history history
 
   
icon บทบาทองค์การยางระหว่างประเทศ [   สิงหาคม  2557 ]

 

การประกอบธุรกิจยางมีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกรชาวสวนยาง ภาครัฐ ภาคเอกชนผู้ผลิตยาง และผู้ใช้ยาง รวมทั้งองค์การยางระหว่างประเทศ ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางและมีบทบาทสำคัญแตกต่างกันไปดังนี้

1.สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (Association of Natural Rubber Producing Countries : ANRPC ) มีหน้าที่สำคัญ 3 ประการคือ ประสานงานทางด้านนโยบายและการดำเนินงานผลิตยางและค้ายางของประเทศสมาชิกส่งเสริมวิชาการยางระหว่างประเทศสมาชิก และดำเนินการเพื่อสร้างและยกระดับราคายางธรรมชาติตามความเป็นธรรมและมีเสถียรภาพ บทบาทสำคัญของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติคือการทำให้ราคายางพาราโลกมีเสถียรภาพในระดับที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายนั่นคือสร้างรายได้ที่ยุติธรรมและมั่นคงแก่ชาวสวนยาง ในขณะเดียวกันสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้ยาง ในด้านปริมาณและราคาที่สมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยางร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด11 ประเทศ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

2. สภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ(International Rubber Research and Development Board : IRRDB) เป็นสภาที่ตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของสถาบันวิจัยและพัฒนายางธรรมชาติจากทุกทวีป มีหน้าที่ควบคุม และวางนโยบายการวิจัยและพัฒนายางระหว่างสถาบันที่เป็นสมาชิกและสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 19 ประเทศ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

3. องค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ(International Rubber Study Group : IRSG) มีนโยบายประสานทางด้านการผลิต การค้าและการใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ ประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ประเทศผู้ผลิตยางสังเคราะห์และประเทศผู้ใช้ยาง รวบรวมข้อมูลในการผลิต การใช้ยาง และประเมินการผลิตและการใช้ยางทั้ง 2 ชนิด เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้วางแผนการผลิต และการใช้ให้อยู่ในภาวะสมดุล ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 36 ประเทศ ประกอบด้วยภาครัฐและเอกชน ผู้ผลิต ผู้ใช้ยาง ผู้ค้ายางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์

4. สภาไตรภาคียางพาราระหว่างประเทศ (International Tripartite Rubber Council : ITRC) ประกอบด้วยผู้แทนจาก 3 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ทั้งภาครัฐและเอกชนรับผิดชอบกำกับดูแลการดำเนินการตามมาตรการการจัดการด้านปริมาณการผลิต(Supply Management Scheme : SMS) และมาตรการจำกัดปริมาณการส่งออก(Agreed Export Tonnage Scheme : AETS) โดยนายกสมาคมยางพาราไทย เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ITRC

5. บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ(International Rubber Consortium Limited : IRCo) จัดตั้งโดยความร่วมมือของ 3 ประเทศผู้ผลิตคือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อกำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินด้านการตลาดให้ราคายางพารามีระดับราคาที่สูงมีเสถียรภาพและเกษตรกรสามารถขายยางมีกำไรคุ้มการลงทุน บทบาทสำคัญของบริษัทร่วมทุน ฯ คือเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ให้เกษตรกรสามารถขายยางพารามีกำไรคุ้มการลงทุน ราคายางพารามีการเคลื่อนไหว ที่เป็นไปตามระดับปริมาณการผลิตและความต้องการใช้อย่างมีเสถียรภาพ ไม่มีความผันผวนมากจนเกินไปเพราะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านราคาทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้  โดยนายกสมาคมยางพาราไทย เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหาร IRCo  สำนักงานตั้งอยู่ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพ ฯ

 
What kinds of perfect knockoff watches are worth having? Top uk breitling replica watches.

The reliable website provide Swiss made fake watches.

6. สมาคมยางระหว่างประเทศ(International Rubber Association : IRA) มีหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์ ทางด้านการค้ายาง สัญญาซื้อขายยางระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 24 องค์กร จาก 8 ประเทศ ประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้ใช้ยาง โดยสมาคมยางพาราไทย เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหาร IRA นอกจากนี้นายสุเมธ สินเจริญกุล รองประธานบริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงในการเข้ารับตำแหน่งประธานสมาคมยางนานาชาติ และนายศุภเดช อ่องสกุล รองเลขาธิการสมาคมยางพาราไทย เข้ารับตำแหน่งเลขานุการบริหารสมาคมยางนานาชาติ  วาระปี 2556-2557   สำนักงานตั้งอยู่ที่สมาคมยางพาราไทย อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา

7. สภาธุรกิจยางอาเซียน (ASEAN Rubber Business Council : ARBC) มีวัตถุประสงค์หลัก 7 ประการคือ 1)ส่งเสริมด้านการผลิตและการค้าของประเทศสมาชิก 2)ประสานความร่วมมือด้านการค้ายางของประเทศสมาชิกและประเทศผู้ใช้ยางธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในด้านคุณภาพและราคา 3) ประสานความร่วมมือด้านกฎเกณฑ์การซื้อขายยางและสัญญาซื้อขายยางกับสมาคมยางระหว่างประเทศ 4) ประสานความร่วมมือด้านคุณภาพมาตรฐานยางกับองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 5)สนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการยางระหว่างประเทศสมาชิกและสนับสนุนข้อมูลแก่องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 6) สนับสนุนและช่วยเหลือประเทศสมาชิก แก้ไขอุปสรรค ข้อขัดข้องต่างๆ  รวมทั้งเจรจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการค้ายาง และ 7)ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกหรือระหว่างประเทศสมาชิกกับบุคคลภายนอกในการประกอบการค้า ส่งออกยางพารา ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก  6 ประเทศได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์  เวียดนามและกัมพูชา  สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย 

การให้ความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับองค์การยางระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องดังกล่าว นับเป็นบทบาทที่สำคัญของสมาคม ฯ ในระดับชาติ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติของโลกให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

 

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด