history history
 
   
iconความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย [   ตุลาคม  2563 ]

 

ปัจจุบันสถานการณ์ยางพารามีแนวโน้มชะลอตัวในทิศทางเดียวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้ยางโลก โดยส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานและการหยุดชะงักของตลาด อีกทั้งราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลงตามแรงอุปสงค์ที่แผ่วลง โดยเฉพาะจากประเทศจีน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้ยางพาราไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง  จากสถานการณ์ราคายางตกต่ำส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก   โอกาสนี้ สภาไตรภาคียางระหว่างประเทศได้จัดการประชุมทางไกลครั้งที่ 34  เมื่อวันที่ 22-23 กันยายน 2563  โดยมี Mr. Ravi Muthayah เลขาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและโภคภัณฑ์มาเลเซีย เป็นประธานการประชุม และ Mr. Mad Zaidi Bin Mohd Karli ประธาน ITRC มาเลเซีย Mr. Antonius Yudi Triantoro ประธาน ITRC อินโดนีเซีย นายพิศาล พงศาพิชณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย ประธาน ITRC ไทย ผู้แทน ITRC นายศุภเดช อ่องสกุล รองเลขาธิการสมาคมยางพาราไทย นางสาวปิยภรณ์ แซ่ลิ่ม ผู้จัดการสมาคมยางพาราไทย และเจ้าหน้าที่สมาคมฯ เข้าร่วมประชุม
Buying is earning! You cannot miss the online shop of perfect replica breitling watches UK with high quality.

Men and women are both worth the high quality replica watches UK wholesale.
ประเด็นสำคัญจากการประชุมดังนี้ 1)เห็นชอบให้มีการจัดตั้งสภายางอาเซียน(ARCo: ASEAN RUBBER COUNCIL) โดยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และโครงสร้างของอาเซียน 2)เน้นย้ำถึงความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างสมาชิก ITRC ในการปฏิบัติตามมาตรการบริหารจัดการผลผลิต(SMS) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจัดการอุปทานของยางธรรมชาติ  ตามเป้าหมายที่วางไว้ในปี 2568 ดังนี้ ไทย : 4.358 ล้านตัน อินโดนีเซีย : 3.671 ล้านตัน และมาเลเซีย : 1.786 ล้านตัน  นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นว่าสมาชิก ITRC ต้องมุ่งเน้นที่การปรับปรุงการผลิตโดยการปรับใช้ GAP และระบบกรีดที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการเพิ่มพื้นที่ปลูกยาง 3)เห็นชอบให้มีการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในแต่ละประเทศสมาชิก ITRC ให้มากขึ้น(DPSC) 4)เห็นชอบให้มีการลงนามความร่วมมือเรื่องถนนยางพารา MEMORANDUM OF COOERATION (MOC) ON RUBBERISED ROAD  5)เห็นชอบให้มีการศึกษาผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการดำเนินการของรัฐบาลสามประเทศ ตั้งแต่ก่อน-ระหว่าง-หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 6)เห็นชอบให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนของยางธรรมชาติ 7)เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ(AD-HOC COMMITTEE) เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานและแนวทางการดำเนินงานของ ITRC/IRC๐ และ 8)รับทราบการจดสิทธิบัตรเรื่องกฎระเบียบสำนักอนุญาโตตุลาการของบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ(IRC๐)พ.ศ.2561 และรักษาลิขสิทธิ์กับสำนักงานศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (IP IDE CENTER) ภายใต้กรมทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย โดยได้รับการคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2563

สมาคมยางพาราไทยยินดีสนับสนุนนโยบายสำคัญของรัฐบาลสามประเทศ และเห็นว่าความร่วมมืออย่างเข้มแข็งด้านยางพาราระหว่างไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพราคายาง และมีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติของโลกให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป





นายไชยยศ  สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด