history history
 
   
iconความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) [   พฤศจิกายน  2563 ]

 

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (“RCEP” หรือ “อาร์เซ็ป”) เป็นความตกลงร่วมกันของอาเซียนกับออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และนิวซีแลนด์ ให้กว้างและลึกขึ้น โดยทุกประเทศรวมกันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม(GDP) ประมาณ 30 % ของ GDP โลก และมีประชากรรวมกันถึง 2,252 ล้านคน คิดเป็น 30 % ของประชากรโลก ความตกลงอาร์เซ็ปมีคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการคือ 1) มีความทันสมัย โดยมีการปรับปรุงขอบเขตของความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาที่มีอยู่แล้ว(อาเซียน+1) กับ 5 ประเทศ และคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงและรูปแบบการค้าตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น 2) มีความครอบคลุม ทั้งในส่วนของขอบเขตและความลึกของข้อผูกพัน โดยมีบทบัญญัติพิเศษที่ครอบคลุมการค้าสินค้า บริการ รวมถึงกฎระเบียบ และประเด็นด้านกฎหมาย  นอกจากนี้ความตกลงอาร์เซ็ปบรรลุการเปิดเสรีการค้าสินค้าและบริการ และการลงทุน 3)มีคุณภาพสูง โดยความตกลงอาร์เซ็ปประกอบด้วยบทบัญญัติที่เกินกว่าความตกลงอาเซียน+1 ที่มีอยู่  และตระหนักถึงระดับการพัฒนาและความต้องการทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของภาคีแต่ละประเทศ และ 4)ได้รับประโยชน์ร่วมกัน ด้วยความตกลงอาร์เซ็ปเป็นการรวมประเทศที่มีความแตกต่างกันในระดับของการพัฒนา และได้รับการออกแบบให้เหมาะสมและยืดหยุ่นแก่ประเทศภาคีสมาชิกอาร์เซ็ป 

For men and women, the top Swiss replica breitling watches UK can be best choices.

The best quality Canada fake watches can meet common demands. All the hot replica watches for sale are available.

ความตกลงอาร์เซ็ปจะเป็นประโยชน์ร่วมกันในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการขยายตัวทางการค้าการลงทุนภายในภูมิภาค รวมถึงสร้างความเติบโตและพัฒนาสู่เศรษฐกิจโลก และนำไปสู่โอกาสในการเข้าสู่ตลาดและการจ้างงานของภาคธุรกิจและประชาชนในภูมิภาค โดยความตกลงอาร์เซ็ปจะดำเนินงานควบคู่และสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้าง ครอบคลุม และเป็นไปตามกติกา โดยมีสาระสำคัญ 20 บทคือ 1)บทบัญญัติเบื้องต้นและคำนิยามทั่วไป 2)การค้าสินค้า 3)กฎถิ่นกำเนิดสินค้า 4)พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 5)มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 6) มาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และกระบวนการตรวจสอบและรับรอง 7)การเยียวยาทางการค้า 8)การค้าบริการ 9)การเคลื่อนย้ายชั่วคราวของบุคคลธรรมดา 10)การลงทุน 11)บททรัพย์สินทางปัญญา 12)พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 13)การแข่งขันทางการค้า 14)วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 15)ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ 16)การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 17)บทบัญญัติทั่วไปและข้อยกเว้น 18)บทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน 19)บทการระงับข้อพิพาท และ 20)บทบัญญัติสุดท้าย 

ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 37 และมีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(อาร์เซ็ป) โดยรัฐมนตรีการค้าภาคีสมาชิกทั้ง 15 ประเทศ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 โดยไทยจะได้นำอาร์เซ็ป เข้าสู่การประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการให้สัตยาบัน คาดว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการกลางปี 2564  ซึ่งข้อตกลงอาร์เซ็ปจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ทั้งเรื่องการลดภาษีสินค้าบริการ การลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา สินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาหาร ตลอดจนสินค้าอุตสาหกรรมทั้ง อุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ และภาคบริการก็จะได้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้ 

จากข้อมูลดังกล่าว ประมวลได้ว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(อาร์เซ็ป)จะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในกลุ่มประเทศภาคีสมาชิกอาร์เซ็ป  และจะเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีมูลค่ามหาศาล  คาดว่าจะก่อให้เกิดผลประโยชน์เชิงยุทธ์ศาสตร์ให้กับสังคมยางและประเทศไทยโดยภาพรวมเช่นเดียวกัน



นายไชยยศ  สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด