เศรษฐกิจโลกในช่วงกลางปี 2564 ที่ผ่านมาเริ่มฟื้นตัวในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากการเปิดเมือง ทำให้อุปสงค์ภายในประเทศเร่งตัวขึ้น แต่ในช่วงปลายปี 2564 ได้มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ หรือ “Omicron” กว่า 90 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสร้างความกังวลให้แก่ประชาชนและนักลงทุนทั่วโลกอีกครั้ง โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2564 สู่ระดับ 5.5% ส่วนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประเมินเศรษฐกิจโลกปี 2564 จะขยายตัว 5.9% ใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อนที่ 6.0% แม้จะมีผลกระทบจาก supply chain disruption แต่ก็ถูกชดเชยด้วยการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคาสูงขึ้นของกลุ่มเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ส่วนเศรษฐกิจโลกในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว 4.9% โดยกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะฟื้นตัวก่อนกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อยกว่า ส่วนเศรษฐกิจไทย IMF ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลงเหลือ 1.0% และ 4.5% ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวได้ช้า และมีความเป็นไปได้ที่หลายประเทศอาจจะล็อคดาวน์อีกครั้งซึ่งสวนทางกับช่วงเศรษฐกิจกำลังเร่งฟื้นตัว จำนวนนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
Best online shop of UK perfect
replica watches are all available.
With best designs and quality, US wholesale
fake watches are worth having!
ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งออกปี 2565 ได้แก่ 1) ความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ “Omicron” 2) แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้น 3) ปัญหาด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และจีน เนื่องจากการผลิตตู้ใหม่ในสหรัฐฯ ลดลง การหมุนเวียนตู้มีความล่าช้า และมาตรการตรวจสอบในการหมุนเวียนตู้มีความเข้มงวดขึ้น 4) ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ เหล็ก น้ำมัน ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อการส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง 5) ปัญหาคอขวดด้านอุปทานของโลก เนื่องจากการผลิตทำได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขณะที่ต้นทุนการผลิตโดยรวมปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเอเชียและไทยต้องแบกรับภาระจากต้นทุนที่สูงขึ้น จากราคาวัตถุดิบและสินค้านำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นตามต้นทุนค่าขนส่ง อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อเนื่องถึงกำลังซื้อผู้บริโภค และทำให้การนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มชะลอตัวลง (ที่มา : สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย)
สถานการณ์ยางพาราปี 2565 คาดว่ามีแนวโน้มชะลอตัวจากปัจจัยด้านสภาวะเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ “Omicron” กอปรกับราคาน้ำมันตลาดโลกมีความผันผวน โดยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยสมาคมผู้ผลิตยางธรรมชาติ(ANRPC) คาดการณ์ว่าผลผลิตยางธรรมชาติโลกจะเพิ่มขึ้น 2.1 % ในปี 2564 ส่วนความต้องการใช้ยางธรรมชาติโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 8.7 % ในปี 2564 และจะปรับเพิ่มขึ้น 8-10 % ในปี 2565 นอกจากนี้ The Economist Intelligence Unit คาดการณ์ว่าผลผลิตยางธรรมชาติโลกจะเพิ่มขึ้น 4.9 % ในปี 2564 และจะปรับเพิ่มขึ้น 3.3% และ 1.8% ในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ ส่วนความต้องการใช้ยางธรรมชาติโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.1 % ในปี 2564 และจะชะลอตัวที่ 3.5 % และ 2.5 % ในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ ส่วนทิศทางการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของไทยในภาพรวมปี 2564 (ยางล้อรถยนต์ ถุงมือยาง ยางวัลแคไนซ์ หลอดและท่อ ยางรัดของ และอื่นๆ) คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมา (ปี 2563 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท 375,388 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.9%)
อย่างไรก็ตาม สมาคมยางพาราไทยมีความเห็นเชิงบวกว่ายางพารายังคงมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลกจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ รวมทั้ง Omicron ที่กำลังระบาดในปัจจุบัน นอกจากนี้มีความร่วมมืออันเข้มแข็งของกลุ่มประเทศสมาชิกสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) ซึ่งประกอบด้วยประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในการออกมาตรการสำคัญต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์แต่ละช่วงเวลา และภาครัฐไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบการยางในหลายมาตรการ ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น RCEP มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV Cars) Digitalization Climate Change และความยั่งยืน เป็นต้น
โดยสรุป สมาคมฯ คาดหวังความร่วมมืออันเข้มแข็งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน เกษตรกร รวมทั้งประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ตลอดจนประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางและความยั่งยืนของยางธรรมชาติตลอดไป
ในโอกาสศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2565 ผมขอส่งความปรารถนาดี และขออำนวยพรให้ท่านและครอบครัว จงประสบแต่ความสุข ความสำเร็จ และความเจริญในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย