E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  เมษายน 2556 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 ตลาดยาง เมษายน 2556


การเจริญเติบโต GDP ของจีนลดลงในไตรมาส 1/2556 นอกจากนี้ เกิดการเทขายอย่างหนักในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจากราคาน้ำมันและทองลดลง กอปรกับ IMF ปรับลดการคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2556 จาก 3.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 3.3 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ความมั่นใจนักลงทุนลดลง

ในส่วนของตลาดยางพารา เงินเยนแข็งค่าต่อดอลลาร์ ส่งผลให้ราคายางลดลงพอสมควร ราคายางล่วงหน้า ณ ตลาดโตเกียวลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2556 ในขณะที่ราคายางในตลาดท้องถิ่นทั่วเอเชียลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ณ ตลาดโตเกียวต่ำกว่าในตลาดท้องถิ่นนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ในขณะที่หุ้น Nikkei ปรับตัวสูงขึ้น 29 เปอร์เซ็นต์ และเงินเยนอ่อนค่าลง 10 เปอร์เซ็นต์

 
การผลิต การใช้ การนำเข้า การส่งออก

อินเดียนำเข้ายางธรรมชาติลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเมษายน 2555 ถึงมีนาคม 2556 จาก 216,642 ตัน yoy อุปทานภายในประเทศเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่การใช้ยางไม่มีการขยับตัว อินเดียผลิตยางธรรมชาติเพิ่มขึ้น 0.9 เปอร์เซ็นต์เป็น 912,200 ตันในปีงบประมาณ 2555/56 และมีแนวโน้มจะผลิตยางธรรมชาติเพิ่มขึ้น 2 เปอร์เซ็นต์เป็น 932,000 ตันในปีงบประมาณ 2555/56 อุตสาหกรรมยานยนต์ชะลอตัว ทำให้อุปสงค์ยางลดลง ยอดขายรถยนต์ในอินเดียลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ในปีงบประมาณ 2555 และจะเติบโตแบบชะลอตัวในนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันสูงขึ้น สต็อกยางต้นปีอยู่ที่ 266,000 ตัน เพิ่มขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์

สต็อกยาง ณ เมืองชิงเต่าไต่ระดับเพิ่มขึ้นเป็น 371,100 ตัน เมื่อปลายเดือนเมษายน จาก 366,900 ตัน ณ วันที่ 15 เมษายน 2556 อุปสงค์ยางของจีนคิดเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ของโลก สต็อกยางจะยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นประวัตการณ์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ จีนจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นมาก The Rubber Economist คาดการณ์ว่าสต็อกยางของโลกจะไต่ระดับถึง 2.17 ล้านตันในปี 2557 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี สต็อกยางธรรมชาติ ณ ท่าเรือเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้น 24 เปอร์เซ็นต์เป็น 121,936 ตัน เป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553

 
ยางล้อ
อุตสาหกรรมยางล้อของจีนจะเติบโต 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปีจนถึงปี 2563 ผู้ผลิตยางล้อจีนพยายามอย่างสูงในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อปรับตัวตามวิถีโลก มาตรการจำกัดการนำเข้าของสหรัฐฯ สิ้นสุดในเดือนกันยายน 2555 ช่วยผลักดันการส่งออกยางล้อของจีนไปสหรัฐฯ ยางล้อของจีนถูกกว่าผู้ผลิตรายอื่น 30-50 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ของอินเดียได้ส่งสัญญาณการชะลอตัวมาก่อนแล้ว มีแนวโน้มว่ายอดขายยานยนต์ในปีนี้จะชะลอตัวมากกว่าปีก่อน

ในปีนี้ อุปสงค์ยางล้อรถบรรทุกขนาดใหญ่จะชะลอตัว เนื่องจากจีนหันมาเน้นอุตสาหกรรมขับเคลื่อนการบริโภคแทนอุตสาหกรรมหนัก การใช้ยางในภาครถบรรทุกขนาดใหญ่คิดเป็นครึ่งหนึ่งของการใช้ยางธรรมชาติทั้ง หมดของจีน เศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 4/2555 แต่การลงทุนด้านสาธารณูปโภคมีไม่มากพอที่จะกระตุ้นยอดขายรถบรรทุกขนาดใหญ่

Apollo Tyres กำลังขยายตลาดในอาเซียน หลังจากยุโรปและเอเชียตะวันตก โดยจะตั้งสำนักงานขายในกรุงเทพฯ ด้วยเงินลงทุน 120,000 ล้านรูปี ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 ตลาดอาเซียนจะกลายเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของ Apollo

มิเชอลินรายงานว่ายอดขายร่วง 8.1 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาส 1/2556 เนื่องจากตลาดยุโรปและอเมริกาเหนือซบเซา โดยทำรายได้ 4.88 พันล้านยูโร ลดลงจาก 5.3 พันล้านยูโร yoy การเติบโตในตลาดเกิดใหม่อย่างจีนและอเมริกาใต้จะล้ำหน้าตลาดซบเซาในอเมริกา เหนือและยุโรป

โยโกฮาม่าจะเริ่มผลิตยางล้อรถบรรทุกและรถบัสที่ West Point ในเดือนตุลาคม เป็นโรงงานแห่งที่สองในสหรัฐฯ ของโยโกฮาม่า เมื่อแล้วเสร็จ จะมีกำลังการผลิต 1 ล้านหน่วยต่อปีในช่วงเฟสแรก

โยโกฮาม่าจะเพิ่มกำลังการผลิตยางล้อรถบรรทุกและรถบัสจาก 350,000 หน่วยเป็น 700,000 หน่วยต่อปี ณ จังหวัดระยอง ซึ่งก่อสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2547

Hankook รายงานว่ารายได้ดำเนินการเพิ่มขึ้น 10.4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2555 ถึงแม้ยอดขายจะต่ำลง แต่รายได้ดำเนินการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากยอดขายยางล้อสมรรถนะสูงพิเศษเพิ่มขึ้น 64 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาส 1/2556 ยอดขายในรัสเซียเพิ่มขึ้น 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนยอดขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์

บริจสโตนรายงานว่า มีแนวโน้มลดการใช้ยางลง 2.6 เปอร์เซ็นต์จนถึงเดือนธันวาคม 2556 เนื่องจากอุปสงค์ในสหรัฐฯ ชะลอตัวกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ แต่ถึงกระนั้นแล้ว ด้วยราคาวัตถุดิบที่ลดลง บริจสโตนก็ยังคงได้กำไรมากพอสมควร
Sumitomo มีแผนลงทุน 15 ล้านดอลลาร์ในการเปิดโรงงานยางล้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ที่จังหวัดระยองในเดือนมกราคม 2557 และจะมีกำลังการผลิต 64,000 หน่วยต่อเดือนเมื่อถึงปลายปี 2561

 
ยานยนต์

ยอดขายยานพาหนะในญี่ปุ่นลดลง 9.4 เปอร์เซ็นต์เป็น 1.53 ล้านคัน เนื่องจากนโยบายสงเคราะห์ของรัฐบาลสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ในขณะที่ยอดขายในเกาหลีใต้ลดลง 2.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 321,420 คันในไตรมาส 4/2555
 
ยอดขายยานพาหนะเบาของสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมไต่ระดับสูงขึ้น 3.4 เปอร์เซ็นต์เป็น 1.45 ล้านคัน เป็นตัวเลขรายเดือนที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2550 โดยรวมแล้ว ยอดขายในไตรมาส 1/2556 เพิ่มขึ้นเป็น 6.4 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นไตรมาสแรกที่ดีที่สุดในรอบ 6 ปี ส่วนยอดขายในเดือนเมษายนลดลง 10 เปอร์เซ็นต์จากเดือนมีนาคม แต่เพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ปรับตัวในทิศทางที่สดใสขึ้น

ยอดขายรถยนต์ในยุโรปลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี หลังจากที่เยอรมนีกังวลว่าวิกฤติหนี้ที่ยืดเยื้อจะฉุดอุปสงค์ การลงทะเบียนซื้อรถในเดือนมีนาคมลดลง 10 เปอร์เซ็นต์เป็น 1.35 ล้านคัน โดยรวมแล้ว การซื้อรถในไตรมาสแรกลดลง 9.7 เปอร์เซ็นต์ เป็น 3.1 ล้านคัน แสดงให้เห็นว่าตลาดรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่างเยอรมนีได้ถึงที่สิ้นสุดแล้ว

.......................................
หมายเหตุ
yoy = year on year เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com