E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
 
   สารจากนายกสมาคมยางพาราไทย
   ตลาดแอฟริกา
ปัจจุบันทวีปแอฟริกาเป็นตลาดใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ส่งออกและนักลงทุนต่างชาติ เนื่องด้วยเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ทำให้ผู้ส่งออกเริ่มหันไปหาตลาดใหม่อย่างทวีปแอฟริกา   ซึ่งมีศักยภาพและเป็นตลาดขนาดใหญ่อันดับสองรองจากทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกาเป็นดินแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย ด้วยพื้นที่ประมาณ 1.9 หมื่นล้านไร่ ซึ่งแบ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรอยู่ที่ 7 พันล้านไร่ ในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกถึงประมาณ 60% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปแอฟริกาหรือราว 1.1 หมื่นล้านไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือประกอบไปด้วยพื้นที่ทะเลทรายที่มีความแห้งแล้งอีกประมาณ 40% หรือราว 0.8 ล้านไร่  โดยมีประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน นับเป็น 16% ของประชากรโลก  อีกทั้งยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด แต่แอฟริกาเป็นทวีปที่เติบโตช้ากว่าทวีปอื่นๆ  โดย African Development Bank ได้ประมาณการเติบโตในปี 2567 ลดลงเหลือร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 4.3 เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น ผลกระทบจากโควิดที่ยังส่งผลกระทบอยู่ สถานการณ์รัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ อัตราเงินเฟ้อในระดับสูง ราคาอาหารและเชื้อเพลิงสูง และปัจจัยอื่นๆ ภายในประเทศ เช่น ภาวะสงคราม ความไม่มั่นคงทางการเมือง ภาระหนี้สาธารณะ คอร์รัปชั่น ความยากจน การขาดแคลนพลังงาน(ไฟฟ้า) และค่าเงินท้องถิ่นอ่อนค่า 

แอฟริกามีศักยภาพเป็นตลาดสินค้าเกษตรและอาหารโลก คาดว่าตลาดสินค้าเกษตรและอาหารของแอฟริกาจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2573 จากราว 280 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ 1)แอฟริกาตื่นตัวในการพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและพันธุศาสตร์ 2)ผลผลิตต่อไร่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเข้าถึงแหล่งผลิตปุ๋ยที่มากขึ้น และ 3)แอฟริกาสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรได้อีกมากจากภูมิศาสตร์ที่ยังมีพื้นที่ว่างที่มีศักยภาพในการทำการเกษตรอีกจำนวนมาก  

สถานการณ์ยางพาราในโกตดิวัวร์ ประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรายใหม่ที่น่าจับตามองและมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยปี 2566 ทวีปแอฟริกาครองสัดส่วนการผลิตถึงร้อยละ 14 โดยแหล่งผลิตสำคัญคือ ประเทศโกตดิวัวร์ กาน่า และไลบีเรีย ซึ่งโกตดิวัวร์ผลิตยาง 1.55 ล้านตัน เป็นอันดับ 3 ของโลก และส่งออก 1.64 ล้านตัน เป็นอันดับ 4 ของโลก (แหล่งที่มา IRSG)    ซึ่งโกตดิวัวร์มีความพร้อมในการส่งออกยาง EUDR เป็นอันดับ2 รองจากไทย  และมีโรงงานยางล้อหลายแห่งตั้งอยู่ที่ทวีปแอฟริกา นับเป็นโอกาสที่ดีแก่ผู้ประกอบการไทยในการหาตลาดใหม่ซึ่งมีศักยภาพ อย่างไรก็ตามทวีปแอฟริกายังมีปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่งมากกว่าทวีปอื่น ๆ เนื่องจากหลายประเทศขาดเงินทุนที่จะนำมาพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ทันสมัย ประกอบกับทวีปแอฟริกามีลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่ง ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะขยายการส่งออกหรือเข้าไปลงทุนในทวีปแอฟริกาควรพิจารณาอย่างรอบคอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรประเมินสถานะทางการเงินของคู่ค้า/ธนาคารผู้ซื้อ กำหนดเทอมการชำระเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ พร้อมทั้งป้องกันความเสี่ยงทางการค้าและอัตราแลกเปลี่ยนอย่างรัดกุม

ตามข้อมูลที่ได้เรียนมา ประมวลได้ว่าทวีปแอฟริกามีศักยภาพสูงในการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโกตดิวัวร์เป็นตลาดยางธรรมชาติและอุตสาหกรรมยางที่สำคัญ และมีแนวโน้มของความสำคัญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมการค้าการลงทุน และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศเพื่อทดแทนตลาดหลักโดยเร่งด่วนต่อไป

นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล   
นายกสมาคมยางพาราไทย

สารจากนายกสมาคมฯ เดือน  กันยายน  2567     
     
  history  
 
[   ธันวาคม  2564 ]
icon สถานการณ์ยางพาราปี 2565
เศรษฐกิจโลกในช่วงกลางปี 2564 ที่ผ่านมาเริ่มฟื้นตัวในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากการเปิดเมือง ทำให้อุปสงค์ภายในประเทศเร่งตัวขึ้น แต่ในช่วงปลายปี 2564 ได้มีการระบาดของไ...
     [ อ่านต่อ...]  

[   พฤศจิกายน  2564 ]
icon ความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ปัจจุบันสถานการณ์ยางพารามีแนวโน้มชะลอตัวในทิศทางเดียวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกและ...
     [ อ่านต่อ...]  

[   ตุลาคม  2564 ]
icon ความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
ความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย(IMT-GT) เริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 โดยรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไทย มีความเห็นชอบร่วมกัน และได้ดำเนินการมาอย่างต่...
     [ อ่านต่อ...]  

[   กันยายน  2564 ]
icon ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์
ปัจจุบันโลกประสบภาวะขาดแคลน “เซมิคอนดักเตอร์” หรือชิป ซึ่งทำให้การผลิตช้าลงสำหรับผลิตภัณฑ์หลายประเภทที่ต้องอาศัยชิปเพื่อขับเคลื่อนการประมวลผลข้อมูล ตั้งแต่...
     [ อ่านต่อ...]  

[   สิงหาคม  2564 ]
icon ยางพารากับการจัดทำมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกหรือที่เรียกกันว่า  “ภาวะโลกร้อน” เป็นสถานการณ์ปัญหาที่มีความสำคัญระดับโลก ส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศและระบบนิเวศไปทั่วทุกภูมิภาค...
     [ อ่านต่อ...]  


หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com