history history
 
   
iconการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) [   กรกฏาคม  2563 ]

 

การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG Model   คือการสร้างความสมดุลให้ “เศรษฐกิจสามารถเติบโตควบคู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน” โดยนำองค์ความรู้ การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาต่อยอดความเข้มแข็ง นั่นก็คือ การนำคุณค่าจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมาแปลงเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ มาปรับเปลี่ยนระบบการบริโภคและการผลิตที่นำไปสู่กระบวนการที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อรักษาความสมดุลและตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
Best quality Swiss rolex replica watches are all available at low prices.

Both men and women are worth the 1:1 perfect fake cartier watches US online with cheapest prices and high quality.

BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-Economy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง  เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยเปลี่ยนข้อได้เปรียบที่ไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม(Competitive Advantage)  เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 

รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมอย่างมาก จึงได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการประชุมสมัชชา BCG โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี และผ่านช่องทางออนไลน์  ในการนี้นางสาวปิยภรณ์ แซ่ลิ่ม ผู้จัดการสมาคมยางพาราไทย นายสุจินต์ เอกวานนท์ เลขานุการสมาคมฯ และนายภูดิท จันทวดี เจ้าหน้าที่สมาคมฯ ได้เข้าร่วมประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ 

ที่ประชุมได้มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและเห็นว่าภาคการเกษตรไทยยังคงประสบปัญหาต่างๆ อย่างมาก ได้แก่ 1)การขาดแคลนน้ำ/ภาวะแห้งแล้ง ซึ่งจะต้องมีการบริหารการจัดการน้ำในภาคเกษตรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด 2)การขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรในอนาคต เนื่องด้วยคนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสนใจในภาคเกษตร และ 3)ต้นทุนในการผลิตของไทยค่อนข้างสูง แต่ให้ผลผลิตต่ำ ทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันกับคู่ค้า  นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นว่าการพัฒนา BCG สาขาเกษตร ส่งผลดีคือ 1) การเพิ่ม GDP 2)การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดการสูญเสีย 3)การสร้างความมั่นคงทางอาชีพและการจ้างงาน 4)เกษตรกร/ผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง 5)ผู้บริโภคมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีจากการบริโภคผลผลิตที่มีคุณค่าทางโภชนาการ 6)ลดการปนเปื้อนของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม 7)ลดการเผา และฝุ่นละอองขนาดเล็ก 8)ทรัพยากรมีความยั่งยืนจากการใช้ทรัพยากรดิน และน้ำอย่างคุ้มค่า และ 9)เพิ่มพื้นที่สีเขียว สำหรับมาตรการขับเคลื่อน BCG Model สาขาเกษตร ได้แก่ 1)กฎหมายที่มีผลต่อการยกระดับรายได้ สนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 2)กฎหมายต่อความก้าวหน้าและการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น การเร่งรัดการขึ้นทะเบียนปัจจัยการผลิต 3)สนับสนุนการสร้าง/พัฒนาอาสาสมัครเกษตรสาขานวัตกรรมเกษตร 4)การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่เพิ่มเติม 5)การลงทุนติดตั้งสถานที่ตรวจวัดอากาศขนาดเล็กในพื้นที่เพื่อการวางแผนการผลิตและระบบเตือนภัย 6)การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อบูรณาการฐานข้อมูลเกษตร(Big Data) 7)การส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล ทุกระดับ ทั้งนโยบาย อุตสาหกรรม และเกษตรกร

โดยสรุป การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG Model จะเน้นการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการกระจายโอกาส รายได้ และความเจริญ ไปสู่ประชาชนของประเทศอย่างทั่วถึง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง




นายไชยยศ  สินเจริญกุล
 นายกสมาคมยางพาราไทย

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด