history history
 
   
iconBrexit และผลกระทบต่อการส่งออกของไทย [   มกราคม  2564 ]

 

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ‘Brexit’ กลายเป็นคำที่คุ้นหูของทุกคน  เบร็กซิต (Brexit) หมายถึง การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรที่กำลังเกิดขึ้นหลังการลงประชามติเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ซึ่งมีผู้ออกเสียงสนับสนุนการถอนตัวร้อยละ 51.9 และรัฐบาลใช้ข้อ 50 แห่งสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรปเป็นการเริ่มกระบวนการ และนี่ไม่เพียงแต่เป็นครั้งแรกที่มีการถอนตัวจากกลุ่มความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ แต่ยังเกิดขึ้นกับกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นและลึกซึ้งอย่างสหภาพยุโรป(EU) จึงก่อให้เกิดความกังวลถึงผลกระทบของ Brexit ที่จะมีต่อเศรษฐกิจโลก หลายประเทศติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปภายหลัง Brexit จะเป็นอย่างไร
The best Canada fake watches for men and women are fine and cheap. Fast shipping and quality guarantee.

With Swiss movements, the luxury replica watches UK for sale must be considered. You buy, you earn!
 
กระบวนการ Brexit หรือการออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักรยืดเยื้อมานานถึง 4 ปี นับตั้งแต่การลงประชามติในปี 2559 โดยมีเส้นตายการทำข้อตกลงกับ EU ให้ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มิฉะนั้น อังกฤษจะต้องออกจาก EU  โดยไร้ข้อตกลง  กระบวนการเจรจา Brexit มีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การจัดทำข้อตกลงถอนตัว (Withdrawal Agreement) ซึ่งเพิ่งเสร็จเมื่อต้นปี 2563 เพราะติดขัดในประเด็นซับซ้อน จากนั้นทั้งสองฝ่ายได้เริ่มเจรจาข้อตกลงเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายหลัง Brexit ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา โดยมีประเด็นที่ดูเหมือนจะไม่สามารถหาจุดร่วมกันได้เลย จนหลายฝ่ายเกรงว่าสหราชอาณาจักรจะต้องออกจากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคธุรกิจ  แต่แล้วเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 สหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปก็ประกาศว่าสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างกันได้แล้ว 

ความสำเร็จสำคัญของข้อตกลง Brexit คือสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปยังสามารถทำการค้าแบบปลอดอากรและปลอดโควตาระหว่างกันต่อไปได้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงคือจะมีพิธีการศุลกากรที่ซับซ้อนขึ้น มีด่านตรวจสินค้าที่พรมแดน มีข้อกำหนดเรื่องใบขนสินค้าขาเข้าและขาออก เป็นต้น โดยสหภาพยุโรปจะกำหนดให้หลักการเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรมและสิทธิในการใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าแบบครอบคลุมเป็นบรรทัดฐานสำหรับการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศต่างๆ ในอนาคตทั้งหมด โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นจาก Brexit  ดังนี้ 1)เขตปลอดภาษีทางการค้า และไม่จำกัดโควตาการนำเข้า-ส่งออก 2)สิ้นสุดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีระหว่างประชาชนในสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรป 3)จัดตั้งจุดตรวจชายแดนระหว่าง EU กับอังกฤษ 4)จะไม่มีการจัดตั้งด่านชายแดนถาวร (hard border) ระหว่างพื้นที่ไอร์แลนด์เหนือกับประเทศไอร์แลนด์ 5)น่านน้ำการประมงของอังกฤษจะค่อยๆ ทยอยกลับคืนสู่อังกฤษ 100% ภายในเวลา 5 ปีครึ่ง 6)ยังคงมีสัญญาต่อกันในการสร้างความร่วมมือ ด้านสิ่งแวดล้อม สู้โลกร้อน และลดการปล่อยคาร์บอน รวมถึงความสนใจที่ตรงกันในด้านอื่นๆ เช่น พลังงาน ความปลอดภัย ขนส่งสาธารณะ 7)สัญญาร่วมกันในการปกป้องสิทธิแรงงานและสังคม 8)รักษามาตรฐานความโปร่งใสด้านภาษี 9)สิทธิแรงงานและผู้โดยสารในธุรกิจขนส่ง และ10)โปรแกรมต่อเนื่องที่สหราชอาณาจักรมีร่วมกับ EU จนถึงปี 2027 

อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 1 มกราคม 2021 ผู้ส่งออกสินค้าไปยังสหราชอาณาจักรจากประเทศที่ไม่มีข้อตกลงทางการค้า จะต้องใช้อัตราภาษีของสหราชอาณาจักร(UK Global Tariff : UKGT) แทนอัตราภาษีภายใต้กรอบเดิมของอียู(Common External Tariff : EU CET) โดยสหราชอาณาจักรได้พิจารณาปรับอัตราภาษี UKGT  ให้เหมาะสมตามความต้องการของประเทศ และสนับสนุนธุรกิจในประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ลดอัตราภาษีแก่สินค้าอุปโภคบริโภค ของใช้ในครัวเรือน สินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตในห่วงโซ่อุปทาน สินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้เอง สินค้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียว และยังได้ยกเว้นอัตราภาษีนำเข้าชั่วคราวแก่สินค้ายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้ป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งนี้ผู้ส่งออกไทยจะได้รับประโยชน์จากโครงสร้างอัตราภาษีใหม่ของสหราชอาณาจักร การแข่งขันที่เป็นธรรม(Fair Competition) และเกิดการค้ากันมากขึ้น(Trade Creation)  โดยสินค้าไทยหลายรายการจะได้รับประโยชน์จากอัตราภาษีใหม่ที่มีการยกเว้นภาษี ซึ่งสินค้าสำคัญที่ไทยจะได้รับประโยชน์จากภาษีนำเข้าที่ลดลงได้แก่ ไก่แปรรูป ถุงมือยาง รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องเพชรพลอย เป็นต้น นอกจากนี้หากไทยบรรลุข้อตกลง FTA กับสหราชอาณาจักร จะทำให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป เครื่องนุ่งห่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ ยางรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

จากข้อมูลเบื้องต้นประมวลได้ว่าการบรรลุข้อตกลง Brexit  ส่งผลดีต่อภาพรวมการส่งออกไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมถุงมือยาง ยางรถยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์  โดยประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ทางด้านโครงสร้างภาษีใหม่และโอกาสทางการค้ามหาศาล  



นายไชยยศ  สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด