E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  กุมภาพันธ์ 2556 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 ตลาดยาง กุมภาพันธ์ 2556

ศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่อยู่ในแดนบวกตลอดสัปดาห์ เนื่องจากตราสารทุนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นท่ามกลางเงินเยนอ่อนค่า ผลกำไรภาคอุตสาหกรรมของจีนสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ดัชนีหุ้นยุโรปปิดทั้งบวกและลบ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสเปนหดตัวในไตรมาส 4/2553 แต่การจ้างงานที่ดีกว่าที่คาดไว้ของสหรัฐฯ และดัชนี PMI ในภาคการผลิตของยูโรโซนมีการปรับตัวดีขึ้น หุ้นดาวน์โจนส์อยู่ในแดนบวกท่ามกลางความผันผวนเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะซื้อหลักทรัพย์ในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และจะให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับใกล้ศูนย์ ตราบเท่าที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 6.5 เปอร์เซ็นต์ และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.5 เปอร์เซ็นต์เป็นอย่างสูง เงินยูโรอยู่ที่ 1.3639 ดอลลาร์ ดอลลาร์อยู่ที่ 92.72 เยน ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบ ณ ตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ 97.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ราคายาง ณ ตลาดโตเกียวปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ และทรงตัวที่ 350.79 เซ็นต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เนื่องจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น และเงินเยนอ่อนค่าต่อดอลลาร์ นักลงทุนหันมาถือยาว เพื่อรอจังหวะราคายางล่วงหน้าสูงขึ้นในช่วงตรุษจีนและหลังตรุษจีน ผู้ซื้อจีนต้องการเก็บสต็อกยางให้มากที่สุด เพื่อรอจังหวะที่อุปทานยางตึงตัว เนื่องจากยางจะผลัดใบจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ทำให้หุ้นเซี่ยงไฮ้ไต่ระดับสูงขึ้นตลอดสัปดาห์

ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556

ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชียอยู่ในแดนลบ เนื่องจากเงินเยนแข็งค่าต่อดอลลาร์ โดยมีสาเหตุจากผู้ลงทุนมีความกังวลต่อผลการประชุม G-20 ในขณะที่ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ปิดทำการตลอดสัปดาห์ ดัชนีหุ้นยุโรป Stoxx Europe 600 มีความผันผวนในกรอบแคบๆ ก่อนที่จะปิดบวก ถึงแม้จะมีรายงานว่าการเติบโต GDP ของยูโรโซนหดตัวในไตรมาสที่ 4/2555 เงินยูโรอยู่ที่ 1.3362 ดอลลาร์ เงินดอลลาร์อยู่ที่ 93.48 เยน ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบ ณ ตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ 95.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตลาดยางในเอเชียซบเซาตลอดสัปดาห์ เนื่องจากผู้ค้าจีนหยุดฉลองตรุษจีนเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์เต็ม

เนื่องจากเงินเยนแข็งค่าขึ้นและรายงานการเติบโต GDP ของยูโรโซนหดตัว ทำให้นักลงทุนเทขาย ราคายางธรรมชาติจึงลดลงทั้งในตลาดท้องถิ่นและตลาดล่วงหน้า อุปทานยางธรรมชาติตึงตัวในประเทศผู้ผลิตหลัก ช่วยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง

ศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556

ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชียปิดลบเล็กน้อย ท่ามกลางข่าวร้ายเกี่ยวกับตลาดหุ้นของโลก หุ้นยุโรปปิดบวกเป็นสัปดาห์แรก เนื่องจากรายได้ดีกว่าที่คาดไว้ และมาตรการความมั่นใจของเยอรมนี หุ้นสหรัฐปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะผ่อนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินยูโรอยู่ที่ 1.3188 ดอลลาร์ เงินดอลลาร์อยู่ที่ 93.38 เยน ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบ ณ ตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ 93.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ราคายางในเอเชียลดลงอย่างมาก เมื่อนักลงทุนในตลาดโตเกียวขายหุ้นเพื่อเก็งกำไร และตัดขาดทุน (cut loss) อย่างหนัก เนื่องจากมีการเทขายอย่างหนักในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของโลก ถึงแม้ว่าเงินเยนจะขึ้นๆ ลงๆในช่วง 93.10 – 93.85 เยนต่อดอลลาร์ ทำให้ราคายางธรรมชาติลดลง

การผลิตการใช้ การนำเข้า และการส่งออก

Harrisons Malayalamประเทศอินเดีย มีแผนเช่าพื้นที่เพาะปลูกยางธรรมชาติ 4,000 – 5,000 เฮ็กตาร์ในประเทศกาน่า โดยจะลงทุน 65 ล้านดอลลาร์ ผลผลิตต่อไร่จะอยู่ที่ 1,800 กิโลกรัมต่อปี

ในอินเดีย ผู้นำเข้ายางธรรมชาติเรียกร้องให้มีการลดภาษีศุลกากรเหลือ 7.5 เปอร์เซ็นต์หรือ 10 รูปีต่อกิโลกรัม จากเดิมที่ 20 เปอร์เซ็นต์หรือ 20 รูปีต่อกิโลกรัม ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าสำเร็จรูปและผู้ผลิตในกิจการขนาดย่อมและขนาด กลาง จีนได้ลดภาษีนำเข้ายางธรรมชาติไปแล้วสูงสุดที่ 1,600 หยวน มาเป็น 1,200 หยวน ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 อินเดียจึงต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ส่วนต่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานยางธรรมชาติจะอยู่ที่ 1.5 แสนตันในปี 2556 – 2557 อินเดียจึงมีความจำเป็นต้องลดภาษีนำเข้า

ในปีนี้ ตลาดยางธรรมชาติในอินเดียจะซบเซา เนื่องจากผลผลิตสูงขึ้นแต่การใช้ยางลดลง ราคายางในประเทศลดลง เนื่องจากการเจริญเติบโต GDP ลดลง และอุปสงค์ยางล้อในอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลง ราคายางในปีนี้จะมีความผันผวนตามสภาวะตลาดโลก การผลิต เศรษฐกิจมหภาค และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

กรมศุลกากรจีนรายงานว่า ในเดือนมกราคม จีนนำเข้ายางธรรมชาติ (น้ำยางข้น) 250,000 ตัน เพิ่มขึ้น 19 เปอร์เซ็นต์ qoqมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 697.82 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 54.6 เปอร์เซ็นต์ ในปีนี้ คาดว่าจีนจะนำเข้ายางธรรมชาติเพิ่มขึ้น 0.9 เปอร์เซ็นต์เป็น 3.4 ล้านตัน

เวียดนามผลิตยางธรรมชาติ 864,000 ตันในปี 2555 จากที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 955,000 ตัน เนื่องจากพื้นที่กรีดได้ลดลงเหลือ 505,800 เฮ็กตาร์ จาก 542,500 เฮ็กตาร์

IRSG รายงานว่าส่วนเกินยางพาราของโลกจะลดลง 61 เปอร์เซ็นต์เป็น 179,000 ตันในปีนี้ และเหลือ 153,000 ตันในปีหน้า เนื่องจากการใช้ยางของโลกจะเพิ่มขึ้น และคาดว่าราคายางล่วงหน้าจะไต่ระดับสูงขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์เป็น 350 เยนต่อกิโลกรัม หรือ 3,830 ดอลลาร์ต่อตันในตลาดโตเกียว จีนจะซื้อยางเพิ่มขึ้น 7.2 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม บริดจ์สโตนไม่มั่นใจว่าอุปสงค์ยางจะสูงขึ้น เนื่องจากราคายางในขณะนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ยางแต่อย่างใด

สมาคมค้ายางญี่ปุ่นรายงานว่า สต็อกยางดิบ ณ ท่าเรือญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1,528 ตัน ในช่วงเวลา 11 วันจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2556 สู่ระดับสูงสุดในรอบหกเดือนที่ 8,790 ตัน สต็อกยางดิบญี่ปุ่นทำสถิติสูงสุดที่ 9,308 ตัน ณ วันที่ 31กรกฎาคม 2555

ยางล้อ

ณ เมืองเชนหยาง ประเทศจีน มิเชอลีนเริ่มดำเนินการผลิตยางล้อในวันที่ 26 มกราคม 2556 โดยได้ลงทุน 1.5 พันล้านดอลลาร์ในการสร้างโรงงาน จะมีกำลังการผลิตกว่า 12 ล้านหน่วยต่อปี

มิเชอลินรายงานว่า รายได้ดำเนินการเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ เป็น 2,423 ล้านยูโรในขณะที่ปริมาณการผลิตลดลง 6.4 เปอร์เซ็นต์และพยากรณ์ว่าอุปสงค์ยางล้อจะตกต่ำในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ มิเชอลินจะรักษาระดับการผลิตให้คงที่ในตลาดตะวันตก แต่จะขยายการผลิตในตลาดเกิดใหม่

Hankookรายงานว่า ยอดขายยางล้อในปีงบประมาณ 2555 เพิ่มขึ้น 8.3 เปอร์เซ็นต์ เป็น 6.418 พันล้านดอลลาร์ กำไรดำเนินการเพิ่มขึ้น 57.9 เปอร์เซ็นต์เป็น 833.5 ล้านดอลลาร์ โดยได้รับแรงหนุนจากยอดขายยางล้อสมรรถนะสูงพิเศษในตลาดเกิดใหม่ ได้แก่ รัสเซีย เครือรัฐเอกราชและละตินอเมริกา ซึ่งเพิ่มขึ้น 86.5 เปอร์เซ็นต์ yoyยอดขายในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ yoyเป็น 1.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2555

บริดจ์สโตน ปูเน่ อินเดีย เริ่มการผลิตยางล้อรถยนต์ และมีเป้าหมายจะผลิตยางล้อรถบรรทุกในเดือนตุลาคม คาดว่ากำลังการผลิตยางล้อรถยนต์ต่อวันจะอยู่ที่ 10,000 หน่วยในปลายปี 2557 และกำลังการผลิตล้อรถบัสและรถบรรทุกต่อวันจะอยู่ที่ 3,000 หน่วยในกลางปี 2560 โรงงานบริดจ์สโตน ปูเน่ เป็นโรงงานแห่งที่สองรองจากโรงงานที่อินดอร์ (Indore)
ในช่วงเดือนเมษายนถึงธันวาคม 2555 Apollo Tyreรายงานว่ารายได้เติบโต 9 เปอร์เซ็นต์ ยอดขายสุทธิอยู่ที่ 1.83 พันล้านดอลลาร์ ผลกำไรเพิ่มขึ้น 86 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลกำไรในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์

ยานยนต์

ยอดขายยานยนต์ในจีนทำสถิติ 2.03 ล้านคันในเดือนมกราคม เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากซื้อรถก่อนเทศกาลตรุษจีน ยอดขายยานพาหนะเพิ่มขึ้น 46.4 เปอร์เซ็นต์ yoyในเดือนมกราคม ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 48.7 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.73 ล้านคัน คาดว่ายอดขายในเดือนกุมภาพันธ์จะลดลง 35 เปอร์เซ็นต์จากเดือนมกราคม ยอดขายยานยนต์ในจีนประจำปี 2555 เพิ่มขึ้นเพียง 4.3 เปอร์เซ็นต์ yoyเป็น 19.31 ล้านคันเนื่องจากการจำกัดจำนวนรถในบางเมือง เพื่อลดปัญหารถติดและมลพิษ

ในเดือนมกราคม อุปสงค์รถยนต์ใหม่ลดลง 8.7 เปอร์เซ็นต์ในสหภาพยุโรป การซื้อรถยนต์ใหม่อยู่ที่ 885,159 คัน เป็นตัวเลขที่ต่ำเป็นประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ปี 2533 มีเพียงสหราชอาณาจักรเท่านั้นที่เติบโต (11.5%) เยอรมนีเป็นตลาดใหญ่ที่สุดด้วยตัวเลขการซื้อรถ 192,090 คัน แต่การเติบโตลดลง 8.6 เปอร์เซ็นต์

Autoneumสวิสเซอร์แลนด์มีแผนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อป้อนตลาดรัสเซีย ที่เมือง Ryazan ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงมอสโก โรงงานแห่งนี้อยู่ในยุทธภูมิที่เชื่อมต่อระหว่างแหล่งผลิตยานยนต์ 3 แห่ง ได้แก่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มอสโก และTogliattiรัสเซียเป็นตลาดยานยนต์ที่มีศักยภาพสูงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นรายงานว่า ในไตรมาสที่ 3/2555 ญี่ปุ่นผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 3,803,038 คัน เพิ่มขึ้น 9.9 เปอร์เซ็นต์ qoqสะท้อนให้เห็นว่าการผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก (ยกเว้นแอฟริกา) มีการขยายตัว 21 เปอร์เซ็นต์เป็น 12,038,868 คันในช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2554
Toyoda Gosei มีแผนสร้างบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเมือง Itapetininga ประเทศบราซิล ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุง São Paulo เนื่องจากเล็งเห็นอุปสงค์และอนาคตอันสดใสของภาคการผลิตยานยนต์ในทวีปอเมริกา ใต้ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจะเริ่มการผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2557

……………………………..
หมายเหตุ
qoq = quarter on quarter เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
yoy = year on year  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com