history history
 
   
iconความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย [   พฤศจิกายน  2564 ]

 

ปัจจุบันสถานการณ์ยางพารามีแนวโน้มชะลอตัวในทิศทางเดียวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้ยางโลก โดยส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานและการหยุดชะงักของตลาด   โอกาสนี้ สภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) ได้จัดการประชุมทางไกลครั้งที่ 36 เมื่อวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2564  โดยมีนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุม และ Datuk Ravi Muthayah  หัวหน้าคณะผู้แทน  ITRC มาเลเซีย Mr. Farid Amir หัวหน้าคณะผู้แทน ITRC อินโดนีเซีย นายสุขทัศน์ ต่างวิรยกุล รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย หัวหน้าคณะผู้แทน ITRC ไทย นายศุภเดช อ่องสกุล รองเลขาธิการสมาคมยางพาราไทย นางสาวปิยภรณ์ แซ่ลิ่ม ผู้จัดการสมาคมยางพาราไทย นายภูดิท จันทวดี เลขานุการสมาคมฯ และเจ้าหน้าที่สมาคมฯ เข้าร่วมประชุม
Both men and women deserve the AAA Swiss breitling fake watches UK.

If you wanna buy best online replica breitling watches UK, you cannot miss this website.

ประเด็นสำคัญจากการประชุมดังนี้  1) เห็นชอบในการจัดตั้งสภายางอาเซียน (ASEAN Rubber Council : ARCo)  โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนแจ้งว่าจะนำข้อเสนอการจัดตั้งสภาอาเซียน (ARCo) เข้าหารือในการประชุมคณะทำงานด้านพืชของอาเซียนระดับอาวุโส (ASWGC) ต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมได้ขอบคุณผู้แทน NTRC อินโดนีเซีย ในการประสานงานและติดต่อสำนักงานใหญ่อาเซียน สำหรับข้อเสนอการจัดตั้ง ARCo ภายใต้อาเซียน 2) เห็นชอบในการเชิญประเทศไอวารี่โคสต์ เข้าร่วมมือกับ ITRC โดยเชิญเป็นสมาชิก ARCo หรือเป็นสมาชิก Club ของ TIM ร่วมกับสมาชิกประเทศผู้ผลิตยางอื่นๆ 3) ศึกษาการเปลี่ยนสถานะของ IRCo จากบริษัทเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Inter government organization: IGO) 4) พิจารณาการปรับปรุงมาตรการและกลไกต่างๆ ของ ITRC ได้แก่ SMS AETS DPSC  SMO ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 5) พิจารณากลไกราคาอย่างยั่งยืน(Sustainable Price Mechanism :SPM) ซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎระเบียบ WTO ขณะนี้มีการจัดตั้งคณะทำงานในการแก้ปัญหาราคายางในระยะสั้นของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) ซึ่งเห็นว่า SPM อาจแก้ไขปัญหาราคายางได้สำเร็จในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีกลไกอื่นๆ เช่น จัดการอุปทานยางระยะยาว เพิ่มความต้องการใช้ยางธรรมชาติ/นวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ยาง  สร้างรายได้เสริมแก่เกษตรกร และกลไกอื่นๆ หากมี  โดยที่ประชุมเห็นว่าควรนำเรื่อง SPM  ไปหารือในกรอบ ANRPC  

สมาคมยางพาราไทยยินดีสนับสนุนนโยบายสำคัญของรัฐบาลสามประเทศ และเห็นว่าความร่วมมืออย่างเข้มแข็งด้านยางพาราระหว่างไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในกรอบสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) มีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพราคายาง และมีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติของโลกให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป


นายไชยยศ  สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด