E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  ตุลาคม 2563 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 รายงานสถานการณ์ยางธรรมชาติ ประจำเดือนตุลาคม 2563

ในเดือนตุลาคม 2563 ราคายางโดยภาพรวมปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกันกับตลาดล่วงหน้าต่างประเทศญี่ปุ่นและจีน เนื่องด้วยกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางได้รับผลกระทบจากพายุและปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งไทยที่มีฝนตกชุกร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการกรีดยาง อีกทั้งส่งผลให้ปริมาณยางออกสู่ตลาดลดลง และยังคงขาดแรงงาน อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ค่าเงินบาท ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคใบร่วงในยางพารา และราคาน้ำมันดิบที่ยังคงเป็นปัจจัยกดดัน ที่สร้างความกังวลแก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและนักลงทุนบนสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ตลาดกลางยางพาราสงขลา เดือนตุลาคม 2563 อยู่ที่กิโลกรัมละ 64.17 เพิ่มขึ้น (+12.76%) จาก 56.91 บาท/กิโลกรัมในเดือนกันยายน 2563

เศรษฐกิจโลกช่วงก่อนการแพร่ระบาดก็ถือว่าไม่ได้ดีมากนัก การไม่มีผู้ติดเชื้อจากการระบาดนั้นไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจนั้นจะดี และเมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ไปทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกต้องหยุดชะงัก และถือเป็นการบังคับให้ธนาคารกลางและรัฐบาลทั่วโลกตอบโต้ด้วยการอัดฉีดเงินหลายล้านล้านเหรียญเข้าไปในระบบการเงิน ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดแบบที่โลกไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นช่องทางที่จะทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการเงินและบริษัทต่างๆ นั้นล้มละลาย และคงต้องให้ความช่วยเหลือในระยะยาวต่อไป ภาครัฐทั่วโลกได้ดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 โดยยังคงเน้นมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs รวมถึงมาตรการดูแลภาคครัวเรือนและการจ้างงาน อย่างไรก็ตามกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังคงคาดเศรษฐกิจโลกปีนี้ยังคงจะหดตัวที่ระดับ -4.4%

ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังมีแนวโน้มหดตัว แต่ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น จากสถานการณ์การชุมนุมการเมืองในขณะนี้ ก็ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องด้วยจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น การบริโภค และอาจจะรวมถึงการท่องเที่ยวด้วย อย่างไรก็ดีรัฐบาลควรรีบหาทางออกและแก้ไขปัญหาโดยเร็ว หากมีความยืดเยื้อลากยาวจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง และด้วยบริบทของประเทศที่เปลี่ยนไปนั้นการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะมีความแตกต่างกันมาก (Uneven) ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลานาน (Long) คาดว่าไม่น้อยกว่า 2 ปี และยังคงมีความไม่แน่นอนสูง (Uncertain) การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจควรต้องปรับตามสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจโดยให้มีความยืดหยุ่น มีความสอดคล้องและตรงจุดมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thailand Industrial Sentiment Index: TISI) เดือนกันยายน 2563 เพิ่มขึ้นจาก 84.0 เป็น 85.2 เนื่องจากการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจการทางเศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัวขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ส่งผลให้กำลังซื้อดีขึ้น แต่ก็ยังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แม้การส่งออกจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ด่านชายแดนบางด่านยังคงมีการปิดด่าน และกำหนดการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งถัดไป (ครั้งที่ 7/2563) ในวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563

เดือนกันยายน 2563 ส่งออกมูลค่า 609,838.49 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกันยายน 2562 ร้อยละ 2.24 และลดลงจากเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาร้อยละ 4.00 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 19,621.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนกันยายน 2562 ร้อยละ 3.86 และลดลงจากเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 2.92 ในช่วงมกราคม–กันยายน ปี 2563 ส่งออกมูลค่า 5,387,040.23 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ร้อยละ 7.69 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่งออกมูลค่า 172,996.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.33 ดุลการค้าเดือนกันยายน 2563 ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 61,819.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2562 ที่เกินดุลการค้ามูลค้า 30,728.29 ล้านบาท ร้อยละ 101.18 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ไทยเกินดุลการค้ามูลค้า 2,230.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ...(อ้างอิง: กระทรวงพาณิชย์)

สำหรับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (U.S. Manufacturing Purchasing Managers’ IndexTM (PMI)) ภาคการผลิตจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 53.4 (+0.37%) จากระดับ 53.2 ในเดือนกันยายน 2563 และดัชนี PMI สำหรับภาคการผลิตในประเทศไทยเพิ่มเป็น 50.8 (+1.8%) ในเดือนตุลาคม 2563 จาก 49.9 ในเดือนกันยายน 2563 เนื่องด้วยความต้องการด้านการผลิตที่สูงขึ้น จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการมีการซื้อวัตถุดิบเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีการเก็บสต็อกเพิ่มทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป แม้ว่าคำสั่งซื้อสินค้าใหม่โดยรวมจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยอดขายสินค้าส่งออกยังคงลดลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของการค้าทั่วโลกยังคงซบเซา การจ้างงานในโรงงานก็ปรับตัวลดลง อีกทั้งสภาพคล่องของผู้ประกอบการ

ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 23 ต.ค. 63 ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 4.3 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 492.4 ล้านบาร์เรลตามปริมาณการผลิตที่กลับมาบางส่วน นับตั้งแต่พายุเฮอร์ริเคนเดลต้าเคลื่อนตัวผ่านไป ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงราว 3% หลังกังวลความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ จะชะลอตัวลง ส่วนความต้องการใช้น้ำมันในเอเชียมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในจีนและอินเดียที่มีการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น โรงกลั่นน้ำมันในอินเดียจัดหาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมตอบสนองต่อความต้องการใช้น้ำมันในประเทศที่จะปรับตัวสูงขึ้น ในช่วงเทศกาลวันหยุดสำคัญได้แก่เทศกาลนวราตรี (Navratri) ในช่วงวันที่ 17–26 ต.ค. 63 และเทศกาลดีปาวลี(Diwali) ในวันที่ 14 พ.ย. 63 ส่วนซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตหลักในกลุ่มโอเปกพลัส มีความเห็นร่วมกันที่จะรักษาระดับการลดกำลังการผลิตที่ระดับ 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่อเนื่องจนถึงปี 64 จากเดิมสิ้นสุดปี 63เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมัน ยังคงถูกกดดันจากการล็อคดาวน์อีกครั้งในยุโรปและการผลิตของลิเบียที่เพิ่มมากขึ้น โดยจะตกลงกันในการประชุมโอเปกวันที่ 30 พ.ย.-1 ธ.ค. 63 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์มีการปรับตัวในช่วงแคบๆ โดยเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์อยู่ที่ระดับ 35.79 และ 37.46 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ
ในเดือนกันยายน 2563 ไทยส่งออกยางธรรมชาติ 304,622.58 ตัน ลดลง 8.59 เปอร์เซ็นต์จากเดือนสิงหาคม 2563 ลดลง 2.19 เปอร์เซ็นต์ yoy สร้างมูลค่าการส่งออก 1.21 หมื่นล้านบาท ลดลง 4.59 เปอร์เซ็นต์จากเดือนสิงหาคม 2563 ลดลง 5.68 เปอร์เซ็นต์ yoy สำหรับภาคยางล้อ ในเดือนกันยายน 2563 ไทยส่งออกยางล้อรวมทั้งสิ้น 12.81 ล้านเส้น เพิ่มขึ้น 17.85 เปอร์เซ็นต์ yoy สร้างมูลค่าการส่งออก 1.58 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.44 เปอร์เซ็นต์ yoy

จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกันยายน 2563 ผลิตเพื่อส่งออก เดือนกันยายน 2563 เป็นจำนวน 67,964 คัน เท่ากับร้อยละ 45.21 ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศจำนวน 82,381 คัน เท่ากับร้อยละ 54.79 ของยอดการผลิตทั้งหมด รวมผลิตได้ในเดือนกันยายน 2563 มีทั้งสิ้น 150,345 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2562 ร้อยละ 11.29 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2563 ร้อยละ 28.22 เพราะการผลิตเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 25.41 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.14 ส่วนจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม – กันยายน 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 963,066 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กันยายน 2562 ร้อยละ 38.76




หมายเหตุ: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งได้นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผล ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสมาคมยางพาราไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com