E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  กันยายน 2565 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 รายงานสถานการณ์ยางธรรมชาติ ประจำเดือนกันยายน 2565

การเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัวและทวีความรุนแรงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่ยังคงสร้างความไม่แน่นอนและความเครียดทางการเงิน ได้แก่ นโยบายปลอดโควิด-19 (Zero Covid-19 Policy), สงครามในยูเครนและการแลกเปลี่ยนระหว่างการจัดการหนี้สาธารณะกับเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค (the trade-off between public debt management and macroeconomic stability) นโยบายการเงินที่เฉียบขาด โดยเฉพาะจากธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางสหรัฐได้ทำให้สกุลเงินของตลาดเกิดใหม่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทั่วโลกจะชะลอตัวในระดับ 3% และ 2.2% ในปี 2565 และปี 2566 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อได้กลายเป็นเรื่องกว้างในหลายประเทศ นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นและการผ่อนคลายคอขวดของอุปทานน่าจะช่วยกดดันเงินเฟ้อในปีหน้า แต่ราคาพลังงานที่สูงขึ้นและค่าแรงที่สูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะชะลอการลดลง โดยล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ (22 ก.ย. 2565 ณ 01.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) อีก 0.75% ต่อเนื่องเป็นครั้งที่สาม ทำให้อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 3.00-3.25% หลังการประชุม ส่วนทิศทางของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามแรงส่งของภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 และ 3.8 ในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 และ 2.6 ตามลำดับ ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับสูงจากการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงินได้รายงานผลการประชุม ครั้งที่ 5/2565 โดยคณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของไทย (Thailand Industrial Sentiment Index: TISI) เดือนสิงหาคม 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 89.0 เป็น 90.5 เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวส่งสัญญาณที่ดีขึ้นหลังยกเลิก Thailand Pass แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเผชิญปัญหาการขาดแคลนชิป ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบ และโลจิสติกส์ ปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าว ซึ่งอยากเสนอให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนสิงหาคม 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.3 จากระดับ 45.5 ในเดือนก่อนหน้า

สรุปภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนสิงหาคม 2565 ส่งออกมูลค่า 861,169.17 ล้านบาท (23,632.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2564 ร้อยละ 20.38 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาร้อยละ 3.88 ขณะที่นำเข้ามูลค่า 1,026,653.52 ล้านบาท (27,848.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2564 ร้อยละ 35.47 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาร้อยละ 5.96 ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 165,484.35 ล้านบาท (อ้างอิง: กระทรวงพาณิชย์ *ข้อมูล ปี 2565 เป็นข้อมูลเบื้องต้น)
สำหรับดัชนีภาคการผลิต (S&P Global US Manufacturing PMI (PMI)) เดือนกันยายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 52.0 จากระดับ 51.5 ในเดือนสิงหาคม 2565 เนื่องด้วยความต้องการสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันดัชนี PMI สำหรับภาคการผลิตในประเทศไทยในเดือนกันยายน 2565 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.7 จากระดับ 53.7 ในเดือนสิงหาคม 2565 สภาวะของภาคการผลิตในประเทศไทยมีการปรับตัวดีขึ้น เป็นผลมาจากประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น สภาวะอุปสงค์ที่แข็งแกร่งขึ้น และคำสั่งซื้อสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

พลังงาน (น้ำมัน) : สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2565 ปรับตัวลดลงกว่า 1.8 แสนบาร์เรล ภาพรวมราคาน้ำมันดิบมีการปรับลดลง เนื่องจากตลาดยังคงกังวลเศรษฐกิจถดถอยและชะลอตัว หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ส่งสัญญาณเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง และได้รับแรงหนุนจากเงินดอลล่าสหรัฐฯ ที่ปรับตัวอ่อนค่าลง ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบมีราคาถูกลง โดยมีการคาดการณ์กลุ่ม OPEC+ ที่มีแนวโน้มจะปรับลดกำลังการผลิตลง อย่างไรต้องรอติดตามผลการประชุมอีกครั้ง ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 79.49 และ 87.96 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ

ยางพารา: ในเดือนกันยายน 2565 ราคายาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลาเฉลี่ยนั้น ภาพรวมปรับตัวย่อตัวลงมาเล็กน้อยลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ส่วนราคายางตลาดล่วงหน้าโตเกียวย่อลงมาปรับฐานเล็กน้อย อุปทานยางพาราคาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล แต่เนื่องด้วยสภาพอากาศที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ อาจทำให้ผลผลิตปรับตัวลดลง เงินเฟ้อและต้นทุนการผลิตยังสูงอยู่ การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) กดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ อุปสงค์ในต่างประเทศที่ลดลง ผู้ซื้อยางล้อจากต่างประเทศชะลอหรือเลื่อนการรับมอบสินค้ายางพารา ปัญหาค่าระวางเรือยังคงสูงอยู่ ไทยมีปริมาณส่งออกยางธรรมชาติ 433,699.16 ตัน สร้างมูลค่าการส่งออก 2.54 หมื่นล้านบาท ส่วนยางล้อในเดือนเดียวกันนี้ ไทยส่งออกยางล้อ 10.6 ล้านเส้น สร้างมูลค่าการส่งออก 2.67 หมื่นล้านบาท

กลุ่มยานยนต์: จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนสิงหาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 171,731 คัน เพิ่มขึ้น 20.13% จากเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2564 ร้อยละ 64.90% โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออกจำนวน 83,398 คัน (48.56% ของยอดผลิตทั้งหมด) ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเดือนสิงหาคม 2565 จำนวน 88,333 คัน (51.44% ของยอดการผลิตทั้งหมด) ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนสิงหาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 68,208 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2565 ร้อยละ 6.52 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 61.70 เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีรถยนต์รุ่นใหม่ และการได้รับชิ้นส่วนมากขึ้นในรถยนต์บางรุ่นและการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้สะดวกขึ้น


หมายเหตุ: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งได้นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผล ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสมาคมยางพาราไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com