history history
 
   
iconปัจจัยพื้นฐานในตลาดซื้อขายยางพาราไทย [   พฤศจิกายน  2562 ]

 

ตลาดซื้อขายยางพาราไทย เริ่มต้นจากชาวสวนยางเก็บผลผลิตจากสวนในรูปของน้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และเศษยาง จากนั้นจำหน่ายผลผลิตของตนผ่านพ่อค้าผู้รวบรวมยางรายย่อย รายกลาง รายใหญ่ หรือสหกรณ์ เพื่อจำหน่ายต่อให้แก่โรงงานยางพาราแปรรูปขั้นต้นประเภทต่างๆ เช่น โรงงานน้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางคอมปาวด์ และยางผสม เป็นต้น จากนั้นจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ หรือผู้ส่งออกเพื่อจำหน่ายไปต่างประเทศต่อไป

Wish you buy US AAA replica breitling watches with less money here.

With Swiss movements and practical functions, US perfect online hublot replica watches are worth having!

วัตถุดิบยางพาราจากเกษตรกรที่ผลิตมากที่สุดในปี 2561 คือยางก้อนถ้วย/เศษยาง ร้อยละ 60 ของผลผลิตทั้งหมด รองลงมาคือ น้ำยางสดร้อยละ 40 (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) จะถูกรวบรวมผ่านช่องทางการจำหน่าย 3 ช่องทางคือ การจำหน่ายผ่านพ่อค้าท้องถิ่นถึงโรงงาน การจำหน่ายจากเกษตรกรตรงถึงโรงงาน การจำหน่ายผ่านตลาดกลาง โดยช่องทางที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้จะอยู่ภายในประเทศทั้งสิ้น กรณีที่กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ชาวสวนยางรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งก็จะผลิตยางแผ่นรมควันไม่อัดก้อนและยางแผ่นผึ่งแห้งจำหน่ายในตลาดกลาง เมื่อโรงงานแปรรูปได้วัตถุดิบแล้วก็จะผลิตสินค้ายางพาราขั้นต้น โดยในปี 2561 ได้ผลผลิตรวม 4.88 ล้านตัน(ANRPC) มีสัดส่วนดังนี้ ยางแท่ง 35.70 % ยางคอมปาวด์และยางผสม 29.44 % ยางแผ่นรมควัน 17.04 % น้ำยางข้น 16.60 % และยางอื่น ๆ 1.22 % (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร)จากนั้นก็ทำการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 85 อีกร้อยละ 15 จำหน่ายให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่อยู่ภายในประเทศ ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ และถนนยางพารา(para soil cement)เป็นต้น  โดยปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติในปี 2561 รวมทั้งสิ้น 4.11 ล้านตัน(ANRPC) มีสัดส่วนดังนี้ ยางธรรมชาติร้อยละ 68.85 ยางคอมปาวด์และยางผสมร้อยละ 31 % จึงถือว่าช่องทางการจำหน่ายสินค้ายางพาราขั้นต้นมี 2 ช่องทาง คือ การจำหน่ายภายในประเทศ  และการจำหน่ายในต่างประเทศ
  ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดยางมีหลายฝ่าย ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย การบริโภค โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยางพารา ได้แก่ เจ้าของสวนยาง สหกรณ์กองทุนสวนยาง โรงงานแปรรูปต่าง ๆ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยางพารา ได้แก่ พ่อค้ายางในประเทศ และพ่อค้ายางส่งออก ผู้บริโภคสินค้ายางพารา ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางทั้งในและต่างประเทศ และหน่วยงานของรัฐได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย โดยทั่วไปการค้ายางมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1.)การซื้อขายโดยตรงระหว่างผู้ส่งออกและผู้ใช้ยาง (Direct Trade) โดยอ้างอิงราคาซื้อขายยางจากตลาดล่วงหน้า SICOM และ TOCOM  แต่จะไม่มีราคาซื้อขายจริงเปิดเผยให้อ้างอิงได้  ส่วนใหญ่ผู้ค้ายางนิยมซื้อขายกันโดยตรง (Direct Trade) เพราะมีความคล่องตัวและมีค่าใช้จ่ายถูก  2.)การซื้อขายผ่านตลาดล่วงหน้า(Futures Market) อาทิเช่น ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเทศไทย(TFEX) ตลาดล่วงหน้าของสิงคโปร์ (SICOM) ตลาดล่วงหน้าโตเกียว (TOCOM) ของญี่ปุ่น และตลาดเซี่ยงไฮ้(SHFE) ของประเทศจีน โดยผู้ซื้อและผู้ขายต้องการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางในอนาคต และ 3.)การค้าต่างตอบแทน(Counter Trade) ระหว่างภาครัฐไทยและต่างประเทศ โดยมีจุดประสงค์หลักคือ เป็นการช่วยผลักดันการส่งออกสำหรับสินค้าที่ผลิตได้เกินความต้องการ อย่างไรก็ตามมีการประเมินว่าการค้าต่างตอบแทนทำให้ต้นทุนการส่งออกสูงขึ้น และไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้สภาไตรภาคียางพาราระหว่างประเทศ(International Tripartite Rubber Council : ITRC) มีแนวความคิดในการจัดตั้งตลาดยางภูมิภาค(Regional Rubber Market) เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคายาง  ในส่วนประเทศไทยมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งตลาดรับมอบจริง(Exchange Trade Fund: ETF) เพื่อสร้างเสถียรภาพราคายาง และสะท้อนราคาที่แท้จริงในตลาดยางพารา
จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ตลาดซื้อขายยางพาราไทย มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับหลายฝ่ายทั้งเกษตรกรชาวสวนยาง ภาครัฐ และเอกชน ทั้งผู้ผลิตยาง และผู้ใช้ยางภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นเป็นความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในการผลักดันและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราไทยไปสู่ระดับสากลและมีความเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมยางพาราไทย

นายไชยยศ  สินเจริญกุล
 นายกสมาคมยางพาราไทย

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด