E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  ตุลาคม 2567 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 รายงานสถานการณ์ยางธรรมชาติ ประจำเดือนตุลาคม 2567

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขยายตัวภายใต้ความไม่แน่นอนด้านนโยบายหลังการเลือกตั้ง ด้านเศรษฐกิจจีนกระเตื้องขึ้นอานิสงส์จากมาตรการความไม่แน่นอนด้านนโยบายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณบวกมากขึ้น หลังรัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ความเสี่ยงจากสงครามการค้ายังเป็นแรงกดดันสำคัญ หากสหรัฐฯ ใช้นโยบายของ Trump โดยขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน อาจทำให้การส่งออกและ GDP ของจีนลดลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิต(Manufacturing Purchasing Manager Index (PMI)) เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 48.5 จาก 47.3 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม 98.7 ในเดือนกันยายน 2567 เป็น 108.7 ในเดือนตุลาคม 2567 เนื่องจากปัจจัยด้านสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศโดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และภาคการส่งออกสินค้า และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี แม้จะเผชิญแรงกดดันต่อเศรษฐกิจจากสถานการณ์อุทกภัย กระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567 คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที ซึ่งคาดว่าช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ส่วนภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) (เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) สูงขึ้นร้อยละ 0.77 (YoY) ทรงตัวเท่ากับเดือนกันยายน 2567 และในส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนั้น (Headline Inflation) เดือนตุลาคม 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.83 (YoY) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากประเด็นสําคัญหลักของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยนที่ยังผันผวน และสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนตุลาคม 2567 ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.9 จากระดับ 51.6 ในเดือนก่อนหน้าอีกด้วย

สรุปภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนตุลาคม 2567 ส่งออกมูลค่า 27,222.05 ล้านเหรียญสหรัฐ (896,735.19 ล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ขณะที่นำเข้ามีมูลค่า 28,016.40 ล้านเหรียญสหรัฐ (934,699.90 ล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.88 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 794.35 ล้านเหรียญสหรัฐ (ขาดดุล 37,964.71 ล้านบาท) (อ้างอิง: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ *ข้อมูลเบื้องต้น ปี 2567

พลังงาน (น้ำมัน) : สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ปรับลดลง 0.5 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 425.5 ล้านบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังมีรายงานว่าโอเปกพลัสอาจพิจารณาเลื่อนแผนการปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันออกไป อีกทั้งตลาดจับตาการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน 67 หลังสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ (The Conference Board: CB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นจาก 99.2 ในเดือนกันยายน 2567 เป็น 108.7 ในเดือนตุลาคม 2567 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 68.61 และ 72.55เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

ยางพารา: ในเดือนตุลาคม 2567 ราคายาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา ราคายางภายในประเทศภาพรวมมีการปรับตัวสอดคล้องกับราคาตลาดล่วงหน้าต่างประเทศโดย ราคายางในตลาดสิงคโปร์ (SICOM) ราคาเฉลี่ย 199.63 เซนต์ต่อกิโลกรัม โดยสภาพอากาศของไทยมีความชื้นสูงขึ้นเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายของเชื้อราทำให้โอกาสในการเกิดโรคใบร่วงชนิดใหม่มีมากขึ้น จึงส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐฯ ผลกระทบที่อาจจะตามมาภายหลังการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา รวมถึงความคืบหน้าของมาตรการ EUDR ต่อไป

กลุ่มยานยนต์: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนตุลาคม 2567 มีทั้งสิ้น 118,842 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 25.13 ผลิตเพื่อส่งออกในเดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ 87,741 คัน เท่ากับร้อยละ 73.83 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 7.0 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศในเดือนกันยายน 2567 จำนวน 31,101 คัน เท่ากับร้อยละ 26.17 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนกันยายน 2566 ร้อยละ 51.70 ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนตุลาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 37,691 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2567 ร้อยละ 36.08


หมายเหตุ: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งได้นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผล ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสมาคมยางพาราไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com