E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  พฤษภาคม 2567 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 รายงานสถานการณ์ยางธรรมชาติ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

เศรษฐกิจโลกปี 2567 เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเสี่ยงสูง หลังประธานาธิบดีโจ ไบเดนสั่งยกเลิกการยกเว้นภาษีสินค้าจีนหลายร้อยรายการ ด้านจีนเตรียมตอบโต้กลับ ส่วน ECB เตรียมปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อน FED ซึ่งเฟดยังคงสงวนท่าทีในการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อรอดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทิศทางการชะลอตัวของเงินเฟ้อ (data dependence) สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ (Consumer Confidence Index: CCI) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 97.0 ในเดือนเมษายน 2567 เป็น 102.0 ในเดือนพฤษภาคม 2567 และล่าสุดทาง IMF ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนปี 2567 จาก 4.6% เป็น 5% แต่การฟื้นตัวในภาคอุตสาหกรรมยังเปราะบาง

ส่วนภาวะเศรษฐกิจไทยของภาคส่งออกและการลงทุนในปีนี้ยังเผชิญกับปัจจัยท้าทายหลายๆ ด้าน ทั้งปัญหาเชิงโครงสร้าง และความไม่แน่นอนทางการเมือง ในเดือนพฤษภาคม 2567 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.39 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) เดือนพฤษภาคม 2567 สูงขึ้นร้อยละ 1.54 (YoY) โดยสาเหตุสำคัญของการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ น้ำมันเบซินและแก๊สโซฮออล์ ค่ากระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจากความกังวลการฟื้นตัวช้าของเศรษฐกิจ ประกอบกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย พร้อมติดตามปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลกระทบอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนเมษายน 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.4 จากระดับ 51.9 ในเดือนก่อนหน้า

สรุปภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนเมษายน 2567 ส่งออกมูลค่า 23,278.59 ล้านเหรียญสหรัฐ (834,018.29 ล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.81 (YoY) เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นำเข้ามีมูลค่า 24,920.30 ล้านเหรียญสหรัฐ (903,193.99 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.35 (YoY) ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 1,641.71 ล้านเหรียญสหรัฐ (69,175.70 ล้านบาท) และในเดือนพฤษภาคม 2567 ส่งออกมูลค่า 26,219.48 ล้านเหรียญสหรัฐ (960,220.44 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นตัวร้อยละ 7.20 (YoY) เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นำเข้ามีมูลค่า 25,563.33 ล้านเหรียญสหรัฐ (947,006.51 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 1.66 (YoY) ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 656.15 ล้านเหรียญสหรัฐ (เกินดุล 13,213.93 ล้านบาท) (อ้างอิง: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ *ข้อมูลเบื้องต้น ปี2567)

พลังงาน (น้ำมัน) : สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1.2 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 455.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งตลาดจับตาการประชุมกลุ่ม OPEC+ ในวันที่ 1 มิถุนายน 67 ณ กรุงเวียนนา โดยรอยเตอร์เผยว่ากลุ่มโอเปกพลัสมีแนวโน้มขยายระยะเวลาลดกำลังการผลิต 2.2 ล้านบาร์เรลไปจนถึงสิ้นไตรมาส 3/67 ทั้งนี้ สถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางยังคงตึงเครียดที่ดำเนินอยู่จะยังคงไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุปทานน้ำมันดิบ แต่ยังคงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดถึงผลกระทบที่อาจขยายตัวเพิ่มเติม ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ (Conference Board) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค.67 ปรับเพิ่มขึ้น 102.0 ซึ่งผู้บริโภคมีความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยผู้บริโภค คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ระดับ 5.4% เพิ่มขึ้นจากระดับ 5.3% ในเดือนเมษายน 2567 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 79.23 และ 83.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

ยางพารา: ในเดือนพฤษภาคม 2567 ราคายาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา ราคายางภาพรวมภายในประเทศมีการปรับลดลงในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมสอดคล้องกับสถานการณ์ราคาตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ หลังจากย่อตัวแล้วค่อยปรับตัวดีขึ้น เนื่องด้วยปริมาณฝนลดลง ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น แต่ภาพรวมยังคงอยู่ในแนวโน้มที่ดี ไทยมีปริมาณส่งออกยางธรรมชาติเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2567 ปริมาณ 316,099 ตัน และ 331,946 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 1.9 และ 2.09 หมื่นล้านบาทตามลำดับ ส่วนยางล้อในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2567 ไทยส่งออกยางล้อ 11.0 และ 12.1 ล้านเส้น คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 1.91 และ 2.12 หมื่นล้านบาทตามลำดับ

กลุ่มยานยนต์: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนเมษายน 2567 มีทั้งสิ้น 104,667 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 11.02 และลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 24.34 โดยเป็นการผลิตเพื่อส่งออกในเดือนเมษายน 2567 จำนวน 71,928 คัน เท่ากับร้อยละ 68.72 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 5.92 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศในเดือนเมษายน 2567 จำนวน 32,739  คัน เท่ากับร้อยละ 31.28 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 34.17 ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนเมษายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 46,738 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 16.69 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 21.49 จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงินและเศรษฐกิจของประเทศเติบโตในระดับต่ำจากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567


หมายเหตุ: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งได้นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผล ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสมาคมยางพาราไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com