history history
 
   
iconความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย [   สิงหาคม  2555 ]

 

 

      ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางรายใหญ่ของโลก ในปี 2554 โลกผลิตยางธรรมชาติได้ 10.7 ล้านตัน เป็นผลผลิตยางของ 3 ประเทศ 7.48 ล้านตัน คิดเป็น 70 % ของผลผลิตยางโลก ผลผลิตยางดังกล่าวเป็นของไทย 33 % อินโดนีเซีย 27 % และมาเลเซีย 10 % ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศผู้ผลิตยาง คือราคายางในตลาดโลกมีการปรับตัวขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจโลก และมีบ่อยครั้งที่ยางพารามีราคาตกต่ำมาก ทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อน  ขณะเดียวกันในบางช่วงราคายางสูงเกินไป ทำให้ผู้ใช้ยางได้รับความเดือดร้อน


      ผู้ผลิตและผู้ใช้ยางทั่วโลก ได้หารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้จัดตั้งองค์กรยางระหว่างประเทศ หรือ INRO ขึ้นในปี 2523 โดยมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย  และได้ยุติบทบาทลงในปี 2542 เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตและผู้ใช้ยางมีทัศนะแตกต่างกันเกี่ยวกับราคายางขั้นต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยการทำให้ราคายางมีเสถียรภาพมากขึ้นและราคายางขั้นต่ำอยู่ในระดับที่น่าพอใจ  ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่คือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้มีการลงนามในแถลงการณ์ร่วมบาหลี (Bali Declaration 2001)  เพื่อการจัดตั้งสภาไตรภาคียางพารา(International Rubber Council : ITRC) ระหว่างประเทศไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย ขึ้นในปลายปี 2544 และต่อมาในปี 2546 ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (International Rubber Consortium Limited : IRCo) โดยได้แต่งตั้งนายแสง อุดมจารุมณี นายกกิตติมศักดิ์สมาคมยางพาราไทย ให้เข้ารับตำแหน่ง CEO คนแรกของบริษัทร่วมทุน ฯ  และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สถาบันวิจัยยาง  กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
Where can you buy uk best quality replica watches? Swiss fake watches online store can be a good choice.

UK omega copy watches Paypal with Swiss movements are worth having.

 

      บทบาทสำคัญของสภาไตรภาคียางพาราระหว่างประเทศ คือความรับผิดชอบในการกำกับดูแลการดำเนินการตามมาตรการจัดการด้านปริมาณการผลิต (Supply Management Scheme : SMS) และมาตรการจำกัดปริมาณการส่งออก (Agreed Export Tonnage Scheme : AETS)  รวมทั้งรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและการส่งออกรายงานให้คณะกรรมการระดับรัฐมนตรี ส่วนบริษัทร่วมทุน ฯ  มีบทบาทสำคัญคือ การกำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินด้านการตลาดให้ราคายางพารามีระดับราคาที่สูง มีเสถียรภาพและเกษตรกรสามารถขายยางมีกำไรคุ้มการลงทุน

 

      อย่างไรก็ตาม ราคายางได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้สินของกลุ่มยูโรโซนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นับเป็นปัจจัยลบต่ออุตสาหกรรมยางและการพัฒนายางของประเทศผู้ผลิตยางทั่วโลก  สภาไตรภาคียางพาราระหว่างประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันวางแผนพัฒนายางทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอกับความต้องการของตลาดโลก  และไม่มีการปลูกมากเกินไป จนผลผลิตล้นตลาด ส่งผลให้ราคายางตกต่ำ

 

      โดยสรุป ความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย จะมีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพราคายางและมีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

 

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด