E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
     
  history  
 
     
     บทวิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา  มิถุนายน 2566 [เลือกปีปัจจุบัน]      
    
**กรุณาใช้ Adobe Acrobat Reader ในการอ่านไฟล์   
 

 รายงานสถานการณ์ยางธรรมชาติ ประจำเดือนมิถุนายน 2566

เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกก็ได้ชะลอลงเช่นกัน จากความต้องการสินค้าทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากแรงกดดันด้านราคาและดอกเบี้ยในระดับสูง ในเดือนมิถุนายน 2566 ทางธนาคารโลกได้ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2566 ขึ้นมาเป็น 2.1% จาก 1.7% ในการประเมินรอบต้นปี แต่ยังเป็นทิศทางที่ชะลอตัวลงจากปี 2565 และคาดว่าทาง FED มีแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2566 นี้อีก 1-2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองการเติบโตของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกต่อไป

เศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยว เศรษฐกิจไทยยังคงมีความเสี่ยง แม้จะมีการเติบโตที่ดีขึ้น แต่ยังเผชิญกับปัญหาอุปสรรคเชิงโครงสร้างและปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะประชากรสูงวัยมากขึ้น ปัญหาหนี้สินครัวเรือน และปัญหาทางการเมือง เป็นต้น กระทรวงพาณิชย์เผยเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (YoY) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2566 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 56.1 จากระดับ 56.6 ในเดือนก่อนหน้า และแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของไทย (Thailand Industrial Sentiment Index: TISI) เดือนมิถุนายน2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 92.5 เป็น 94.1 เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง การอ่อนค่าของเงินบาท และอัตราค่าระวางเรือที่ลดลง แต่ภาคการส่งออกยังคงชะลอตัว แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ  โดยภาครัฐควรเตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ รวมถึงการบริหารการจัดการน้ำอย่างเพียงพอ ดูแลผลกระทบจากราคาสินค้าและค่าครองชีพที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนมิถุนายน 2566 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 56.1 จากระดับ 56.6 ในเดือนก่อนหน้า

สรุปภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนพฤษภาคม 2566 ส่งออกมูลค่า 830,448.41 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 2.79 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนที่ผ่านมาร้อยละ 12.05 (เมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 24,340.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ขณะที่นำเข้ามูลค่า 904,563.31 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1.68 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนร้อยละ 13.44 (เมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 26,190.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เดือนพฤษภาคม 2566 ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 74,114.90 ล้านบาท (1,849.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) (อ้างอิง: กระทรวงพาณิชย์ *ข้อมูล ปี 2566 เป็นข้อมูลเบื้องต้น)

สำหรับดัชนีภาคการผลิต (S&P Global US Manufacturing PMI (PMI)) ในเดือนมิถุนายน 2566 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 46.3 จากเดือนพฤษภาคมในระดับ 48.4 ดัชนีที่ปรับลดลงในเดือนมิถุนายนนั้น เพิ่มความกังวลต่อเศรษฐกิจ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่งปีหลังท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไป ส่วนดัชนี PMI สำหรับภาคการผลิตในประเทศไทยในเดือนมิถุนายน 2566 ปรับตัวลดลงเหลือ 53.2 จากระดับ 58.2 ในเดือนพฤษภาคม สภาวะของภาคการผลิตในประเทศ คำสั่งซื้อสินค้าใหม่เพิ่มขึ้น แต่มีอัตราที่ช้าลง สินค้าที่่ผลิตในประเทศไทยได้รับความสนใจมากขึ้นประกอบกับการขยายฐานลูกค้า และจำนวนนักท่องเที่่ยวที่่เดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้น ความเชื่อมั่นของธุุรกิจโดยรวมยังคงลดลงจากความกังวลที่่ยังคงมีอยู่่เกี่่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจและการเมือง

พลังงาน (น้ำมัน) : สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2566 ปรับตัวลดลง 4.4 ล้านบาร์เรล ภาพรวมราคาน้ำมันดิบยังผันผวน เนื่องจากตลาดได้รับแรงกดดันจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ของเศรษฐกิจยังเผชิญกับความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลต่อการใช้น้ำมันโลก ตลาดจับตามองการประชุมของกลุ่ม OPEC+ ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียในระหว่างวันที่ 5-6 ก.ค. 2566 โดยคาดการณ์ว่าจะมีการเจรจาเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม และทาง OPEC ยังไม่อนุญาตให้สำนักข่าวต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมดังกล่าว น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 70.64 และ 74.90 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ

ยางพารา: ในเดือนมิถุนายน 2566 ราคายาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลาเฉลี่ยนั้น ราคายางภาพรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในเดือนที่ผ่านมา ในเดือนพฤษภาคม 2566 ไทยมีปริมาณส่งออกยางธรรมชาติ จำนวน 379,408 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 1.8 หมื่นล้านบาท ส่วนยางล้อในเดือนเดียวกันนี้ ไทยส่งออกยางล้อ 12.22 ล้านเส้น คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 2.06 หมื่นล้านบาท

กลุ่มยานยนต์: จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 150,532 คัน เพิ่มขึ้น 16.48% (YoY) และเพิ่มขึ้น 27.96% จากเดือนเมษายน 2566 เนื่องจากการผลิตส่งออกและผลิตขายในประเทศทั้งรถยนต์นั่งและรถกระบะเพิ่มขึ้นจากฐานต่ำของปีก่อน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออกเดือนพฤษภาคม 2566 จำนวน 89,709 คัน (59.59% ของยอดผลิตทั้งหมด) เพิ่มขึ้น 23.46% (YoY) ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเดือนพฤษภาคม 2566 จำนวน 60,823 คัน (40.41% ของยอดการผลิตทั้งหมด) ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพฤษภาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 65,088 คัน ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 9.34


หมายเหตุ: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งได้นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผล ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสมาคมยางพาราไทย จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

 
 
 
 
     
 
 
 

 

เลือกปี  
prev มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน | กรกฏาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม next

 
     
 

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com