่มมีการดำเนินการแล้ว และผลผลิตยางล้อรถบัสและรถบรรทุกต่อวัน อยู่ที่ 250 หน่วย ผลผลิตยางล้อเรเดียลสำหรับรถบัสและรถบรรทุก ณ ปัจจุบัน คิดเป็น 1 ใน 3 ของกำลังผลผลิตสูงสุดต่อปีที่ 300,000 หน่วย มิเชอลินเชื่อมั่นว่า ตลาดอินเดียมีศักยภาพ เนื่องจากอุปสงค์ยางล้อเรเดียลสำหรับรถบรรทุกเริ่มเติบโต

 

โยกาฮาม่า รับเบอร์ จำกัด กำลังก่อสร้างโรงงานยางล้อรถยนต์ ณ เมืองซูโจว ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองหางโจว ที่ตั้งโรงงานแห่งแรกในจีนของโยโกฮาม่า ด้วยงบลงทุน 253 ล้านดอลลาร์ และจะเริ่มดำเนินการผลิตในเดือนเมษายน 2557 เพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดจีน ทั้งยางล้อ OE และยางล้อทดแทน ด้วยกำลังการผลิตยางล้อ 6 ล้านหน่วยต่อปี

TechSci Research คาดว่า มูลค่าตลาดยางล้อในเม็กซิโกจะแตะระดับ 8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2561 เนื่องจากชาวเม็กซิกันที่มีรถยนต์ใช้ยังมีจำนวนน้อย โดยใน 1,000 คน มีรถยนต์ขับแค่เพียง 275 คน เม็กซิโกจึงเป็นตลาดยานยนต์ที่มีศักยภาพสูงมาก ในช่วงปี 2552-2555 รายได้จากภาคยางล้อในเม็กซิโกเติบโต 19 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เนื่องจากยอดขายรถยนต์และรถบรรทุกเติบโตอย่างมาก เม็กซิโกเป็นประเทศที่มีรถบัสและรถบรรทุกมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ เม็กซิโกได้ลงนามความร่วมมือเขตการค้าเสรีกับ 44 ประเทศ

=========

ยานยนต์

=========

ในปี 2556 จีนเป็นประเทศแรกที่มียอดขายยานพาหนะในประเทศเกิน 20 ล้านคัน ในปีนี้ ยอดขายจะเพิ่มขึ้นมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่เติบโต 14 เปอร์เซ็นต์ในปีก่อน ยอดขายรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกแตะระดับ 21.98 ล้านคันในปี 2556

ในสหรัฐฯ ยอดขายรถยนต์รวมทั้งสิ้นในปี 2556 อยู่ที่ 15.6 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 7.6 เปอร์เซ็นต์ yoy ยอดขายในปี 2556 สูงกว่ายอดขายในปี 2552 (ซึ่งเป็นปีที่ยอดขายลดลงต่ำสุด ที่ 10.4 ล้านคัน) ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ปี 2556 เป็นปีที่มียอดขายทั้งปีดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่ยอดขายแตะระดับ 16.1 ล้านคัน นักวิเคราะห์หลายท่านคาดการณ์ว่า ในปี 2557 ยอดขายรถยนต์ในสหรัฐฯจะอยู่ระหว่าง 16 – 16.5 ล้านคัน โดยปัจจัยหลัก คือ เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ดูได้จากอัตราการจ้างงานและการซื้อที่อยู่อาศัย

ยอดขายยานยนต์ประจำปี 2556 ในญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ เป็น 5.38 ล้านคัน สมาคมผู้ค้ายานยนต์ญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า ยอดขายยานยนต์ในญี่ปุ่นช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ จะเติบโตต่อเนื่อง แต่อาจจะลดลงหลังเดือนเมษายน เนื่องจากรัฐบาลจะเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจาก 5 เปอร์เซ็นต์เป็น 8 เปอร์เซ็นต์

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com