สหรัฐเม็กซิโก
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่เกือบ
2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มีเนื้อที่มากที่สุดเป็นอันดับที่
5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยมีจำนวนประชากร
123 ล้านคน ในปี 2557
เม็กซิโกมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ
2.4 และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)
2.143 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐทรัพยากรธรรมชาติสำคัญคือ ปิโตรเลียม
เงิน ทองแดง ทองคำ ตะกั่ว สังกะสี ก๊าซธรรมชาติ และป่าไม้ อุตสาหกรรมหลักได้แก่
ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า การบิน เครื่องมือแพทย์
ปิโตรเลียม เหมืองแร่ อาหารและเครื่องดื่ม และการท่องเที่ยว สำหรับสินค้านำเข้าหลักคือเครื่องจักรอุตสาหกรรม
เครื่องมือเพื่อการเกษตร สินค้าวัตถุดิบ อุปกรณ์การขนส่งและชิ้นส่วนยานยนต์
เครื่องบิน และชิ้นส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญคือ สินค้าอุตสาหกรรม
น้ำมันปิโตรเลียม เงิน ผลไม้ กาแฟ ฝ้าย ปัจจุบันเม็กซิโกเป็นแหล่งดึงดูดอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ของโลกแทบทุกยี่ห้อ
เนื่องจากเม็กซิโกมีต้นทุนต่ำและแรงงานที่มีฝีมือ
จึงทำให้ให้เม็กซิโกเป็นผู้ผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับที่ 7 ของโลก รองจากจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี
เกาหลีใต้ และอินเดีย โดยในปี 2557 มีการผลิตรถยนต์
1,915,709 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,449,597 คัน รวมทั้งสิ้น 3,365,306 คัน
และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับปี 2556 และมีผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ซึ่งลงทุนตั้งโรงงานในเม็กซิโกได้แก่
Bridgestone Goodyear Michelin Pirelli Continental Yokohama Hankook JK
Tyre Industries และ Cooper Tyres mexico(ข้อมูลจากสถานกงสุลใหญ่
ณ นครลอสแอนเจลิส)
UK high quality replica watches are all available on the top online store.
You can find UK Swiss made copy breitling watches with Swiss movements online.
เม็กซิโกเป็นประเทศผู้ผลิตและบริโภคยางธรรมชาติ
โดยปี 2557
เม็กซิโกมีผลผลิตยางธรรมชาติ 15,100 ตัน มีการใช้ยางธรรมชาติ 90,800 ตัน
จึงจำเป็นต้องนำเข้ายางธรรมชาติเนื่องจากผลผลิตมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ
โดยมีการนำเข้ายางธรรมชาติ 78,500 ตัน(IRSG) มูลค่าการนำเข้าประมาณ 185 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(World
Trade Atlas) ส่วนใหญ่นำเข้ายางแท่งชั้น 20
รองลงมาได้แก่ น้ำยางข้น และยางแผ่นรมควันชั้น 3 อย่างไรก็ตามปริมาณการนำเข้าและมูลค่าการนำเข้าลดลงเป็นลำดับจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและราคายางลดลงอย่างต่อเนื่อง
โดยเม็กซิโกนำเข้ายางธรรมชาติจากอินโดนีเซียมากที่สุด(34.35%) ใกล้เคียงกับกัวเตมาลา(34.23%)
รองลงมาคือมาเลเซีย(12.51%) สหรัฐอเมริกา(8.79%)
โดยนำเข้าจากไทยเพียงร้อยละ 5.15 เนื่องจากการแข่งขันด้านราคา
ระยะทาง และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง รวมทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าทีมิใช่ภาษีได้แก่ มาตรการการจดทะเบียนผู้นำเข้าสินค้า (Padron de Importadores) มาตรการด้านมาตรฐานสินค้า มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการสินค้าห้ามนำเข้า
มาตรการสินค้าควบคุม มาตรการโควต้านำเข้า มาตรการด้านเอกสารการนำเข้า มาตรการราคาประเมินสินค้าขั้นต่ำ
มาตรการการนำเข้าตัวอย่างสินค้า มาตรการป้ายสลากสินค้า และมาตรการขั้นตอนการผ่านพิธีการศุลกากร
มาตรการดังกล่าวนับว่าสร้างอุปสรรคและภาระให้กับผู้ส่งออกและนำเข้าเม็กซิโกอย่างมาก
อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าเม็กซิโกจะมีการบริโภคยางและนำเข้ายางเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตเนื่องจากการขยายตัวอย่างมากของภาคการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆ
โอกาสนี้ภาครัฐไทย โดยฝ่ายการเกษตรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ได้ประสานมายังสมาคมยางพาราไทยเพื่อเชิญชวนสมาชิกสมาคมฯเข้าร่วมเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ายางพาราไทยแก่หอการค้า
ผู้นำเข้าและผู้ใช้ยางพาราในเมืองกวาดาลาฮารา
ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของเม็กซิโก ในวันที่ 28 มกราคม 2559 ณ เมืองกวาดาลาฮารา ประเทศเม็กซิโก
ตามข้อมูลที่ได้เรียนมาประมวลได้ว่าเม็กซิโกเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับยางธรรมชาติและยางล้อรถยนต์และมีแนวโน้มของความสำคัญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ควรที่ภาครัฐและเอกชนรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการค้าการลงทุนและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ
เพื่อทดแทนตลาดหลักโดยเร่งด่วนต่อไป