history history
 
   
iconความก้าวหน้าโครงการวิจัยยางพารา [   มิถุนายน  2557 ]

 

            บทบาทสำคัญประการหนึ่งของสมาคมยางพาราไทย คือการเข้าร่วมประชุมวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนายางพารา เพื่อเสนอความคิดเห็นแก่นักวิจัยในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และขยายผลวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์  ซึ่งในปี 2557 สมาคมยางพาราไทย โดยนายสมบูรณ์ พฤกษานุศักดิ์ ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายขนส่งและประกันภัย นางสาวปิยภรณ์ แซ่ลิ่ม ผู้จัดการสมาคมฯ  นายสุจินต์ เอกวานนท์ เลขานุการ     สมาคมฯ นางสาวธัญวรัตน์ รุขะจี  ผู้ช่วยผู้จัดการสมาคมฯ และนายภูมิเมธ จันทวดี เจ้าหน้าที่สมาคมฯ ได้เข้าร่วมประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยยางพารา (ครั้งที่ 2) ภาคใต้ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ        โรงแรมโกลเด้นคราวน์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2557               

           
            โครงการวิจัยยางพารา มีจุดมุ่งหมาย
ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากยางพารา หรือผลิตภัณฑ์ที่มียางพาราเป็นองค์ประกอบ เพื่อการเพิ่มมูลค่าและเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศ และการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นทางเลือกกับผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งนี้จะต้องมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดหรือสามารถทดแทนผลิตภัณฑ์เดิมได้ และผู้ประกอบการสามารถนำไปต่อยอด ขยายผลสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ นักวิจัยได้เสนอผลงานที่น่าสนใจดังนี้ 1) พอลิเมอร์จากยางธรรมชาติสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ทางเภสัชกรรม ได้แก่  โครงการเตรียมแผ่นปะผิวหนังลิโดเคนจากน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำผสมแป้งชนิดต่างๆ   โครงการเตรียมโครงสร้างความพรุนสูงจากยางธรรมชาติบรรจุยายับยั้งโรค และโครงการเตรียมไฮโดรเจลจากโครงสร้างเชื่อมโยงของยางธรรมชาติและแป้งเพื่อเร่งการหายของแผลเรื้อรัง ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากยางพาราและมีมูลค่าเพิ่ม  2) การวัดปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางธรรมชาติโดยใช้แสงเลเซอร์ฮีเลียมนีออน การวิจัยนี้ต้องมีการพัฒนาความถูกต้องและแม่นยำในการตรวจวัด เพื่อทดแทนการวัดปริมาณเนื้อยางโดยการอบแห้ง 3) การพัฒนายางธรรมชาติให้มีความหนืดมูนนี่ต่ำและคงที่ (LoV) ปริมาณไนโตรเจนและปริมาณเจลต่ำในระดับอุตสาหกรรม การวิจัยนี้ยังไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่คือยางไร้สี ไร้กลิ่น ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์  4) การประเมินศักยภาพการเพิ่มอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยการหมักร่วมและอัตราการทดแทนเชื้อเพลิงไม้ฟืนของสหกรณ์ผลิตยางแผ่นรมควัน ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนเกษตรกรชาวสวนยางและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน 5) การพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งด้วยคลื่นไมโครเวฟร่วมกับลมร้อนเพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตยางแท่ง STR 20 ระดับอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบระบบ และพัฒนาความถูกต้องแม่นยำ 6)ระบบต้นแบบในการใช้คุณสมบัติเชิงไฟฟ้าในการควบคุมการขึ้นรูปยาง ประกอบด้วย โครงการใช้สมบัติเชิงไฟฟ้าในการติดตามกระบวนการวัลคาไนซ์ของยางในขณะขึ้นรูปด้วยการอัดเบ้า  โครงการพัฒนาเซ็นเตอร์สำหรับวัดสมบัติเชิงไฟฟ้าของยางในขณะการขึ้นรูปด้วยการอัดเบ้า และโครงการระบบต้นแบบในการวัดและบันทึกข้อมูลสมบัติเชิงไฟฟ้าของยางขณะวัลคาไนซ์  ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบระบบ และ 7) โครงการเครื่องเลื่อยไม้ยางพาราแบบใหม่เพื่อลดการสูญเสีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรมไม้ยางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการสูญเสีย

You can possess best uk replica watches if you intensively read the website.

From the website, you can know more detailed information about aaa quality hublot replica watches.

             การวิจัยและพัฒนามีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราไทยให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สมาคมฯ คาดหวังความร่วมมือและการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ  และภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่ผลงานวิจัยในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศในภาพรวม

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด