ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน โดยอาเซียนผลิตยางพาราในสัดส่วนสูงที่สุดในเอเชีย และเป็นผู้ส่งออกยางพาราสู่ตลาดโลกมากที่สุด มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 33.1 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลก สร้างรายได้จากการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางกว่าปีละ 678,000 ล้านบาท มีประชาชนที่เกี่ยวข้องกับยางพาราไม่น้อยกว่า 6 ล้านคน ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ไทยจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว
Hope you find wholesale fake rolex watches here with less money.
Cheap replica watches online store uk - Rolex, Omega, Cartier, Breitling and etc. are all available.
ยางพาราเป็นหนึ่งในสาขานำร่อง 12 สาขาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยไทยส่งออกยางพาราไปยังตลาดอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 14 ของการส่งออกยางพาราทั้งหมด อาเซียนได้แสดงภาวะผู้นำของโลกในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางร่วมกัน และร่วมมือกับประเทศพันธมิตรนอกกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ อาเซียนบวก 3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) และอาเซียนบวก 6 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย) นอกจากจะต้องรวมตัวกันเป็นฐานการผลิต และตลาดร่วมแล้ว ยังต้องหาหนทางลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต และเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ไทยควรเสริมจุดแข็งสินค้ายางพารา ด้านองค์ความรู้ ทักษะ คุณภาพสินค้า ต้องปรับจุดอ่อนด้านต้นทุนการผลิต ได้แก่ แรงงาน การขนส่ง การควบคุมมาตรฐานสินค้า ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพารา โครงสร้างและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ
ปัจจุบันไทยส่งออกยางพาราในรูปของสินค้าแปรรูปขั้นต้น เช่น ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้นยางแท่ง และยางคอมปาวด์ เป็นต้น แนวโน้มความต้องการยางในตลาดโลกเป็นไปในรูปของความต้องการยางแท่งเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีราคาถูก สะดวกต่อการขนส่ง และยังสามารถควบคุมมาตรฐานได้ดีกว่ายางแผ่นรมควัน ในอนาคต หากยังไม่มีการปรับกระบวนการผลิตใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด จะส่งผลให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันเป็นอย่างมาก โดยภาครัฐควรสนับสนุนด้านเครื่องจักร และเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ เพื่อแปรรูปยางพาราเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ ผู้ประกอบการต้องปรับทัศนคติ พร้อมแสวงหาการลงทุน ขยายพื้นที่ปลูกยางในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า ได้แก่ ลาว และเวียดนาม ในการส่งออกไปจีน เพื่อความสะดวกทางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
นอกจากนี้ภาครัฐควรมีการสนับสนุนและพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการและบุคลากรด้านอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน และการพัฒนาทักษะให้มีความพร้อมต่อเทคโนโลยีใหม่ให้มีระดับแรงงานที่สามารถรองรับได้ ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง หากไทยจะมีแนวทางยุทธศาสตร์เพียงด้านขยายพื้นที่อย่างเดียว หรือด้านการพัฒนาผลผลิตนั้นคงไม่เพียงพอ ต้องเน้นกลยุทธ์การจัดการกลไกทางตลาด และการสร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าการส่งออกวัตถุดิบ โดยใช้ประโยชน์จากการวิจัยและเทคโนโลยี เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม การเพิ่มคุณภาพ พัฒนาตลาดยาง
สมาคมยางพาราไทยเล็งเห็นว่า หากไทยได้เตรียมความพร้อมและวางแผนระยะยาว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการตามแผนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะทำให้ไทยยังสามารถครองตำแหน่งการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางได้อย่างยั่งยืนต่อไปได้