E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  กรกฏาคม 2556 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 ตลาดยาง กรกฎาคม 2556


ศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2556
 
↑Dow Jones 15,135.80 (+226.2)
↑S&P 500 1,631.89 (+25.61)
↑Nikkei 225 14,309.97 (+632.68)
↑China CSI 2,226.85 (+26.21)
↑STI 3,169.73 (+19.29)
↑HSI 20,854.70 (+51.41)
↓KLCI 1,772.27 (-1.27)
↓SET 1,441.33 (-10.57)
↓JSX 4,602.81 (-216.09)

EUR  1.2829
JPY  101.20


↑Oil (WTI) Aug 13  103.22 (+6.66)
↑Brent (ICE) Aug 13  107.72 (+5.56)


ตลาดหุ้นและโภคภัณฑ์ทั่วโลกฟื้นตัว มีการซื้อขายค่อนข้างคึกคักในตลาดท้องถิ่น สต๊อกยางชิงเต่าเริ่มขยับตัวลดลง ยอดขายยานพาหนะทั้งหมดในสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายนแตะระดับ 16 ล้านหน่วย การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 195,000 งานในเดือนมิถุนายน เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคายางล่วงหน้าโตเกียวและเซี่ยงไฮ้ปิดบวก ฝนตกหนักในภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และสุมาตราเหนือของอินโดนีเซีย ชาวมุสลิมเริ่มเข้าสู่เดือนรอมฎอน ทำให้อุปทานยางลดลง


ศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2556

 
↑Dow Jones 15,464.30 (+328.50)
↑S&P 500 1,680.19 (+48.3)
↑Nikkei 225 14,506.20 (+196.23)
↑China CSI 2,275.37 (+48.52)
↑STI 3,236.06 (+66.33)
↑HSI 21,277.30 (+422.6)
↑KLCI 1,785.65 (+13.38)
↑SET 1,453.71 (+12.38)
↑JSX 4,633.11 (+30. 30)
 

EUR 1.3067
JPY  99.22

↑Oil (WTI) Aug 13  105.95 (+2.73)
↑Brent (ICE) Aug 13  108.81 (+1.09)


ตลาดหุ้นทั่วโลกปิดบวก เนื่องจาก 2 ปัจจัยหลักได้แก่ อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือนมิถุนายนสูงกว่าที่คาดไว้เล็กน้อย ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอีก อย่างไรก็ตาม ราคายางลดลง เนื่องจากอุปทานสูงกว่าอุปสงค์มากพอสมควร ข้อมูลการค้าของจีนเดือนมิถุนายนลดลง 14 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการค้าต่างประเทของจีนได้รับความท้าทายอย่างมาก IMF ปรับลดการขยายตัวเศรษฐกิจโลกอยู่ที่ 3.1 เปอร์เซ็นต์

นักลงทุนยังคงมีทัศนคติในด้านลบต่อสต็อกยางปริมาณมากในชิงเต่า และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก รายงานล่าสุดของปริมาณสต็อกยางธรรมชาติในชิงเต่า อยู่ที่ 201,721 ตัน อุปทานยางชะลอตัว เนื่องจากฝนตกหนักในภาคใต้ของไทย และมีหมอกแดดและอากาศแห้งในอินโดนีเซียและมาเลเซีย


ศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556
 

↑Dow Jones 15,543.70 (+79.4)
↑S&P 500 1,692.09 (+11.9)
↑Nikkei 225 14,589.90 (+83.7)
↓China CSI 2,190.48 (-84.89)
↓STI 3,213.26 (-22.8)
↑HSI 21,362.40 (+85.1)
↑KLCI 1,797.74 (+12.09)
↑SET 1,481.84 (+28.13)
↑JSX 4,724.41 (+91.3)

EUR  1.3143
JPY  100.65

↑Oil (WTI) Aug 13 108.05 (+2.10)
↓Brent (ICE) Aug 13  108.07 (-0.74)


ราคายางสูงขึ้น เนื่องจากมีการซื้อมากในตลาดจีนและญี่ปุ่น สต็อกยางในจีนลดลง 11,600 ตัน เป็น 330,000 ตัน ดอลลาร์อ่อนค่าและราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น ช่วยหนุนราคายางได้บ้างพอสมควร GDP ประจำไตรมาส 2/2556 ของจีนเติบโต 7.5 เปอร์เซ็นต์ ลดลง 0.2 จากไตรมาส 1/2556


คำประกาศจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าการลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่ชัดว่าจะมีการดำเนินต่อไป หรือไม่ ทำให้เงินเยนอ่อนค่าต่อเนื่อง และราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบและทองคำสูงขึ้น และยังส่งผลให้นักลงทุนในตลาดยางล่วงหน้าโตเกียวถือยาวต่อไป เป็นปัจจัยช่วยราคายางล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ และราคายางในตลาดท้องถิ่นในเอเชีย

ในส่วนของอุปทาน ฝนตกหนักในประเทศไทย ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้วันหยุดกรีดมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสต็อกยางธรรมชาติในชิงเต่า ณ ขณะนี้อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 แสนตัน IRSG ปรับลดปริมาณส่วนเกินยางธรรมชาติของโลกในปีนี้ เหลือ 284,000 ตัน จาก 322,000 ตันในปี 2555


ศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2556
 

↓Dow Jones 15,558.80 (-15.10)
↓S&P 500 1,691.65 (-0.44)
↓Nikkei 225 14,130.00 (-459.90)
↑China CSI 2,224.01 (+33.53)
↑STI 3,236.10 (+22.84)
↑HSI 21,968.90 (+606.50)
↑KLCI 1,807.61 (+9.87)
↓SET 1,476.71 (-5.13)
↓JSX 4,658.87 (-65.54)
 

EUR  1.3279
JPY  98.21

↓Oil (WTI) Sep 13  104.70 (-3.17)
↓Brent (ICE) Sep 13  107.17 (-0.90)


ราคายางลดลงในช่วงสัปดาห์ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจอ่อนตัวในจีน ราคายางอยู่ในระดับปกติช่วงต้นสัปดาห์ แต่หลังจากมีการรายงานดัชนี PMI ประจำเดือนกรกฎาคมของธนาคาร HSBC ก็มีการเทขายอย่างถ้วนหน้า กอปรกับการซื้อขายยางล่วงหน้าโตเกียวและสิงคโปร์หมดสัญญา เงินดอลลาร์อ่อนค่า หลังจากการประชุม G20 เนื่องจากยุโรปเริ่มมีการฟื้นตัว


การผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออก


IRSG คาดการณ์ว่าอุปสงค์ยางของโลกจะเติบโต 2-5 เปอร์เซ็นต์ yoy ในปีนี้ ในขณะที่การผลิตอาจลดลง 4 เปอร์เซ็นต์ และรายงานว่า การใช้ยางทั้งหมดของโลก (ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์) เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมกราคม เป็น 26.1 ล้านตันก่อนที่จะลดลงเหลือ 26 ล้านตันในเดือนมีนาคม อุปทานยางธรรมชาติของโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 2.3 เปอร์เซ็นต์ในเดือนมีนาคม ในขณะที่อุปทานยางสังเคราะห์เติบโต 0.4 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลาเดียวกัน กล่าวคือ อุปทานยางธรรมชาติของโลกอยู่ที่ 11.4 ล้านตัน และอุปทานยางสังเคราะห์อยู่ที่ 15.2 ล้านตันในเดือนมีนาคม 2556 การส่งออกยางธรรมชาติของโลกเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดในไตรมาส 1/2013 ถึงแม้อุปสงค์ในประเทศผู้บริโภคจะอ่อนตัว โดยสาเหตุมาจาก ความต้องการการนำเข้าสูงขึ้น เพื่อสร้างสต็อกยางในประเทศ อัตราการเจริญเติบโตและปริมาณอุปทานยางธรรมชาติมีมากเกินความต้องการในไตร มาส 1/2013 เนื่องจากกำลังการผลิตส่วนเกิน จากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก 188,000 เฮกตาร์ กอปรกับราคาเฉลี่ยยังคงเป็นราคาที่มีกำไรต่อเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก และสต็อกยางลดระดับต่ำลง จึงสามารถรับยางเพิ่มได้อีก ประเทศผู้ผลิตเพิ่มผลผลิตยางธรรมชาติปริมาณมากในไตรมาส 1/2013 ยกเว้นมาเลเซีย โดยอุปทานยางธรรมชาติของแอฟริกาและเอเชียเพิ่มขึ้น 4.3 เปอร์เซ็นต์และ 3.8 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยเฉพาะโกตดิวัวร์และกัมพูชา


พม่าได้รับสิทธิประโยชน์จาก GSP ในการส่งออกสินค้าปลอดภาษีไปยังตลาดยุโรป ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับชาวสวนยางให้ปรับปรุงคุณภาพยางให้ดีขึ้น เนื่องจากยางที่ผลิตในพม่ายังมีคุณภาพต่ำอยู่ โดยยาง 70 เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตในพม่าส่งออกไปยังตลาดจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม เกาหลี และอินเดีย ในปีก่อน พม่าส่งออกยาง 81,000 ตัน มีมูลค่า 230 ล้านดอลลาร์


ในเดือนมิถุนายน จีนนำเข้ายางธรรมชาติลดลง 18.8 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 130,000 ตัน ในขณะที่การนำเข้ายางสังเคราะห์ลดลง 3.7 เปอร์เซ็นต์


สต็อกยางดิบ ณ ท่าเรือญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 มิถุนายนลดลงเหลือ 12,217 ตัน โดยลดลง 992 ตันในช่วงเวลา 10 วัน เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 สต็อกยางดิบญี่ปุ่นทุบสถิติสูงกว่า 16,000 ตัน ที่ 16,717 ตัน ณ วันที่ 30 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2550


ยางล้อ


Michelin North America Inc. มียอดขายผลิตภัณฑ์ยางมากที่สุดในอเมริกาเหนือในปี 2555 โดยมียอดขาย 9.96 พันล้านดอลลาร์ทั่วทั้งทวีป คิดเป็น 36.1 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายมิเชอลินทั่วโลก และนำหน้ากู๊ดเยียร์ในอเมริกาเหนือ 300 ล้านดอลลาร์ ยอดขายของ Michelin ในอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้น 11.6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2555 ยอดขายของกู๊ดเยียร์ในอเมริกาเหนือลดลง 2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2555 เป็น 9.67 พันล้านดอลลาร์ โดยยอดขายยางล้อ OE เพิ่มขึ้น 12.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ยอดขายยางล้อทดแทนลดลง 11 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ Bridgestone America Inc. มียอดขายในอเมริกาเหนือ 8.1 พันล้านดอลลาร์


Michelin & Cie (ML) รายงานว่ากำไรในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากตลาดรถยนต์ในยุโรปซบเซา กำไรดำเนินการลดลงเป็น 1.15 พันล้านยูโร (1.52 พันล้านดอลลาร์) จาก 1.32 พันล้านยูโรในปีก่อน ยอดขายลดลง 5.1 เปอร์เซ็นต์เป็น 10.2 พันล้านยูโร มิเชอลินกำลังหาตลาดอื่นนอกทวีปยุโรป โดยขายยางล้อสำหรับกิจการเหมืองแร่และยานพาหนะใหญ่อื่นๆ  อุปสงค์ยางล้อทดแทนสำหรับรถยนต์และยานพาหนะเบาลดลง 4 เปอร์เซ็นต์ในยุโรปในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ


MRF ผู้ผลิตยางล้อแห่งเชนไน อินเดีย รายงานว่ากำไรในไตรมาสที่ 3/2556 (ปีงบประมาณ) เพิ่มขึ้น 57 เปอร์เซ็นต์ เนื่องด้วยอานิสงส์จากราคายางตกต่ำ กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 2.27 พันล้านรูปี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 จาก 1.445 พันล้านรูปีในปีก่อน ยอดขายสุทธิเพิ่มขึ้น 1.4 เปอร์เซ็นต์เป็น  3.048 หมื่นล้านรูปี จาก 3.006 หมื่นล้านรูปี MRF สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ถึงแม้ยอดขายยานยนต์ชะลอตัว เนื่องจากยอดขาย 75 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทมาจากยางล้อทดแทน ด้วย MRF เป็นแบรนด์คุณภาพ


Toyo Tire & Rubber ประจำประเทศไทยมีแผนขายยางล้อทดแทน 120,000 – 180,000 หน่วยในปีนี้ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 แสนหน่วยในปีหน้า และ 6 แสนหน่วยในปี 2558 คาดว่ายอดขายยางล้อทดแทนจะลดลงประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ จาก 3 ล้านหน่วยในปีก่อน และจะกระเตื้องขึ้น 3-5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2557
ยานยนต์


ในเดือนมิถุนายน ยอดลงทะเบียนซื้อรถยนต์โดยสารใหม่ในสหภาพยุโรปลดลง 5.6 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 1,134,042 คัน โดยสหราชอาณาจักรเป็นเพียงตลาดเดียวที่ขยายตัว (+13.4 เปอร์เซ็นต์) โดยรวมแล้ว ยอดขายรถยนต์ในยุโรปลดลง 6.6 เปอร์เซ็นต์ yoy ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ยุโรปรายงานว่า ยอดลงทะเบียนรถยนต์ใหม่ในยุโรปในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2556 อยู่ที่ 6.205 ล้านคัน สะท้อนถึงสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและอัตราการว่างงานสูง


ยอดขายรถยนต์ในจีนเพิ่มขึ้น 11.2 เปอร์เซ็นต์ yoy ในเดือนมิถุนายน เป็น 1.75 ล้านคัน ลดลงเล็กน้อยจาก 1.76 ล้านคันในเดือนพฤษภาคม โดยรวมแล้ว ยอดขายรถยนต์ในจีนเพิ่มขึ้น 12.3 เปอร์เซ็นต์ yoy ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 เป็น 10.78 ล้านคัน การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนนำมาซึ่งความต้องการยานพาหนะมากขึ้น บริษัทที่ปรึกษา McKinsey คาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์โดยสารของจีนจะเติบโตโดยเฉลี่ย 8 เปอร์เซ็นต์ต่อปีจนถึงปี 2563 โดยยอดขายจะแตะระดับ 22 ล้านคัน


ยอดขายยานพาหนะในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 7.8 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 1.38 ล้านคันในเดือนมิถุนายน คาดว่ายอดขายโดยรวมของปีนี้น่าจะอยู่ที่ 15.7 ล้านคันจาก 14.4 ล้านคันในปีก่อน


--------------------------
หมายเหตุ: yoy = year on year เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com