E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  สิงหาคม 2566 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 รายงานสถานการณ์ยางธรรมชาติ ประจำเดือนสิงหาคม 2566

ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับสูงจนกว่าจะเห็นสัญญาณที่น่าเชื่อถือเพียงพอ ซึ่งในการปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อกดดันให้อัตราเงินเฟ้อชะลอลงสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% อย่างยั่งยืน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม 2566 ปรับตัวลงสู่ระดับ 69.5 จากเดือนก่อนที่ 71.6 ส่วนจีนทยอยออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ ขณะที่ภาคการผลิตบางส่วนกลับขยายตัวอีกครั้งในเดือนสิงหาคม แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่มาก ตลอดจนปัญหาในภาคอสังหาฯ ท่ามกลางการแผ่วลงของแรงส่งจากการเปิดประเทศ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ล่าสุดคันทรี การ์เดน (Country Garden) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนรายใหญ่ที่สุดของจีนได้ขาดทุนสูงเกือบ 7 พันล้านดอลลาร์ และเสี่ยงจะผิดนัดชำระหนี้ ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนสิงหาคม ได้รับปัจจัยหนุนจากการภาคท่องเที่ยวและการใช้จ่ายในประเทศที่ปรับดีขึ้นเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจในช่วงต้นไตรมาสสาม การส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัวเป็นบวก อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้าของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2566 ต่อไป การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นดีขึ้น เร่งกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ โดยล่าสุดรัฐบาลระบุว่าเตรียมการช่วยเหลือ ภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคและพลังงานตลอดจนโครงการพักหนี้เกษตรกร

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของไทย (Thailand Industrial Sentiment Index: TISI) เดือนสิงหาคม 2566 ปรับตัวลดลงจาก 92.3 เป็น 91.3 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มสูงขึ้น ภาคการส่งออกที่ยังคงชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก และกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอ แต่ภาคการท่องเที่ยวยังคงเติบโตและช่วยสนับสนุนการบริโภคในประเทศ โดยภาครัฐควรเร่งออกนโยบายฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ เพื่อแก้ปัญหาปากท้องประชาชน เช่น การลดค่าไฟ ราคาน้ำมันและก๊าซ การปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนสิงหาคม 2566 ปรับตัวเพิ่มเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 53.4 จากระดับ 53.3 ในเดือนก่อนหน้า

สรุปภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนกรกฎาคม 2566 ส่งออกมูลค่า 764,444.04 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2565 ร้อยละ 7.73 และลดลงจากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ร้อยละ 9.95 เมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 22,143.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่นำเข้ามูลค่า 842,842.74 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2565 ร้อยละ 12.46 และลดลงจากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาร้อยละ 1.67 เมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 24,120.99 ล้านเหรียญสหรัฐ เดือนกรกฎาคม 2566 ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 78,398.70 บาท ลดลงร้อยละ 41.63 และเมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 1,977.76 ล้านเหรียญสหรัฐ (อ้างอิง: กระทรวงพาณิชย์ *ข้อมูล ปี2566 เป็นข้อมูลเบื้องต้น)

สำหรับดัชนีภาคการผลิต (S&P Global US Manufacturing PMI (PMI)) เดือนสิงหาคม 2566 ปรับตัวลดลงจาก49.0 ในเดือนกรกฎาคม 2566 มาอยู่ที่ระดับ 47.9 ในเดือนสิงหาคม 2566 ส่วนดัชนี PMI สำหรับภาคการผลิตในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2566 ปรับตัวลดลงจาก 50.7 ในเดือนกรกฎาคม มาอยู่ที่ระดับ 48.9 ในเดือนสิงหาคม 2566 สภาวะของภาคการผลิตในประเทศไทยมีการปรับตัวในระดับลดลง ผลจากคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ลดลงในระดับที่สูงขึ้น ความกดดันด้านต้นทุนลดลงสำหรับผู้ผลิตในประเทศไทย

พลังงาน (น้ำมัน) : สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 25 ส.ค. 2566 ปรับตัวลดลง 10.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 422.9 ล้านบาร์เรล ภาพรวมราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องด้วยราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดันเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ตามเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวลงทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ อุปทานน้ำมันดิบยังมีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่องหลังกลุ่มโอเปกนำโดยซาอุดิอาระเบียมีแนวโน้มขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตไปอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปอีก 1 เดือนราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 81.63 และ85.86 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ

ยางพารา: ในเดือนสิงหาคม 2566 ราคายาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา ราคายางภาพรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในเดือนที่ผ่านมาตามตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานยังมีแนวโน้มลดลง เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ภาพรวมปริมาณฝนทั้งประเทศมีน้อยกว่าค่าปกติถึง 27% สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการกลับมาของเอลนีโญ สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) ได้กำหนดจัดงานประชุมวิชาการ ANRPC ประจำปี ครั้งที่ 13 (13th ANRPC Annual Rubber Conference) การประชุมอื่นๆ ในวันที่ 9-10 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรม Radisson Blu Hotel เมืองกูวาฮาติสาธารณรัฐอินเดีย ไทยมีปริมาณส่งออกยางธรรมชาติเดือนกรกฎาคม 2566 จำนวน 322,174 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 1.54 หมื่นล้านบาท ส่วนยางล้อในเดือนเดียวกันนี้ ไทยส่งออกยางล้อ 11.5 ล้านเส้น คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 2.06 หมื่นล้านบาท

กลุ่มยานยนต์: จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 149,709 คัน เพิ่มขึ้น 4.72% (YoY) และเพิ่มขึ้น 2.85% จากเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องด้วยรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายมีส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้น โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออกเดือนกรกฎาคม 2566 จำนวน 86,552 คัน (57.81% ของยอดผลิตทั้งหมด) เพิ่มขึ้น 9.48% (YoY) ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเดือนกรกฎาคม 2566 จำนวน 63,157 คัน (42.19% ของยอดการผลิตทั้งหมด) ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนกรกฎาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 58,419 คัน ลดลงร้อยละ 9.30 จากเดือนก่อนหน้า และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 8.77 เพราะการเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น ทำให้อำนาจซื้อลดลง


หมายเหตุ: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งได้นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผล ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสมาคมยางพาราไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com