ปัจจุบันประเทศอินเดียมีการขยายตัวด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ คาดการณ์ว่าอินเดียจะเติบโต 6 % ในปี 2556 และสถาบันทางเศรษฐกิจโลกคาดการณ์ว่าภายในปี 2583 อินเดียจะเป็น 1 ใน 3 ประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีนและอินเดีย อย่างไรก็ตามอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอินเดียได้แก่ 1.โครงสร้างพื้นฐานของอินเดีย อาทิเช่น ถนน ไฟฟ้า และระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร 2. การขาดแคลนพลังงาน 3. ความล่าช้าในการผ่อนคลายกฎระเบียบการค้า การลงทุน และ 4. ผลผลิตภาคการเกษตรที่ต่ำ
UK perfect replica omega watches with both low price and high quality are worth having.
Wish you get top quality uk fake watches online.
อินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่อันดับสี่ของโลกรองจากไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ขณะเดียวกันอินเดียก็มีการบริโภคยางเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ โดยอินเดียเป็นผู้ใช้ยางอันดับสองของโลกรองจากจีน แหล่งผลิตยางที่สำคัญของอินเดียอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ บริเวณรัฐเคราละและรัฐทมิฬนาดู ซึ่งสามารถผลิตยางได้ปริมาณมากกว่า 600,000 ตันต่อปี โดยปี 2554 อินเดียมีพื้นที่ปลูกยาง 4.6 ล้านไร่ พื้นที่กรีดยาง 3.1 ล้านไร่ มีผลผลิตยางธรรมชาติ 893,000 ตัน มีการใช้ยางธรรมชาติ 958,000 ตัน และปี 2555 คาดว่าพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้นเป็น 4.7 ล้านไร่ พื้นที่กรีดยาง 3.15 ล้านไร่ ผลผลิต 920,000 ตัน การใช้ยาง 1 ล้านตัน (ข้อมูลจากสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ) โดยผลผลิตส่วนใหญ่ถูกใช้ภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยางรถยนต์และรถจักรยานยนต์(ร้อยละ 65) ส่วนที่เหลือเป็นการใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้า อุตสาหกรรมไฮเทค และบางส่วนถูกแปรรูปและส่งออกไปยังต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อย่างไรก็ตามอินเดียยังมีความจำเป็นต้องนำเข้ายางธรรมชาติเนื่องจากผลผลิตมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ โดยปี 2554 อินเดียมีการนำเข้ายางธรรมชาติจากต่างประเทศเป็นปริมาณ 159,900 ตัน และคาดว่าในปี 2555 จะนำเข้าเพิ่มเป็น 213,400 ตัน ประเทศคู่ค้าหลักที่ส่งออกยางมายังอินเดีย ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน ไทย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น และมีแนวโน้มว่าอินเดียจะมีการบริโภคยางเพิ่มขึ้นและต้องมีการนำเข้ายางเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตเนื่องจากการขยายตัวอย่างมากของภาคการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมไฮเทคในประเทศ นอกจากนี้การที่รัฐบาลอินเดียมีนโยบายเปิดเสรีทางการค้าและอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2543 จึงเป็นที่คาดหมายว่าในอนาคตอันใกล้ประเทศอินเดียจะมีการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศอย่างก้าวกระโดด
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงถึงศักยภาพและการเติบโตของอินเดียที่มีผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยาง ควรที่ภาครัฐและเอกชนจะได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการค้าการลงทุน และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ แนวทางหนึ่งในการขยายตลาดคือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่ผู้ประกอบการจะได้พบกับผู้นำเข้าที่มีศักยภาพ โดยงานแสดงสินค้ายางอินเดียที่น่าสนใจ ได้แก่ งาน India Rubber Expo and Tyre Show จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมยางอินเดีย(AIRIA)ระหว่างวันที่ 22-24 มกราคม 2556 ณ เมืองมุมไบ และงาน Tyrexpo India จัดโดย ECI International Limited ระหว่างวันที่ 9-11 กรกฎาคม 2556 ณ เมืองเจนไน รัฐทมิฬนาดู
สมาคม ฯ คาดหวังว่าการขยายตลาดใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดอินเดียโดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ส่งออกยางไทย ทั้งในด้านการเรียนรู้เทคโนโลยียางที่ทันสมัยและมีโอกาสพบปะเจรจาการค้ากับผู้นำเข้ายางพาราอินเดีย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการส่งออกยางไทยไปยังประเทศอินเดีย