E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  พฤษภาคม 2556 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 ตลาดยาง พฤษภาคม 2556


 
ศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2556

ปัจจัยพื้นฐานทางตลาด
 
↑Nikkei 14,607.54
↑Hang Seng 23,321.22 
↑Shanghai Composite 2,246.83
↑S&P/ASX 200 5,206.10
↓Kospi 1,944.75  
↑Stoxx Europe 600  304.99 
↑DAX 30 8,278.59  
↑FTSE 100 6,624.98 
↑CAC 40 3,953.83 
↑Dow Jones 15,118.49
↑Standard & Poor 1,633.70
↑Nasdaq Composite 3,436.58 
 
$1 = Y101.99
€1 = $1.2992

↓WTI $96.04
↓Brent  $103.72

ข้อมูลการค้าของเยอรมนีได้สร้างความหวังว่าเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของ ยุโรปอย่างเยอรมนีกำลังฟื้นตัว ข้อมูลการจ้างงานในสหรัฐฯ มีการปรับตัวดีขึ้นในเดือนเมษายน กอปรกับข้อมูลทางเศรษฐกิจของยุโรป จีน และญี่ปุ่น มีการปรับตัวในทิศทางบวกเช่นกัน เหล่านี้ทำให้ตลาดยางในเอเชียมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
 
ศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556

ปัจจัยพื้นฐานทางตลาด
 
↑Nikkei  15,138.12
↑Shanghai Composite 2,251.81
↑Stoxx Europe 600 308.72  
↑DAX 30 8,398.00   
↑CAC 40 4,001.27 
↑FTSE 100 6,723.06 
↑Dow Jones 15,354.40 
↑Standard & Poor 1,667.47 
↑Nasdaq Composite 3,498.97 
 
$1 =  Y103.18
€1 = $1.2838

↑WTI $96.02  
↑Brent $104.66
 
สถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของจีนมีผลการดำเนินงานดีกว่า ที่คาดไว้ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในยุโรปอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อกระตุ้นนักลงทุนให้หันไปลงทุนในตลาดหุ้นแทนพันธบัตรรัฐบาล ด้วยความเชื่อมั่นว่าปลอดภัยกว่าถึงแม้ว่าให้ค่าตอบแทนน้อยกว่า ข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายนดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ราคายางธรรมชาติในตลาดท้องถิ่นและตลาดล่วงหน้าส่วนใหญ่ในเอเชียปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนถือยาว โดยมีสาเหตุมาจากการแข็งค่าของเงินเยนต่อดอลลาร์
 
ศุกร์ที่ 24 เมษายน 2556

ปัจจัยพื้นฐานทางตลาด
 
↓Nikkei  14,612.45
↓ S&P ASX 200 4,983.50
↓Hang Seng 22,635.66
↑Shanghai Composite 2,395.17
↓Kospi Composite 1,973.45
↓Stoxx Europe 600 303.35  
↓DAX 30 8,305.32 
↓CAC 40 3,956.79   ↓FTSE 100 6,654.34 
↓Dow Jones 15,303.10
↓Standard & Poor 1,649.60
↓Nasdaq Composite 3,459.14
 
€1 = $1.2925
$1 = Y101.38

↓WTI $94.15

ข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงนโยบายการเงิน ด้วยความพยายามในการรับมือกับภาวะเงินฝืด จีนเผยข้อมูลเศรษฐกิจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ตลาดยางโดยรวมยังอยู่ใน ช่วงขาลง โดยได้รับผลกระทบจากสภาวะตลาดซบเซาและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก กอปรกับการแข็งค่าเงินเยน เป็นปัจจัยที่ทำให้ราคายางธรรมชาติลดลง ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ตลาดล่วงหน้าโตเกียว (ทั้ง front month และ benchmark month) ต่ำกว่าระดับปกติมาก ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2556 เมื่อเทียบกับราคา FOB กรุงเทพฯ

 
การผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออก

อินเดียนำเข้ายางธรรมชาติลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี เนื่องจากยอดขายรถยนต์ลดลง ทำให้อุปสงค์ยางล้อลดลงด้วย คาดว่าการนำเข้าจะลดลง 17 เปอร์เซ็นต์เป็น 180,00 ตันในปี 2556 อุปสงค์ต่ำในอินเดียอาจจะทำให้ราคาล่วงหน้ายางพารา ณ ตลาดโตเกียวลดลงไปอีก ซึ่งได้ลดลงไปแล้ว 9 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ กอปรกับอุปสงค์จากจีนก็ลดลงด้วยเช่นกัน ทำให้ตลาดซบเซาเป็นอย่างมาก

ในอินเดีย กรมการพาณิชย์ขอให้กระทรวงการคลังเพิ่มภาษีนำเข้ายางธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งกำลังประสบปัญหาราคายางตกต่ำ เนื่องจากถ้าภาษีนำเข้ายังอยู่ในระดับต่ำ ยางราคาถูกจากต่างประเทศจะหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดอินเดีย ซึ่งจะทำให้ราคายางในประเทศยิ่งลดลงไปอีก

สต็อกยางท่าเรือชิงเต่า (ทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์) ณ วันที่ 26 เมษายน 2556 ลดลงเหลือ 363,300 ตัน จาก 371,100 ตัน เนื่องจากอุปสงค์ยางเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ไม่ได้หมายความว่าสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานจะมีมากขึ้นแต่อย่างใด

IRSG รายงานว่า การผลิตยางธรรมชาติของโลกจะแตะระดับ 11.71 ล้านตันในปี 2556 เพิ่มขึ้น 3.2 เปอร์เซ็นต์ yoy และในปี 2557 จะเพิ่มขึ้น 5.8 เปอร์เซ็นต์เป็น 12.453 ล้านตัน ในขณะที่การใช้ยางธรรมชาติของโลกจะแตะระดับ 11.592 ล้านตันในปี 2556 เพิ่มขึ้น 5.9 เปอร์เซ็นต์ yoy และในปี 2557 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.1 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 12.3 ล้านตัน ส่วนเกินยางธรรมชาติจะอยู่ที่ 179,000 ตันในปี 2556 และจะลดลงเหลือ 153,000 ตันในปี 2557

สต็อกยางดิบท่าเรือญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 ลดลง 457 ตัน เหลือ 15,637 ตันในช่วงเวลา10 วัน ในขณะที่สต็อกยางท่าเรือเซี่ยงไฮ้ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2556 ลดลง 930 ตัน เหลือ 120,160 ตัน

 
ยางล้อ

IRSG รายงานว่า ในช่วงปี 2556-2557 ผู้ผลิตยางล้อจะได้รับผลประโยชน์จากอุปสงค์คงค้าง จากการเติบโตเศรษฐกิจโลกแบบชะลอตัวในปี 2555 คาดว่าการผลิตยางล้อของโลกจะเพิ่มขึ้น 6.6 เปอร์เซ็นต์ yoy ในปี 2556 และอาจจะขยายตัวได้อีกถึง 6.9 เปอร์เซ็นต์

บริจสโตนรายงานว่ายอดขายในช่วงไตรมาส 1/2556 เพิ่มขึ้น 9.4 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 795 พันล้านเยน รายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 2.2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 43 พันล้านเยน ยอดขายยางล้อในญี่ปุ่นลดลง โดยเฉพาะยางล้อ OE ส่วนในอเมริกาเหนือและจีน ยอดขายยางล้อเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจในเอเชียจะชะลอตัว โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ยอดขายยางล้อรถยนต์และรถบรรทุกขนาดเล็กในยุโรปลดลง โดยเฉพาะยางล้อ OE ซึ่งตรงข้ามกับยอดขายยางล้อรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถบัสที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็ง แกร่ง เนื่องจากความต้องการยางล้อทดแทนมีมากขึ้น

Toyo Tire & Rubber จัดพิธีเปิดโรงงานยางล้อแห่งใหม่ในมาเลเซีย วันที่ 8 พฤษภาคม 2556 คาดว่าโรงงานแห่งนี้จะผลิตยางล้อ 2.5 ล้านหน่วยต่อปีในปลายปี 2556 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านหน่วยในปี 2558

Lanxess AG รายงานว่ายอดขายลดลง 87 เปอร์เซ็นต์ เป็น 2.7 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาส 1/2556 รายได้สุทธิลดลง 87 เปอร์เซ็นต์ เป็น 33 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น และตลาดยางล้อและยานยนต์ซบเซา ทำให้ Lanxess ได้ปิดโรงงานไปแล้วชั่วคราวในส่วนของพอลิเมอร์

การส่งออกยางล้อของมาเลเซียมี โอกาสเติบโตได้อีกมาก มาเลเซียส่งออกยางล้อและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น 3.3 เปอร์เซ็นต์ yoy มีมูลค่า 807.3 ล้านริงกิต (207 ล้านยูโร) ในปี 2555 คาดว่าในปี 2563 มาเลเซียจะส่งออกยางล้อ 20 ล้านหน่วยต่อปี มาเลเซียส่งออกยางล้อไปยังตลาดต่างๆ ดังนี้ จีน (30.1%) สหรัฐฯ (19.8%) เยอรมนี (4.4%) ญี่ปุ่น (3.8%) ไทย (3%) บราซิล (2.7%) สหราชอาณาจักร(2.6%) และออสเตรเลีย (2.5%)

โยโกฮาม่ารายงานว่ายอดขายยางล้อลดลง 5.6 เปอร์เซ็นต์ yoy ในไตรมาส 1/2556 โดยเฉพาะยางล้อ OE ในตลาดญี่ปุ่นเองและตลาดหลักในต่างประเทศ รายได้ดำเนินการลดลง 18.1 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่รายได้สุทธิลดลง 35.7 เปอร์เซ็นต์ อุปสงค์ยางล้อ OE ในญี่ปุ่นลดลง เนื่องจากสิ้นสุดโครงการช่วยเหลือสำหรับยานพาหนะประหยัดน้ำมันและปล่อยก๊าซ เสียต่ำ นอกจากนี้อุปสงค์ยางล้อในอเมริกาเหนือ ยุโรป และจีนก็ซบเซาเช่นกัน

 
ยานยนต์

การลงทะเบียนซื้อรถในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 1.7 เปอร์เซ็นต์ yoy ในเดือนเมษายน คาดว่าตลาดยานยนต์ในยุโรปจะเติบโตเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ในปี 2557 โดยรวมแล้ว ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2556 การลงทะเบียนซื้อรถใหม่อยู่ที่ 4,026,946 คัน ลดลง 7.1 เปอร์เซ็นต์ yoy โดยสหราชอาณาจักรเป็นเพียงตลาดเดียวที่เติบโต 8.9 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ตลาดประเทศอื่นๆ ปรับตัวลดลง

สมาคมรถยนต์ส่วนบุคคลจีนรายงานว่า ยอดขายยานพาหนะทุกประเภทเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด 16.6 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 1,341,900 คันในเดือนเมษายน 2556 และหลังจากที่ยอดขายใน 4 เดือนแรกเติบโต 20 เปอร์เซ็นต์ โดยปราศจากนโยบายควบคุมจำนวนรถของรัฐบาล ในปีนี้จีนจะมีรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 2 ล้านคันจากปีก่อน

ในสหรัฐฯ ยอดขายยานพาหนะใช้แล้วลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 9.7 ล้านคันในไตรมาส 1/2556  ในสหรัฐฯ คาดว่ายอดขายรถยนต์และรถบรรทุกใหม่ในเดือนพฤษภาคมจะทะลุ 1.43 ล้านคัน และจะเพิ่มขึ้นแตะระดับที่ 15.2 ล้านคันในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจาก 14.5 ล้านคันในปีก่อน อุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐฯ ประสบปัญหาการชะลอตัวของอุปสงค์ในช่วงครึ่งแรกของปี และจะมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี มีการพิสูจน์แล้วว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เติบโตแข็งแกร่งกว่าเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ เสียอีก

...............................................................
หมายเหตุ yoy = year on year เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com