history history
 
   
iconการแทรกแซงราคายาง [   กันยายน  2555 ]

 

 

      ราคายางในตลาดโลกมีความผันผวนตามกลไกตลาด อุปสงค์และอุปทาน และจากภาวะเศรษฐกิจโลก  เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจะส่งผลให้ราคายางตกต่ำ ทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นแนวทางหนึ่งที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางให้จำหน่ายยางในราคาที่สูงขึ้นคือการแทรกแซงราคายาง  โดยตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ใช้การแทรกแซงราคายางในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ และรัฐบาลได้มีการแทรกแซงราคายางล่าสุดในปี 2555 จากการที่ราคายางปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้สินของกลุ่มยูโรโซนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555   คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง เพื่อให้มีราคารับซื้อที่เหมาะสมและยั่งยืนอยู่ที่ระดับประมาณ 120 บาทต่อกิโลกรัม โดยได้อนุมัติวงเงิน 15,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการโครงการ อย่างไรก็ตามราคายางยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป จีนและพื้นที่อื่นๆ ต่อมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้องค์การสวนยางกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในส่วนของสถาบันเกษตรกร จำนวน 2,000 ล้านบาท   ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เพื่อดำเนินการตามโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้องค์การสวนยาง กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงิน 30,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เพื่อดำเนินการตามโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง  โดยครั้งนี้ขออนุมัติเบิกจ่าย 5,000 ล้านบาท และต่อไปทุกครั้งจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเบิกจ่ายงวดละ 5,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ



2022 fake rolex watches online uk with high quality on sale.

Buy uk cheap breitling replica watches with high quality for men.
      การแทรกแซงราคายางมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวสวนยาง ช่วยให้ชาวสวนยางจำหน่ายยางได้ในราคาสูงขึ้น หรือเมื่อกลไกตลาดล้มเหลว อย่างไรก็ตามการแทรกแซงราคายางควรดำเนินการเท่าที่จำเป็นในระยะสั้น โดยคำนึงถึงปัญหาและผลกระทบที่จะตามมาอย่างรอบด้าน นอกจากนี้ควรแทรกแซงในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  ส่วนแนวทางอื่นที่ควรดำเนินการควบคู่ในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำอย่างยั่งยืนได้แก่ การลดต้นทุนการผลิตหรือเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนายางอย่างจริงจัง การสนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศให้มากขึ้นเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อเพิ่มมูลค่า การสนับสนุนอาชีพเสริมแก่ชาวสวนยางเพื่อเพิ่มรายได้ และการส่งเสริมด้านสวัสดิการสังคมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้และมีความเข้มแข็ง รวมทั้งความร่วมมือด้านยางพารากับประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในการดำเนินมาตรการต่างๆ ตามความเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ เช่น การลดอุปทานยางในตลาดโลกลง และการจัดตั้งตลาดยางภูมิภาค(Regional Rubber Market) เป็นต้น

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด