ยุคปัจจุบัน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศ
หลายท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า ประเทศไทย 4.0 เศรษฐกิจดิจิตอล หรือดิจิตอลไทยแลนด์เป็นอย่างดี
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ได้จัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ยุคดิจิตอล
ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
นำมาซึ่งความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานยางพารา ต้องพึ่งพิงข้อมูล
และใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งเรียกกันว่า “ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)” ในการวางแผน วางกลยุทธ์ ติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์หาโอกาสใหม่ทางการเกษตร
อุตสาหกรรม และการค้ายางพารา
The hot website offers uk cheap rolex fake watches at affordable prices for men and women.
UK Swiss movement replica rolex watches with best movements are worth having!
ข้อมูลขนาดใหญ่
(Big
Data) คือ ชุดข้อมูลที่มีขนาดและความซับซ้อนมาก
จนยากที่จะประมวลผลได้ด้วยเครื่องมือจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิม
ตัวอย่างของข้อมูลขนาดใหญ่ ได้แก่ เครือข่ายเซ็นเซอร์ เครือข่ายสังคม ข้อมูลสังคม
เอกสารและข้อความบนอินเทอร์เน็ต การทำดัชนีค้นหาอินเทอร์เน็ต คลังภาพถ่าย
คลังภาพเคลื่อนไหว และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ เป็นต้น
ข้อมูลขนาดใหญ่จะเปิดโอกาสให้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่จึงไม่อาจใช้เพียงความรู้สึก
หรือประสบการณ์ส่วนตัวมาตัดสินใจได้เหมือนในอดีต
ข้อมูลขนาดใหญ่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) เพื่อเชื่อมโยงรูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูล ซึ่งมี 4 รูปแบบ คือ 1)
อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะเหตุใด 2)
นำเอาสถิติเก่ามาวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้นได้อย่างไรในอดีต 3)
พยากรณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อวิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยง และ 4)
ให้คำแนะนำด้านทางเลือกและผลที่ตามมา
โดยรูปแบบสุดท้ายมีความสัมพันธ์กับข้อมูลขนาดใหญ่มากที่สุด
การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่มีประโยชน์ต่อทุกองค์กร ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ด้วยข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา
ทำให้สามารถพยากรณ์และตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที อาจตอบปัญหาความท้าทายที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่และยังหาทางออกไม่ได้
เป็นการเพิ่มโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ในด้านยางพารา
ข้อมูลขนาดใหญ่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเกษตรอัจฉริยะ (Smart
Farming) และภาคอุตสาหกรรม เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อันได้แก่ การลงทะเบียนเกษตรกร
การติดตามข้อมูลสวนยาง ที่ตั้งและเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิตที่ได้ ปริมาณการส่งออก
ราคา ปริมาณความต้องการและการใช้ รวมไปถึงสถานการณ์ตลาด นโยบายภาครัฐ และอื่นๆ
มีผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ ผู้ประกอบการ
หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ระบบข้อมูลยางพาราขนาดใหญ่
เป็นรากฐานสำคัญของการกำหนดแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและมีประสิทธิภาพ
เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้ได้ผลผลิตมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ลดลงในพื้นที่ที่จำกัด
พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยางพารา จะนำไปสู่ราคาที่สูงขึ้น
และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตยางพาราอื่นๆ นอกจากนี้
ข้อมูลขนาดใหญ่จะสามารถแก้ไขประเด็นปัญหาที่โลกให้ความสำคัญในขณะนี้ คือ
ความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ได้แก่
กรรมสิทธิ์ในข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น
สมาคมยางพาราไทยตระหนักถึงความสำคัญและความเร่งด่วนของการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมยางพารา
และคาดหวังว่าข้อมูลขนาดใหญ่จะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาราคายาง
และนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราอย่างยั่งยืนต่อไป