E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  กรกฏาคม 2563 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 รายงานสถานการณ์ยางธรรมชาติ ประจำเดือนกรกฎาคม 2563

ในเดือนกรกฎาคมราคายางมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ในทิศทางเดียวกันกับตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ตลาดกลางยางพาราสงขลา เดือนกรกฎาคม 2563 อยู่ที่กิโลกรัมละ 43.90 เพิ่มขึ้น (+2.25%) จาก 42.93 บาท/กิโลกรัมในเดือนมิถุนายน 2563

ในช่วงเดือนกรกฎาคม ปริมาณและราคายางมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในกรอบแคบๆ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID–19) ที่ขยายการแพร่ระบาดไปทั่วโลกส่งผลให้แต่ละประเทศตระหนักถึงมาตรการการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรค COVID–19 หลายประเทศ จึงมีความต้องการใช้ถุงมือยางมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะถุงมือยางที่ใช้ทางการแพทย์ สำหรับไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกถุงมือยางทางการแพทย์เป็นอันดับสองของโลก รองจากประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันถุงมือยางของประเทศไทยเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลายในทั่วโลก ทำให้เกิดผลกระทบด้านกำลังการผลิตและการส่งออก ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสมาคมยางพาราไทยและการยางแห่งประเทศไทย ได้ตระหนักและทราบถึงประเด็นดังกล่าว ที่อาจเกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียง ตลอดจนความเชื่อมั่นที่มีต่อนักลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2563 นี้ ยังคงประเมินว่ามีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ในไทยและการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก ภาคการส่งออกสินค้าเริ่มฟื้นตัวแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องด้วยการผ่อนคลายมาตรการในประเทศ และมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศผ่านมาตรการต่างๆ แต่นักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงต้องติดตามนโยบายการผ่อนคลาย และการเปิดประเทศต่อไป ซึ่งจะใช้เวลาฟื้นตัวนาน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นบ้าง แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ประเมินว่ายังมีแนวโน้มติดลบในปี 2563 ล่าสุดผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563 คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยมีผลทันที ทั้งนี้ กระทรวงการคลังประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ ที่ร้อยละ 4.0 ถึง 5.0 ในปี 2564 และจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมที่ดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม เพื่อดูแลเศรษฐกิจไทยอย่างทันท่วงทีเมื่อสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป

สรุปโดยภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย ในเดือนมิถุนายน 2563 ส่งออกมูลค่า 520,608.01 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2562 ร้อยละ 23.06 และลดลงจากเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาร้อยละ 0.76 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 16,444.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2562 ร้อยละ 23.17 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 1.02 ในช่วงมกราคม–มิถุนายน ปี 2563 ส่งออกมูลค่า 3,562,327.92 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ร้อยละ 8.29 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่งออกมูลค่า 114,342.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.09...(อ้างอิง: กระทรวงพาณิชย์)

สำหรับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 50.9 (+2.21%) ในเดือนกรกฎาคม 2563 จากระดับ 49.8 ในเดือนมิถุนายน 2563 และดัชนี PMI สำหรับภาคการผลิตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 43.5 ในเดือนมิถุนายน 2563 มาอยู่ที่ 45.9 (+5.46%) ในเดือนกรกฎาคม 2563
 
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2563 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์อยู่ที่ระดับ 40.27 และ 43.30 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ หลังได้รับแรงหนุนจากค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง โดยลดลงมากกว่า 4% ในเดือน ก.ค. 63เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 24 ก.ค. 63 ปรับตัวลดลงกว่า 10.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 526 ล้านบาร์เรล การลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรยังคงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ และทั่วโลกปรับลดลง

ในเดือนมิถุนายน 2563 ไทยส่งออกยางธรรมชาติ 338,652.99 ตัน เพิ่มขึ้น 1.24 เปอร์เซ็นต์จากเดือนพฤษภาคม 2563 เพิ่มขึ้น 3.81 เปอร์เซ็นต์ yoy สร้างมูลค่าการส่งออก 1.34 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.94 เปอร์เซ็นต์จากเดือนพฤษภาคม 2563 ลดลง 13.37 เปอร์เซ็นต์ yoy สำหรับภาคยางล้อ ในเดือนมิถุนายน 2563 ไทยส่งออกยางล้อรวมทั้งสิ้น 10.56 ล้านเส้น ลดลง 8.41 เปอร์เซ็นต์ yoy สร้างมูลค่าการส่งออก 1.22 หมื่นล้านบาท ลดลง 21.51 เปอร์เซ็นต์ yoy รถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมิถุนายน 2563 มีทั้งสิ้น 71,704 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2562 ร้อยละ 58.52 จากการผลิตเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 49.19 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 67.39 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2563 ร้อยละ 27.96 เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่วนใหญ่กลับมาเปิดทำการ และโรงงานเริ่มเปิดสายการผลิตรถยนต์ ส่วนจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 606,132 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2562 ร้อยละ 43.14






หมายเหตุ: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งได้นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผล ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสมาคมยางพาราไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com