history history
 
   
iconรู้เขารู้เราเรื่องยางสังเคราะห์ [   กรกฏาคม  2564 ]

 

ยางพาราเป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ แหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญอยู่บริเวณแหลมมลายู เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศและภูมิประเทศเหมาะสมทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายนับแต่ปี พ.ศ. 2425 เป็นต้นมา ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบสำคัญที่นำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางเช่น ยางล้อ ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย พื้นรองเท้า และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เส้นทางการจำหน่ายยางธรรมชาติถูกตัดขาด เกิดปัญหาการขาดแคลนยางธรรมชาติอย่างรุนแรง จึงได้มีการวิจัยพัฒนายางสังเคราะห์ซึ่งเป็นผลผลิตพลอยได้จากน้ำมันเพื่อใช้ทดแทนยางธรรมชาติ ปัจจุบันยางสังเคราะห์ได้ทำการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์มากขึ้น ทำให้ยางธรรมชาติที่มีอยู่ไม่พอเพียง และอุตสาหกรรมมีความต้องการยางที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ทนทานต่อน้ำมัน ทนทานต่อการสึกหรอสูง และทนทานต่ออุณหภูมิสูง เป็นต้น

This website offers AAA perfect fake cartier watches for Canada with Swiss movements.

The best cheap cartier super clone watches UK are suitable for men and women.

ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ล้วนมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวัตถุดิบยาง และมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกันในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เพื่อประโยชน์ในด้านคุณภาพและตรงตามความต้องการของสินค้า ในหลายกรณีสามารถใช้ทดแทนกันได้  เมื่อเปรียบเทียบในเชิงการผลิต  พบว่ายางธรรมชาติเป็นการผลิตในเชิงเกษตรกรรม  เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ รวมทั้งสร้างความยั่งยืนต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ยางสังเคราะห์เป็นการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง  และก่อให้เกิดผลเสียแก่สภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ยางธรรมชาติให้ผลผลิตไม่แน่นอนขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ ขณะที่ยางสังเคราะห์สามารถควบคุมคุณภาพและให้ผลผลิตที่แน่นอน ดังนั้นจึงไม่มีความผันผวนของราคาซึ่งต่างจากยางธรรมชาติ

การผลิตยางของโลกปี 2563 มีปริมาณทั้งสิ้น 24.70 ล้านตัน เป็นยางธรรมชาติ 12.60 ล้านตัน และยางสังเคราะห์ 12.10 ล้านตัน(ที่มา:สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ) และตั้งแต่ปี 2558-2563 การผลิตยางธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.38 ในขณะที่การผลิตยางสังเคราะห์มีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4.10 โดยปี 2563 จีนผลิตยางสังเคราะห์มากที่สุดที่ปริมาณ 3.12 ล้านตัน(25.82%)  รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป  ซึ่งมีการผลิตปริมาณ 1.86 ล้านตัน(15.36%)  และ 1.70 ล้านตัน(14.04 %)  ตามลำดับ ส่วนการใช้ ปี 2563 จีนเป็นประเทศที่ใช้ยางสังเคราะห์มากที่สุดที่ปริมาณ 3.86 ล้านตัน(32.60%) รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ซึ่งมีการใช้ปริมาณ 1.74 ล้านตัน(14.70 %) และ  7.71 ตัน(14.46 %) ตามลำดับ (ที่มา: LMC) โดยมีสัดส่วนการใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์เฉลี่ยร้อยละ 50.52:49.48 

สมาคมยางพาราไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของยางสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะจะมีผลกระทบโดยตรงต่อยางธรรมชาติ โดยสมาคมฯ จะได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารของยางสังเคราะห์เพื่อนำเสนอแก่สมาชิกในโอกาสต่อไป

นายไชยยศ  สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด