ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก มีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นเกษตรกร ประมาณ 1.6 ล้านครัวเรือน จำนวนไม่น้อยกว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศ
ผู้ประกอบการแรงงาน บุคลากรภาครัฐ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยปี 2557 ไทยผลิตยางธรรมชาติ 4.32 ล้านตัน ส่งออกปริมาณ 3.76
ล้านตัน (87 %) คิดเป็นมูลค่ากว่า 242,785
ล้านบาท ใช้ในประเทศ 540,000 ตัน (13
%)ไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534
เป็นต้นมา ไทยพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก
การส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในรูปวัตถุดิบแปรรูปขั้นต้น เช่น ยางแท่ง
ยางแผ่นรมควัน ยางผสม (Compound) และน้ำยางข้น
โดยส่งออกไปยังประเทศจีนเป็นอันดับ 1 2.29 ล้านตัน (61
%) รองมาคือมาเลเซีย 610,000 ตัน (16
%) ญี่ปุ่น 260,000 ตัน (7 %) และสหรัฐอเมริกา 150,000
ตัน (4 %) (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยยาง)
It must make you feel regret it, when you read more about the website. You must find uk best luxury fake breitling watches here.
Fast shipping and quality guarantee. Ordering uk high end replica watches online is a wisdom choice.
ปัจจุบันการบริหารงานยางพาราของภาครัฐดำเนินการโดยหน่วยงานหลักจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น สถาบันวิจัยยาง มีหน้าที่ในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาด้านการผลิต
เศรษฐกิจและการตลาด อุตสาหกรรมแปรรูปยางและผลิตภัณฑ์ยาง
และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นผลงานวิจัยให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มีหน้าที่ให้การสงเคราะห์ปลูกแทนสวนยางเก่าด้วยยางพันธุ์ดีในพื้นที่ปลูกยางเก่าและการปลูกยางในพื้นที่ใหม่
และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นผลงานวิจัยสู่เกษตรกรชาวสวนยาง
รวมทั้งการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง (Cess) องค์การสวนยาง มีหน้าที่พัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต
การแปรรูป และการจำหน่ายยางพารา รวมทั้งสร้างเครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านยางครบวงจร
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน อาทิเช่น
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ สถาบันการศึกษา
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย
และสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย เป็นต้น
จากข้อมูลดังกล่าว
บ่งชี้ว่าการพัฒนางานยางพาราของประเทศไทย ดำเนินงานโดยหลายหน่วยงาน
มีขอบข่ายที่ซ้ำซ้อนกันและขาดการประสานงานในบางส่วน ดังนั้นการปฏิรูประบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพารา
ตลอดถึงการวิจัยพัฒนา การรักษาเสถียรภาพราคายางการดำเนินธุรกิจและการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมและยั่งยืนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางให้มีความมั่นคงในอาชีพจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ภาครัฐจึงเห็นควรให้จัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย เพื่อรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพาราของประเทศไทยทั้งระบบอย่างครบวงจร
มีเอกภาพสามารถดำเนินการไปได้อย่างเป็นอิสระ คล่องตัว และใช้ยางพาราและผลิตผลจากยางพาราให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
ซึ่งขณะนี้เป็นเรื่องน่ายินดีที่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาและลงมติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่
14
พฤษภาคม 2558 และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าลงนาม
และได้มีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษา
ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2558
โดยสรุป พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558.จะเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการบริหารจัดการยางพาราไทยครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ
ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนายางพาราไทยอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ
และเป็นการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกได้