สถานการณ์ยางพาราครึ่งหลังปี
2560 คาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว
โดยเฉพาะจากประเทศจีน และการลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้วมีเพิ่มขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.5% ในปี 2560 และเติบโต 3.6% ในปี 2561
อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลง
ค่าเงินและปริมาณสต็อกยางจีนมีความผันผวน
เป็นปัจจัยส่งผลให้ราคายางตกต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางบางส่วนโค่นต้นยาง
และหันไปประกอบอาชีพอื่น
The uk best 1:1 rolex replica watches on sale - Submariner, Datejust, Day-Date, Sea-Dweller, Sky-Dweller are all available.
ภายใต้สภาวะวิกฤตด้านราคายางเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการสร้างความยั่งยืน โดยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และนวัตกรรมมาแปรรูปยางดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ในประเทศและส่งออก
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มการใช้ยางในประเทศ
ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมยาง
โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร่วมกับ เครือข่ายนวัตกรรมยางพารา ซึ่งประกอบด้วย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
ได้จัดการประชุมความร่วมมือการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยียาง ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม
2560 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีการพบปะ
แลกเปลี่ยนทัศนะ และระดมความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการสร้างงานวิจัย
และต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป
สำหรับการวิจัยและพัฒนาด้านยางพาราที่มีการนำเสนอที่น่าสนใจคืองานวิจัยยางล้อ
จากศูนย์เอ็มเทค สวทช. ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0
โดยอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมขนส่งและการบิน ได้แก่
งานวิจัยยางล้อยึดเกาะถนนเปียกได้ดี ยางล้อความต้านทานการหมุนต่ำ
ยางล้อเสียงดังต่ำ และยางล้อไม่ใช้ลม (Lite Wheel) เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยอื่น ๆ ได้แก่ นวัตกรรมแผ่นรองแผลกดทับจากโพลีเมอร์ผสมยางพารา
สีเพ้นท์เสื้อผ้าจากยางพารา ยางจุกนมเทียมสำหรับลูกโค
อิฐบล็อกจากคอนกรีตผสมน้ำยางพารา
หรือนวัตกรรมยางพาราอัดก้อนบรรจุลงในตาข่ายแหสำหรับเป็นวัสดุดูดซับคราบน้ำมันที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติและท้องทะเล
เหล่านี้ล้วนเป็นผลงานที่โดดเด่นในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และการรวมตัวอย่างเข้มแข็งของเครือข่ายนวัตกรรม
ในการทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเพิ่มผลผลิตในการส่งออก
ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้น
สมาคมยางพาราไทย
ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวและการปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ในภาวะวิกฤตราคายางตกต่ำ
และขอสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับยางพารา
พัฒนาต่อยอดสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา
โดยการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ยางและนวัตกรรมใหม่ ออกสู่ตลาดไทยและตลาดโลก