E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
 
   สารจากนายกสมาคมยางพาราไทย
   ก้าวต่อไปของสมาคมยางพาราไทย
สมาคมยางพาราไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2494   ปัจจุบัน สมาคม ฯ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 40 บริษัท ทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางแปรรูปขั้นต้น เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น   โดยมีสัดส่วนการผลิตและการส่งออกเป็น 85 % ของยอดรวมทั้งประเทศ ตลอดช่วง 73  ปีที่ผ่านมา สมาคมยางพาราไทยได้ขยายกิจกรรมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  

  ตามข้อบังคับของสมาคมฯ ทุก 2 ปีจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เพื่อเข้ามาบริหารกิจการของสมาคมฯ โดยเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567 ได้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีและมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมฯชุดใหม่ ปรากฏว่านายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล จากบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรีจำกัด(มหาชน) ได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการสมาคมฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมยางพาราไทย เป็นสมัยที่ 1 โดยมีวาระ 2 ปี ทั้งนี้ตั้งแต่เมษายน พ.ศ. 2567-เมษายน พ.ศ. 2569  อนึ่งคณะกรรมการสมาคมฯ ชุดใหม่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการต่อวงการยางโลกในงานเลี้ยงประจำปีสมาคมยางพาราไทย ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567  ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร 

สมาคมยางพาราไทยโดยการบริหารของ นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   โดยยึดถือนโยบายสำคัญดังนี้ 1) การบริการและแก้ไขปัญหาแก่สมาชิกสมาคมฯ ให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด 2) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานยางพาราไทย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของยางพาราไทย 3) การให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาครัฐ เกษตรกร ตลอดจนผู้ใช้ยางในประเทศ ในการดูแลคุณภาพมาตรฐานยางและดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน และ 4) การให้ความร่วมมือกับองค์กรยางนานาชาติ และผู้ใช้ยางทั่วโลก ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางให้เติบโตอย่างยั่งยืน  นอกจากนี้สมาคมยางพาราไทยได้รับเกียรติเป็นกรรมการบริหารสมาคมยางนานาชาติ (International Rubber Association)  สมาชิกสภาธุรกิจยางอาเซียน (ASEAN Rubber Business Council) กรรมการสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (International Tripartite Rubber Council) และกรรมการบริหารบริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (International Rubber Consortium Limited (IRCo))

คณะกรรมการสมาคมฯชุดใหม่ต่างมีความรู้สึกยินดี เต็มใจและถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกให้เข้ามาบริหารองค์กรยางของภาคเอกชนซึ่งมีความสำคัญในระดับนานาชาติ และพร้อมทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจในการบริหารสมาคมให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีตามเป้าหมาย


นายวีรสิทธิ์  สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย
สารจากนายกสมาคมฯ เดือน  พฤษภาคม  2567     
     
  history  
 
[   พฤศจิกายน  2566 ]
icon ตลาดคาร์บอน
ตั้งแต่ปี 1966 ภาวะโลกร้อนเพิ่มมากขึ้นจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยองค์กร Intergovernmental Panel on Climate Ch...
     [ อ่านต่อ...]  

[   ตุลาคม  2566 ]
icon รู้เขารู้เรา วัตถุดิบทดแทนยางพารา
ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ แหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญอยู่บริเวณแหลมมลายู เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศแ...
     [ อ่านต่อ...]  

[   กันยายน  2566 ]
icon ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี พ.ศ.2561-2580
ยางพารา พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการแรงงาน บุคลากรภาครัฐ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ประมาณ 1 ล้านครอบครัว จำนวนไ...
     [ อ่านต่อ...]  

[   สิงหาคม  2566 ]
icon การสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ ภายใต้ความร่วมมือของสภาวิจัยและIRRDB
บทบาทสำคัญประการหนึ่งของสมาคมยางพาราไทย คือการเข้าร่วมการประชุมวิชาการในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำความรู้ทางวิชาการตลอดจนข้อมูลข่าวสารด้านยางพาราที่ทันส...
     [ อ่านต่อ...]  

[   กรกฏาคม  2566 ]
icon ความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
ความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย(IMT-GT) เริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 โดยรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไทย มีความเห็นชอบร่วมกัน และได้ดำเนินการมาอย่างต่...
     [ อ่านต่อ...]  


หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com