E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  มีนาคม 2556 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 ตลาดยาง มีนาคม 2556



ศุกร์ที่ 1 

ค่า เงินเยนต่อดอลลาร์ และการเลือกตั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ข่าวการลดค่าใช้จ่ายของสหรัฐฯ การเลือกตั้งครั้งล่าสุดในอิตาลีทำให้ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในยุโรปยิ่ง ลุกลามมากขึ้น มาตรการทางการเงินของจีนเข้มข้นขึ้น เพื่อให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลง และข้อมูลภาคการผลิตของจีนในเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ ส่งผลให้หุ้นเอเชียปิดทั้งบวกและลบ หุ้นส่วนใหญ่ในยุโรปฟื้นตัวในช่วงกลางสัปดาห์และปิดลบในวันศุกร์ หุ้นวอลสตรีทอยู่ในแดนบวก เนื่องด้วยข้อมูลการซื้อขายบ้านที่ดีกว่าที่คาดไว้ สร้างบรรยากาศเศรษฐกิจให้สดใสขึ้น เงินยูโรอยู่ที่ 1.3020 ดอลลาร์ ดอลลาร์อยู่ที่ 93.62 เยน ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบ ณ ตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ 90.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ราคายางพาราทั้งในตลาดล่วงหน้าและตลาดท้อง ถิ่นในเอเชียลดลง เนื่องจากนักลงทุนในตลาดล่วงหน้าขายสัญญาออก เพื่อลดการขาดทุน ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา ในขณะเดียวกัน นักลงทุนทั่วโลกหันไปพึ่งเงินดอลลาร์แทนการลงทุนในภาคยางพารา ถึงแม้ว่าอุปทานยางจะลดลงเนื่องจากสภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวยก็ตาม

ศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2556

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นอยู่ในแดนบวก ตลอดสัปดาห์ เนื่องจากรายงานเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทำให้บรรยากาศของเศรษฐกิจโลกสดใสขึ้น และเงินเยนก็อ่อนค่าต่อดอลลาร์มากขึ้น ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในยุโรปยังคงอยู่ในแดนบวกต่อจากสัปดาห์ก่อน นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น หลังจากนายจ้างในสหรัฐฯ เพิ่มค่าจ้างมากขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ และธนาคารกลางสหรัฐฯ จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอีก ตลาดหุ้นวอลสตรีทอยู่ในแดนบวกตลอดสัปดาห์ การส่งออกของจีนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น และเศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมาเติบโตอีกครั้ง เงินดอลลาร์อยู่ที่ 0.7670 ยูโร และ 96.02 เยน ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบ ณ ตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ 91.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ราคายางพาราทั้งในตลาดล่วงหน้าและตลาดท้องถิ่นใน เอเชียกระเตื้องขึ้น และไต่ระดับสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากดัชนีหุ้นดาวโจนส์สูงขึ้น และเงินเยนอ่อนค่าต่อดอลลาร์ต่อเนื่องสองสัปดาห์ อุปทานยางธรรมชาติในไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซียลดลง ทำให้ราคายางไม่ถดถอยลงไปอีก

ศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2556

ตลาดหุ้นในเอเชียปิดทั้งบวกและลบ เนื่องจากมีการจ้างงานมากขึ้นในสหรัฐฯ เงินเยนอ่อนค่าต่อดอลลาร์ และข้อมูลทางเศรษฐกิจในเชิงลบของจีน ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกต่อเนื่องสี่สัปดาห์ เนื่องจากมีการลดข้อจำกัดด้านงบประมาณของประเทศในยุโรป และเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว โดยเฉพาะยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานลดลง หุ้นวอลสตรีทอยู่ในแดนบวก เงินยูโรอยู่ที่ 1.3074 ดอลลาร์ และ 95.24 เยน ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบ ณ ตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ 90.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ความ ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ยอดขายยานยนต์ในจีนตกต่ำในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ความมั่นใจนักลงทุนลดลงในตลาดยาง ถึงแม้ว่าเงินเยนอ่อนค่าต่อดอลลาร์ และสต๊อกยางพาราที่สูงขึ้นในชิงเต่า เซี่ยงไฮ้ ญี่ปุ่น และประเทศผู้ผลิตหลัก เหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้มีการเทขายในตลาดล่วงหน้าทั่วเอเชีย ส่งผลให้ราคายางธรรมชาติลดลงทั่วเอเชีย

ศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556

ตลาดหุ้นเอเชียและตลอด หุ้นยุโรปโดยส่วนใหญ่ปิดลบ เนื่องจากธนาคารกลางยุโรปจะระงับเงินฉุกเฉินที่ให้กับธนาคารไซปรัส หากไซปรัสไม่สามารถสรุปแผนหาเงินได้ ในขณะที่ตลาดหุ้นวอลสตรีทปิดบวก หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนักและแจ้งว่าเศรษฐกิจแสดงสัญญาณการฟื้น ตัว เงินยูโรอยู่ที่ 1.2989 ดอลลาร์ เงินดอลลาร์อยู่ที่ 95.95 เยน ราคาล่วงหน้าน้ำมันดิบ ณ ตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ 93.71 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ราคา ล่วงหน้ายางพารา ณ ตลาดโตเกียวมีความผันผวน เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อความไม่มั่นคงต่อเงินฉุกเฉินไซปรัส และเงินเยนแข็งค่าขึ้นต่อดอลลาร์ ทำให้ราคายางล่วงหน้าโตเกียวลดลงมาอยู่ที่ 278.5 เยนต่อกิโลกรัม

การผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออก

ราคายางลด ลงเนื่องจากสต็อกยางในจีนและยุโรปเพิ่มสูงขึ้น ด้วยวิกฤติเศรษฐกิจในไซปรัส ทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นและนักลงทุนไม่มีความต้องการลงทุนในสัญญาที่เกี่ยว พันธ์กับเงินเยน สต็อกยางในคลังสินค้าหลัก 9 แห่งของจีนไต่ระดับถึง 113,803 ตัน เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2553 นอกจากนี้ ณ วันที่ 15 มีนาคม 2556 สต็อกยาง ณ เมืองชิงเต่า ประเทศจีน อยู่ที่ 358,000 ตัน และสต็อกยางในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3.8 เปอร์เซ็นต์เป็น 11,363 ตัน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ข้อมูลจากสมาคมค้ายางญี่ปุ่น)

India Rubber Board รายงานว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ การผลิตยางธรรมชาติในอินเดียลดลง 4.7 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 61,000 ตัน ในขณะที่การใช้ยางลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 73,000 ตัน การนำเข้าลดลง 61 เปอร์เซ็นต์ yoy เป็น 9,497 ตัน จาก 24,519 ตันในปีก่อน ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 7 เท่าเป็น 6,650 ตันจาก 951 ตัน yoy

สตีเฟน อีแวนส์ เลขาธิการ International Rubber Study Group: IRSG กล่าวในงาน Tyrexpo Asia 2013 ว่า ในปี 2555 การบริโภคยางธรรมชาติของโลกอยู่ที่10.9 ล้านตันทั้งในตลาดยางล้อและอื่นๆ และคาดว่าการบริโภคจะเติบโตเป็น 17.2 ล้านตันในปี 2565 ในขณะที่ตัวเลขการบริโภคยางสังเคราะห์อยู่ที่ 15 ล้านตันในปี 2555 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 21 ล้านตันในปี 2565

ในปี 2513 ศรีลังกามีพื้นที่เพาะปลูกยางพารา 214,000 เฮกตาร์ แต่ในขณะนี้เหลือพื้นที่เพาะปลูกเพียง 121,000 เฮกตาร์ และอาจจะลดลงอีกในอนาคต สถาบันวิจัยยางศรีลังกาจึงเสาะแสวงหายางพันธุ์ใหม่ที่สามารถเติบโตในถิ่น แห้งแล้งได้ และผลักดันให้มีการเพาะปลูกทางภาคตะวันออก

สมาคม อุตสาหกรรมยางจีนคาดการณ์ว่า อุปสงค์และอุปทานยางของโลกในปี 2556 จะสอดรับกันมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว การผลิตยางธรรมชาติของโลกในปีนี้จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การใช้ยางมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน อินเดียมีนโยบายเพิ่มภาษีนำเข้ายางธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุปทานส่วนเกินในตลาดโลกไม่มากก็น้อย

ยางล้อ

สตีเฟน อีแวนส์ เลขาธิการ International Rubber Study Group: IRSG กล่าวในงาน Tyrexpo Asia 2013 ว่า ทศวรรษนับตั้งแต่ปี 2555-2565 เป็นช่วงเวลาแห่งการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีอุปสงค์ยานพาหนะใหม่และยางล้อ ที่แข็งแกร่งตลอดระยะเวลาสิบปี ยอดขายยางล้อ OE จะเติบโตจาก 333 ล้านหน่วยในปี 2555 เป็น 524 ล้านหน่วยในปี 2565 ส่วนยอดขายยางล้อทดแทนจะขยับตัวจาก 786 ล้านหน่วยในปี 2555 เป็น 1.3 พันล้านหน่วยในปี 2565 ปัจจุบันมียานพาหนะที่ใช้อยู่ทั่วโลกประมาณ 1.1 พันล้านคัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.7 พันล้านคันในปลายทศวรรษที่กำลังจะมาถึง จีนแค่ประเทศเดียวจะมียานพาหนะ 250 ล้านคันในช่วงเวลาดังกล่าว

บริจสโตนประกาศว่าจะปิดโรงงานยางล้อรถ ยนต์ที่เมืองโมดุนญ่า (บารี) ประเทศอิตาลี การผลิตยางล้อโดยรวมในสหภาพยุโรปลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2554 และคาดว่าจะไม่มีการฟื้นตัวในช่วงก่อนปี 2563 เพราะได้รับผลกระทบจากคู่แข่งในตลาดเกิดใหม่ซึ่งมีความได้เปรียบในด้านต้น ทุนราคาถูก มาตรการแก้ปัญหาที่สำคัญคือการเน้นผลิตเฉพาะยางล้อเกรดพรีเมียม

มิ เชอลินมีแผนสร้างโรงงานยางล้อรถบรรทุกในรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดียกลางปีนี้ โรงงานนี้จะตั้งอยู่ห่างจากเมืองเชนไน 50 กิโลเมตร และมีพื้นที่ 17 เฮกตาร์ ซึ่งจะเป็นโรงงานที่มีพื้นที่มากที่สุดในโลกของมิเชอลิน

โย โกฮาม่ามีแผนลงทุน 118 ล้านดอลลาร์ในการสร้างโรงงานยางล้อใกล้กรุงมะนิลาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 กำลังการผลิตยางล้อรถยนต์และรถบรรทุกของโรงงานแห่งนี้จะเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์เป็น 12.5 ล้านหน่วยภายในปี 2557 นอกจากนี้ โยโกฮาม่ายังมีแผนเพิ่มกำลังการผลิต ณ โรงงานยางล้อเมือง Lipetsk รัสเซีย เป็น 1.6 ล้านหน่วยต่อปี เพื่อสนองความต้องการในตลาดรัสเซีย

ผู้ผลิต ยางล้อ Kenda Rubber Industrial Co คาดว่ายอดขายจะเติบโตแบบก้าวกระโดดในปีนี้ เนื่องจากตลาดยานยนต์จีนมีการขยายตัวอย่างมาก ทำให้อุปสงค์ยางล้อทดแทนสูงขึ้น ตลาดรถยนต์ใช้แล้วเติบโต 11 เปอร์เซ็นต์ yoy ในปี 2555 เป็น 4.8 ล้านคัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณเป็น 10 ล้านคันในช่วงสามปีข้างหน้า

ผู้ผลิตยางล้อ Pirelli Tyre S.p.A. มีแผนลงทุน 200 ล้านดอลลาร์ในการเพิ่มกำลังการผลิตยางล้อรถยนต์เป็นสองเท่า และยางล้อรถบรรทุก 20 เปอร์เซ็นต์ในเมือง Yanzhou ซึ่งจะเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกของ Pirelli เมื่อแล้วเสร็จจะมีกำลังการผลิตยางล้อรถยนต์ต่อปี 10 ล้านหน่วยจาก 4.1 ล้านหน่วย และยางล้อรถบรรทุก 850,000 หน่วยจาก 700,000 หน่วย นอกจากนี้ Pirelli จะเพิ่มกำลังการผลิตยางล้อรถมอเตอร์ไซค์ในอินโดนีเซีย โดยร่วมหุ้นกับบริษัทท้องถิ่นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ Astra OtopartsTbk. โดย Pirelli คาดว่าการผลิตรายปีจะทะลุ 7 ล้านหน่วยในปี 2559

ยานยนต์

ยอดขายยานยนต์ในสหรัฐฯ ฟื้นตัวในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางเศรษฐกิจที่สดใสขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 4 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกุมภาพันธ์

สมาคม ผู้ผลิตยานยนต์ยุโรปรายงานว่า การลงทะเบียนรถใหม่ในยุโรปลดลง 10 เปอร์เซ็นต์เป็น 829,359 คันในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 923,553 คัน yoy เนื่องจากอัตราการว่างงานในแถบยูโรโซนสูงขึ้นมากและคาดว่ายอดขายรถยนต์ทั่ว ยุโรปในปีนี้อาจลดลงมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ในเยอรมนี ยอดขายรถยนต์ใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ yoy แสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตยานยนต์กำลังประสบวิกฤติหนัก

สมาคมธุรกิจยุโรป รายงานว่า ยอดขายรถยนต์รัสเซียเติบโต 2 เปอร์เซ็นต์ yoy ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็น 210,666 หน่วย โดยชะลอตัวจากการเพิ่ม 5 เปอร์เซ็นต์ในเดือนก่อน คาดว่ายอดขายรถยนต์ในรัสเซียจะอยู่ที่ 2.95 ล้านคันในปีนี้ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจากตัวเลข 2.94 ล้านคัน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป

สมาคมผู้ ผลิตยานยนต์จีนรายงานว่า ยอดขายยานพาหนะในประเทศจีนในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์เป็น 2.84 ล้านหน่วยจาก 237 ล้านหน่วย yoy คาดว่ายอดขายยานพาหนะโดยรวมในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 7 เปอร์เซ็นต์ทะลุเป้า 20.65 ล้านคันเป็นครั้งแรก เนื่องจากรายได้ประชากรและการขยายตัวของเมืองใหญ่เพิ่มมากขึ้น

สมาคม ผู้ผลิตยานยนต์บราซิลรายงานว่า ยอดขายยานพาหนะในบราซิลในเดือนกุมภาพันธ์ลดลง 25 เปอร์เซ็นต์จากเดือนมกราคมและ 5.8 เปอร์เซ็นต์ yoy เนื่องจากการลดภาษียานพาหนะช่วยเพิ่มยอดขายในปีก่อน การส่งออกยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ลดลง 3.8 เปอร์เซ็นต์ yoy และเพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์จากเดือนมกราคม มูลค่าการส่งออกลดลง 4.9 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสกุลเงินบราซิลแข็งค่าขึ้น
……………………………..
หมายเหตุ
yoy = year on year  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com