E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  กรกฏาคม 2567 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 รายงานสถานการณ์ยางธรรมชาติ ประจำเดือนกรกฎาคม 2567

เศรษฐกิจโลกปี 2567 ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนที่อ่อนแอ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวช่วงครึ่งหลังของปี คาดเฟดปรับลดดอกเบี้ยในเดือน กันยายน 2567 ซึ่งทาง IMF ได้คาดการณ์ GDP โลกปีนี้ที่ 3.2% สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม 97.8 ในเดือนมิถุนายน 2567 เป็น 100.3 ในเดือนกรกฎาคม 2567 โดยรวมแม้ว่าผู้บริโภคชาวอเมริกันในตลาดจะมีความเชื่อมั่นต่อตลาดแรงงานในสหรัฐฯ แต่ก็ยังคงมีความกังวลต่อปัจจัยด้านราคาสินค้าในตลาดที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยในตลาด และปัจจัยด้านความเสี่ยงอื่นๆ ส่วนเศรษฐกิจจีนยังคงมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ไม่สม่ำเสมอ และแรงกดดันจากภาวะเงินฝืด การบริโภคภายในประเทศที่ซบเซา

เศรษฐกิจไทย คาดทยอยฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง ท่ามกลางความเสี่ยงที่ยังอยู่สูง ธปท. อาจคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.50% ตลอดปี 2567 ในเดือนกรกฎาคม 2567 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากจีน มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ และการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัวได้ในระดับสูง แต่ยังมีความกังวลด้านเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำ สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวจากทั้งรายจ่ายประจำและลงทุนของรัฐบาลกลางอย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เงินเฟ้อพื้นฐาน (เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) สูงขึ้นร้อยละ 0.52 (YoY) ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2567 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.36 (YoY) ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) เดือนกรกฎาคม 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.83 (YoY) อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนมิถุนายน 2567 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.7 จากระดับ 52.3 ในเดือนก่อนหน้า

สรุปภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนกรกฎาคม 2567 ส่งออกมูลค่า 25,720.60 ล้านเหรียญสหรัฐ (938,285.09 ล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.23 (YoY) เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นำเข้ามีมูลค่า 27,093.54 ล้านเหรียญสหรัฐ (999,754.54 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.10 (YoY) ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 1,373.24 ล้านเหรียญสหรัฐ (61,469.45 ล้านบาท) (อ้างอิง: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ *ข้อมูลเบื้องต้น ปี 2567)

พลังงาน (น้ำมัน) : สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ปรับตัวลดลง 3.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 433 ล้านบาร์เรล หลังสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ (The Conference Board: CB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 97.8 ในเดือนมิถุนายน 2567 เป็น 100.3 ในเดือนกรกฎาคม 2567 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 77.91 และ 80.72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

ยางพารา: ในเดือนกรกฎาคม 2567 ราคายาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา ราคายางภายในประเทศภาพรวมมีการปรับลดลงสอดคล้องกับราคาตลาดล่วงหน้าต่างประเทศโดยราคายางในตลาด สิงคโปร์ (SICOM) ราคาเฉลี่ย 62.10 บาทต่อกก. แต่ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นระยะยาว อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีน ไทยมีปริมาณส่งออกยางธรรมชาติเดือนกรกฎาคม 2567 ปริมาณ 371,636.60 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 2.45 หมื่นล้านบาท ส่วนยางล้อในเดือนกรกฎาคม 2567 ไทยส่งออกยางล้อ 12.8 ล้านเส้น คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 2.3 หมื่นล้านบาท

กลุ่มยานยนต์: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม 2567 มีทั้งสิ้น 124,829 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 16.62  และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศในเดือนกรกฎาคม 2567 จำนวน 37,291 คัน เท่ากับร้อยละ 29.87 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 40.85 ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนกรกฎาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 46,394 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2567 ร้อยละ 2.66 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 20.58 จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อโดยเฉพาะรถกระบะและรถบรรทุกจากความกังวลเรื่องหนี้ครัวเรือนที่สูง


หมายเหตุ: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งได้นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผล ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสมาคมยางพาราไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com