E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  มกราคม 2567 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 รายงานสถานการณ์ยางธรรมชาติ ประจำเดือนมกราคม 2567

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับตัวเลขประมาณการณ์ GDP ทั่วโลกในปี 2567 ที่ 3.1% เพิ่มขึ้น 0.2 % จากการคาดการณ์ในเดือน ตุลาคม 2566 โดยเฉพาะ สหรัฐฯ ที่มีอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอตัวลง ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ดีขึ้น ส่งผลให้ IMF ปรับเพิ่มตัวเลขประมาณการ GDP สหรัฐฯ ในปี 2567 ที่ 2.1% จาก 1.5% และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 108.0 ในเดือนธันวาคม 2566 เป็น 114.8 ในเดือนมกราคม 2567 ส่วนเศรษฐกิจจีนภาคการผลิตของจีนยังคงอยู่ในภาวะหดตัว ด้านศาลฮ่องกง มีคำสั่งให้บริษัทเอเวอร์แกนด์ (Evergrande) เข้าสู่กระบวนการขายสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ (Liquidation) ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าคำสั่งดังกล่าวจะส่งผลกระทบเพิ่มเติมต่อวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน

ส่วนภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม 2567 มีการปรับตัวดีขึ้น แต่ยังขยายตัวช้า โดยมีแรงส่งจากภาคการท่องเที่ยว มาตรการส่งเสริมวีซ่า-ฟรี  (Visa-Free) มาตรการ Easy e-receipt กิจกรรมในภาคบริการปรับดีขึ้น ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์โดยเฉลี่ยอ่อนค่าลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) เดือนมกราคม 2567 ลดลงร้อยละ 1.11 (YOY) อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของไทย (Thailand Industrial Sentiment Index: TISI) เดือนมกราคม 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 90.6 จาก 88.8 ในเดือนธันวาคม เนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศมาตรการ Easy e-receipt ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยววีซ่า-ฟรี (Visa-Free) แต่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับสูง ต้นทุนค่าขนส่งที่สูงขึ้น จากการปรับอัตราค่าระวางเรือ ค่าธรรมเนียม และค่าประกันภัยต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรติดตามสถานการณ์ เร่งหารือกับสายเรือเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อป้องกันปัญหาขาดแคลนตู้สินค้าและบรรเทาผลกระทบจากค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนมกราคม 2567 ปรับตัวลดลงมาเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 54.5 จากระดับ 54.8 ในเดือนก่อนหน้า

สรุปภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนมกราคม 2567 ส่งออกมูลค่า 22,649.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (784,580 ล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 (YoY) เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นำเข้ามีมูลค่า 25,407.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (890,687.35 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 (YoY) ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 2,757.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (106,107 ล้านบาท) (อ้างอิง: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ *ข้อมูลเบื้องต้น ปี2566)

พลังงาน (น้ำมัน) : สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ และน้ำมันดีเซล ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 26 ม.ค. 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 421.9 ล้านบาร์เรล อุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มตึงตัวขึ้นภายหลังศาลสูงของเวเนซุเอลามีคำพิพากษาตัดสิทธิ์ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่มาจากฝ่ายค้าน ซึ่งคำสั่งดังกล่าวขัดกับข้อตกลงซึ่งทำไว้กับรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งผลให้สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่อาจจะกลับมาคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบของเวเนซุเอลาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่อเศรษฐกิจจีน ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 77.82 และ 82.87 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ

ยางพารา: ในเดือนมกราคม 2567 ราคายาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา ราคายางภาพรวมภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นในทิศทางเดียวกับราคายางในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการใช้ยางมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยายนต์ ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดยังน้อย ไทยมีปริมาณส่งออกยางธรรมชาติเดือนธันวาคม 2566 ปริมาณ 355,215 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 1.83 หมื่นล้านบาท ส่วนยางล้อในเดือนเดียวกันนี้ ไทยส่งออกยางล้อ 11.4 ล้านเส้น คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 2.03 หมื่นล้านบาท

กลุ่มยานยนต์: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปี 2567 ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ 1,900,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.17% เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,150,000 คัน ลดลง 0.52% และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 750,000 คันจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 142,102 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 12.46


หมายเหตุ: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งได้นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผล ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสมาคมยางพาราไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com