ตลาดยาง มิถุนายน 2556
ศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2556 ↑Dow Jones 15,248.10 (+132.50) ↑S&P 500 1,643.38 (+12.64)
↓STI 3,184.72 (-126.65)
↓HSI 21,575.26 (-816.90)
↑KLCI 1,775.59 (+6.37)
↓SET 1,516.24 (-45.83)
↓JSX 4,865.32 (-203.31)
↓Japan NK 12,877.53 (-897.01)
↓India Sensex 19,429.23 (-331.07)
↓China CSI 2,484.16 (-122.27)
↓Korea 1,923.85 (-77.20)
↓Taiwan 8,095.20 (-159.60)
↑VSE 527.97 (+9.58)
↓PSE 6,701.95 (-320.0)
↑Oil (WTI) July 96.03 (+4.06)
↑Brent (ICE) Jun 104.56 (+1.49)
EUR 1.3218
JPY 97.56
เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตอย่างต่อเนื่อง การจ้างงานในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น ยอด
ขายรถจักรยานยนต์ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 15.3 ล้านคัน
เศรษฐกิจจีนชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.1
เปอร์เซ็นต์ในเดือนพฤษภาคม
ราคา
ยางปิดทั้งบวกและลบ
เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลในเรื่องอุปสงค์และอุปทานอ่อนตัว
และเงินเยนแข็งค่า ส่งผลให้การซื้อขายในตลาดญี่ปุ่นมีความตึงเครียด
ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2556
↓Dow Jones 15,070.20 (-177.90)
↓S&P 500 1,626.73 (-16.65)
↓STI 3,161.43 (-23.29)
↓HSI 20,969.14 (-606.12)
↓KLCI 1,762.19 (-13.4)
↓SET 1,465.27 (-50.97)
↓JSX 4,760.75 (-104.57)
↓Japan NK 12,686.52 (-191.01)
↓India Sensex 19,177.93 (-251.3)
↓China CSI 2,416.77 (-67.39)
↓Korea 1,889.24 (-34.61)
↓Taiwan 7,937.74 (-157.46)
↓VSE 509.03 (-18.94)
↓PSE 6,242.26 (-459.69)
↑Oil (WTI) July 13 97.85 (+1.82)
↑Brent (ICE) Aug 105.93 (+1.56)
EUR 1.3347
JPY 94.31
ตลาด
หุ้นและโภคภัณฑ์ทั่วโลกอยู่ในช่วงขาลง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ
ประกาศลดการซื้อขายพันธบัตรในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทำให้ความมั่นใจนักลงทุนลดลง และทำให้เงินเยนและยูโรแข็งค่าขึ้นต่อดอลลาร์
ส่งผลให้ราคายางธรรมชาติในตลาดท้องถิ่นและตลาดล่วงหน้าปรับตัวลดลง
ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า NYMEX ปรับตัวสูงขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2556 และอุปทานยางจากไทยไม่เพิ่มขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากพายุเข้าทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยอดขายยานยนต์เพิ่มขึ้น 9.88 เปอร์เซ็นต์ในจีนและ 8.24% ในสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม
ศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2556 ↓Dow Jones 14,799.40 (-270.80) ↓S&P 500 1,592.43 (-34.30)
↓STI 3,124.45 (-36.98)
↓HSI 20,263.30 (-705.84)
↓KLCI 1,755.85 (-6.34)
↓SET 1,400.50 (-64.77)
↓JSX 4,515.37 (-245.38)
↓Japan NK 13,230.10 (-543.58)
↓India Sensex 18,774.24 (-403.69)
↓China CSI 2,317.39 (-99.38)
↓Korea 1,822.83 (-66.41)
↓Taiwan 7,793.31 (-144.43)
↓VSE 498.84 (-10.19)
↓PSE 6,182.17 (-60.09)
↓Oil (WTI) Aug 93.69 (-4.38)
↓Brent (ICE) Aug 100.91 (-5.02)
EUR 1.3122
JPY 97.90
ธนาคาร
กลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกลางปี 2557
และลดการซื้อพันธบัตร เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ดัชนี PMI ของจีนหดตัวต่ำสุดในรอบ 9 เดือนในเดือนมิถุนายน
ราคายางแท่ง 20 แตะระดับต่ำในรอบ 4 ปี ในขณะที่ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ขยับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเงินเยนอ่อนค่าต่อดอลลาร์
ศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556
↑Dow Jones 14,909.60 (+110.20)
↑S&P 500 1,606.28 (+13.85)
↑STI 3,150.44 (+25.99)
↑HSI 20,803.29 (+539.99)
↑KLCI 1,773.54 (+17.69)
↑SET 1,451.90 (+51.4)
↑JSX 4,818.90 (+303.53)
↑Japan NK 13,677.32 (+621.57)
↑India Sensex 19,395.81 (+621.57)
↓China CSI 2,200.64 (-116.75)
↑Korea 1,863.32 (+40.49)
↑Taiwan 8,062.21 (+268.90)
↓VSE 481.13 (-17.71)
↑PSE 6,465.28 (+283.11
↑Oil (WTI) Aug 96.56 (+2.87)
↑Brent (ICE) Aug 102.16 (+1.25)
EUR 1.3010
JPY 99.14
GDP ของ
สหรัฐฯ ในไตรมาส 1/2556 ปรับลดลงเหลือ 1.8 เปอร์เซ็นต์
จากที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 2.4 เปอร์เซ็นต์
ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจีน
และตลาดยางล้อที่อ่อนตัวในยุโรปทำให้ราคายางล่วงหน้ายังคงตกต่ำ
ถึงแม้สต็อกยางในชิงเต่าและเซี่ยงไฮ้เริ่มลดลงบ้างแล้ว
เนื่องจีนเริ่มซื้อยางมากขึ้น ทำให้ตลาดยางท้องถิ่นมีความคึกคักมากขึ้น
การผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออก
อินเดียใช้ยางธรรมชาติลดลง 1.5 เปอร์เซ็นต์ yoy ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม จาก 167,440 ตันในปีก่อน เป็น 165,000 ตัน ในขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้น 1.2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 112,000 ตัน จาก 110,700 ตัน สาเหตุเนื่องมาจากการผลิตยางล้อชะลอตัวในปีงบประมาณก่อน ทำให้การใช้ยางลดลง
ในอินเดีย อุปทานยางธรรมชาติในประเทศมีความตึงตัวมาก เนื่องจากไม่มีการผลิตติดต่อกัน 19 วันในเดือน พฤษภาคม สต็อกปลายเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ประมาณ 235,000 ตัน อินเดียอาจจะนำเข้ายางเพิ่มขึ้นเป็น 225,000 – 230,000 ตัน ในขณะที่ ANRPC คาดว่าอินเดียจะนำเข้ายาง 183,000 ตันในปีนี้ โดยในปีก่อน อินเดียนำเข้า 250,300 ตัน
ในประเทศจีน
ผู้บริโภคซื้อยางโดยตรงจากชิงเต่า ซึ่งราคายางถูกกว่าต่างประเทศ
และมีการชดเชยสต็อกอยู่เรื่อยๆ จึงทำให้สต็อกยางชิงเต่าไม่ค่อยลดน้อยลง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ สต็อกยางธรรมชาติ ณ ท่าเรือชิงเต่าลดลง 6,200
ตัน เหลือ 184,500 ตัน ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2556
RCMA Commodities Asia Group รายงานว่า อุปทานยางธรรมชาติของโลกมีมากเกินอุปสงค์ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปีแล้ว กอปรกับผู้ส่งออกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเลิกการจำกัดการส่งออก ในปีนี้ ส่วนเกินยางธรรมชาติจะเพิ่มขึ้น 57 เปอร์เซ็นต์เป็น 490,000 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของสหรัฐฯ ในช่วงเวลา 6 เดือน
ANRPC รายงานว่า จีนจะนำเข้ายางลดลง 14 เปอร์เซ็นต์ yoy ใน 7 เดือนหลังของปี 2556 การซื้อยางเริ่มมีความชะลอตัว หลังจากการส่งออกเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด 27 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 เดือน
แรกของปีนี้ อุปสงค์ยางล้อรถยนต์ในจีนจะเพิ่มขึ้น
แต่อุปสงค์ยางล้อรถบรรทุกขนาดใหญ่จะชะลอตัว
เนื่องจากรัฐบาลหันมาเน้นอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนการบริโภค
แทนอุตสาหกรรมหนัก
สมาคมค้ายางญี่ปุ่นรายงานว่า สต็อกยางดิบ ณ ท่าเรือญี่ปุ่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ลดลง 654 ตันในช่วงเวลา 11 วัน เหลือ 14,244 ตัน โดยสต็อกยางดิบ ณ วันที่ 30 เมษายน 2556 สูงกว่าระดับปกติที่ 16,000 ตันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2550 ซึ่งสต็อกยางอยู่ที่ 16,717 ตัน
ยางล้อ บริจสโตนมีแผนสร้างโรงงานยางล้อแห่งแรกในรัสเซีย ณ เมือง Ulynovsk ในปัจจุบัน บริจสโตนมีโรงงานยางล้อ 48 แห่งใน 20 ประเทศ
รัสเซียก้าวเข้ามาเป็นตลาดยางล้อคุณภาพที่มีราคาแพงมากขึ้น
เนื่องจากมีจำนวนรถยนต์เพิ่มมากขึ้น และราคาก็แพงขึ้นด้วยเช่นกัน
สถานการณ์ต่างๆ ในรัสเซียเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ข้อจำกัดต่างๆ เริ่มลดลง ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อประสานงานกับภาครัฐ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
บริจสโตนใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ทั้งสิ้น 450,000 ตันในไตรมาส 1/2556 ลดลง 4.3 เปอร์เซ็นต์ yoy เนื่องจากอุปสงค์จากญี่ปุ่นและสหรัฐฯ อ่อนตัวลง บริจสโตนคาดว่าจะใช้ยาง 1.93 ล้านตันในปีนี้
Apollo Tyres ตกลงจ่าย 2.5 พันล้านดอลลาร์ ซื้อกิจการของ Cooper Tire & Rubber เพื่อเข้าสู่ตลาดยานยนต์สหรัฐฯ และขายโอนกิจการในแอฟริกาใต้ให้กับ Sumitomo Rubber Industries Ltd. เพื่อชดเชยอุปสงค์ยานยนต์ที่ชะลอตัวในอินเดียและยุโรป
มิเชอลินมีแผนลงทุน 1.06 พันล้านดอลลาร์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพื่อการวิจัยและพัฒนาในช่วงปี 2556 - 2562 มิเชอลินจะเพิ่มผลผลิตยางล้อรถบรรทุก 2 เท่า จาก 800,000 หน่วย เป็น 1.6 ล้านหน่วยต่อปีในปี 2562 ณ โรงงานที่เมือง La Roche-sur-Yon ประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ มิเชอลินมีแผนยกเลิกการผลิตในประเทศอัลจีเรีย
ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร
-->
|